Quantcast
Channel: ข่าว
Viewing all 20494 articles
Browse latest View live

ตั้ง คกก.ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. 'ประวิตร'นั่งประธาน

$
0
0


13 ม.ค. 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 2 /2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ


รายละเอียดมีดังนี้

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 2 /2558
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แถลงยุทธศาสตร์สำคัญ 9 ด้านเพื่อใช้เป็นหลักหรือแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาประเทศให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำแนวคิดของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ยุทธศาสตร์ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้แถลงไว้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมีการเร่งรัดขับเคลื่อนการดำเนินการของส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดการบูรณาการ รวมทั้งสอดคล้องรองรับกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว และโดยที่มาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 บัญญัติให้ในกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นว่าคณะรัฐมนตรีควรดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในเรื่องใด ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ”ประกอบด้วย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ

คณะกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ พลเอก วิลาศ อรุณศรี พลอากาศเอก ถาวร มณีพฤกษ์ นายอำพน กิตติอำพน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่งตั้งอีกไม่เกินสามคน โดยมี พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ข้อ 2 คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

(2) รายงานผลการดำเนินการตาม (1) รวมทั้งความเห็นหรือข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเสนอต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อพิจารณาสั่งการให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

(3) กำหนดแนวทางและมาตรการหรือกลไกในการประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

(4) ในกรณีที่เห็นสมควรอาจแจ้งต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อขอให้มีการประชุมร่วมกันของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อปรึกษาหารือหรือพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อพิจารณาหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็น

(6) เชิญข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงให้ข้อเท็จจริง ความเห็น หรือคำแนะนำหรือเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

(7) ดำเนินการอื่นใดตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ข้อ 3 ให้สำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานตามคำสั่งนี้ และให้พิจารณาการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการและการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้เบิกจ่ายได้ตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การปฏิรูปประเทศ ในยุคการจัดระเบียบโลกใหม่

$
0
0

 

วิกฤติการณ์การเมืองในอดีตที่ยุ่งเหยิงมากที่สุดของประเทศไทยซึ่งได้คลี่คลายมาอยู่กับ แนวคิดการปฏิรูปประเทศและสังคม โดยฝากความหวังไว้กับการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งตั้งอยู่บนสมมุติฐานแบบสูตรสำเร็จที่ว่า นักการเมืองไม่ดี การเลือกตั้งมีการซื้อสิทธิขายเสียงเข้ามา พรรคการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ภายใต้การบงการผูกขาดของนายทุนที่คุมพรรคการบริหารราชการเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น การพัฒนาประเทศขาดความสมดุลมีความเลื่อมล้ำในสังคม ระบบความยุติธรรมเป็นไปแบบสองมาตรฐานขาดความเป็นสากล การบริหารทรัพยากร และ พลังงาน ละเลยต่อความเป็นธรรม    สังคมมีความแตกแยกเป็นขั้วแบ่งสี แบ่งพวกเป็นกลุ่ม ๆ เป็นต้น ฯลฯ

การหลีกหนีให้พ้นจากสภาพการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องทำการปฏิรูปประเทศและสังคมกันเสียใหม่ตามมรรควิธีและคำมั่นสัญญาจากคณะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันมาแต่อดีตของสังคมการเมืองไทยด้วยการ “แก้รัฐธรรมนูญ” หรือ  “ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับเสียใหม่” เพื่อเปลี่ยนโฉมการเมืองให้ดูดีมีอะไรใหม่ๆขึ้นมา โดยหันหัวประเทศฝากผีฝากไข้ไว้กับนักเทคนิคกลไกทางกฎหมายให้ช่วยเขียน ออกแบบมาตรการกลไกหรือหยิบยืมลอกเลียนแบบอะไรต่าง ๆ จากต่างประเทศมาใช้ คือกระแสความคิดนิยมที่ถูกทำให้เชื่อว่า “รัฐธรรมนูญ” คือคำตอบในทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อแทนคำว่า “การเปลี่ยนแปลง” “การปฏิรูป” การพัฒนาการเมืองสู่สิ่งใหม่ที่ “ดีกว่า” 

ผลที่ตามมาเลยทำให้ถนนทุกสายมุ่งไปที่กระบวนการร่างธรรมนูญ ที่พยายามเอาความต้องการของตนและกลุ่มตนเอง ไปแปะหรือเขียนให้เป็นบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการประกันว่าเรื่องที่ตนเองสนใจ ใส่ใจจะได้รับการแก้ไข ไม่วายเว้นแม้เครื่องมือและอาวุธลับของระบบทุนนิยมเสรี ในประเด็นเรื่อง ระบบการค้าเสรี (Liberalization) และหรือ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property rights) ก็ยังถูกนำไปบรรจุเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ที่ไกลไปกว่านั้นยังสู้อุตส่าห์ประกันความเสียหายโดยรัฐแทนการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายจากบรรษัทนายทุนต่างชาติ (non state actor) ที่ให้บังคับเอาจากรัฐที่เป็นเงินภาษีอากรของคนในชาติอีกด้วย (รธน. พ.ศ.2550 มาตรา 190)

การนำคนไทยเดินตามตรรกะวิธีดังกล่าวถือเป็นมรดกตกทอดกันมาแต่อดีต ทำให้ผมคิดถึงสิ่งที่นักคิดทางสังคมการเมืองชอบใช้วิเคราะห์สังคม และ เครื่องมือทางสังคมที่คุ้นหูแทนด้วยคำว่า one and other things คล้าย ๆ กับคำที่เจ้าคุณพระธรรมปิฎกชอบใช้ว่า“ระบบย่อยในระบบใหญ่” หรือ บริบทย่อยในบริบทใหญ่ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าในสังคมประเทศหนึ่ง ๆ นั้น ระบบใหญ่จะประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ หลาย ๆ ระบบที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่มีอะไรที่สำคัญเหนือกว่ากันหากแต่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ในหลากหลายลักษณะสอดคล้องบ้าง เป็นปรปักษ์โต้แย้งขัดแย้งถ่วงดุลซึ่งกันและกันบ้าง คุมกันไปกันมาฉันใดก็ฉันนั้น บางคนบอกว่านี่เป็น “กฎธรรมชาติ (Natural law)”ที่รักษาสมดุลของมนุษย์เอาไว้ แต่เป็นที่น่าสังเกตไว้ ณ ที่นี้ว่า ถ้าตรรกะความคิดดังกล่าวข้างต้นนี้ถูกต้อง เป็นเหตุเป็นผลจริง มาถึงเวลานี้ประเทศไทยคงจะเจริญก้าวหน้าและยิ่งใหญ่ในทุก ๆ ด้านกว่าประเทศอื่นใดในโลกเป็นแน่เพราะประเทศไทยผ่านกระบวนการร่างและใช้รัฐธรรมนูญมามากที่สุดกว่าประเทศใด ๆ ในโลกก็ว่าได้เมื่อผลเป็นในทางตรงกันข้าม ดังนั้นการมองความสัมพันธ์ภาพของรัฐธรรมนูญกับสิ่งอื่น ๆ จึงมีความสำคัญเสียยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญเสียอีก

ความในข้อนี้จึงมาอยู่ในประเด็นที่ว่า เราจะวางระดับความสำคัญของอะไร อย่างไร ก่อน ๆ ที่จะนำไปสู่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ในประการสำคัญกับการที่เราจำเป็นต้อง ถอดระหัส (decoded) ตีโจทย์สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใน และ นอกสังคมการเมืองไทยในทุกๆ  บริบทให้ได้ให้เห็นอะไรเป็นส่วนใหญ่ และอะไรเป็นส่วนย่อย หรือ อะไรคือบริบทใหญ่และอะไรคือบริบทย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันต่อกันอย่างไร ซึ่งถ้า “รัฐธรรมนูญ” เป็น one thing อย่างที่ว่า แล้ว other things หรือ สิ่งอื่น ๆที่อยู่นอกเหนือรัฐธรรมนูญซึ่งกว้างขวางออกไปนั้นมีอะไร “บ้าง” ที่สมควรและมีค่าต่อการพิจารณาจนได้ฉันทามติ

ด้วยเหตุนี้การหมกมุ่นอยู่กับการร่างรัฐธรรมนูญ จะทำให้ขาดโอกาส และ ขาดข้อมูลที่มีนัยสำคัญ (disinformation) ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายสูงสุดที่จะเป็นเหตุและทำให้ประเทศสังคมการเมืองย่ำอยู่กับที่ เหมือนการวิ่งไล่เงาตัวเองและอาจจะทำให้ประเทศ  “หลงทาง” เดินเข้าสู่วิกฤติความขัดแย้งอันใหม่ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ลึกขึ้นก็ได้

แล้วอะไรคือสิ่งที่นักร่างรัฐธรรมนูญและนักปฏิรูปผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะ สมาชิกสภาปฏิรูป สปช. หรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คสช. ในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดองค์กรข้างต้น ควรให้ความสนใจพึงได้ตระหนักที่สำคัญๆ ในตอนนี้บ้าง ซึ่งผมมีข้อคิดเห็นพอสรุปได้ว่า

หนึ่ง.พึงระลึกไว้ว่าประเทศในฐานะรัฐชาติสมัยใหม่ และ ความเป็นราชอาณาจักรไทย อันมีลักษณะเฉพาะ กำลังอยู่ท่ามกลางกระแสการต่อสู้ช่วงชิงความได้เปรียบกันในทาง “อำนาจ (power)” และ ภูมิรัฐศาสตร์ ( Geo Politics) ของโลก การต่อสู้เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบเพื่อให้ได้อำนาจการควบคุมทางเศรษฐกิจ การเมือง แม้หลังยุคสงครามเย็น (cold war) ผ่านไปแล้วกระแสดังกล่าวยังไม่หมดไปจากโลก หากแต่ยังคงอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมตามแนวคิดแบบจักรวรรดินิยม (Imperialism) โดยจัดรูปการบริหารในลักษณะกลุ่มรัฐบริวาร แบบ Empire ผ่านกระบวนการจัดระเบียบโลกใหม่หรือ New world order ตามแนวคิดที่คุ้นหูเช่น “ความเป็นสากล (Universal)” ก็ดี “ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnerships & Cooperation)” ก็ดี ความเป็น “ประชาธิปไตย (Democracy) และ สิทธิมนุษยชน (Human rights) ก็ดี ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสลับซับซ้อนซ่อนมีเงื่อนปมหลายชั้นหลายตอน ยากเกินกว่าที่ปุถุชนจะเข้าใจและสามารถเผชิญหน้าสามารถกุมสภาพรักษาผลประโยชน์ได้โดยง่าย

หากประเทศไม่มีฐานความรู้ ความเข้าใจ และข้อมูลที่ถูกต้องที่เพียงพอการเข้าไปปฏิสัมพันธ์ของรัฐชาติแบบขาดความรู้ความเข้าใจที่ใช้ได้จึงมีทั้งคุณและโทษ ซึ่งจะเป็นต้นตอทำให้ฐานะและบทบาทของรัฐชาติหมดสิ้นมนต์ขลังและจิตวิญญาณของตัวเองในฐานะธรรมรัฐที่ดี เนื่องจากระบบการจัดการควบคุมได้ถูกถ่ายโยงไปสู่ระบบควบคุมของจักรวรรดิเสียแล้ว ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ท่านทราบหรือไม่ว่า เรากำลังนำรัฐชาติ แบบราชอาณาจักรไทยหากก้าวเดินเข้าสู่กับดักทางนโยบายของของจักรวรรดินิยม แบบ Empire แบบไม่รู้เหนือรู้ใต้ หรือ สิ่งที่ซ่อนอยู่ใต้พรมได้ตลอดเวลาหากท่านไม่ระมัดระวัง และ ขาดความรู้ที่เพียงพอ ทางข้างหน้าไม่ง่ายอย่างที่คิด

สอง.รัฐชาติสมัยใหม่ ถูกถักทอด้วยแนวคิด ทางรัฐศาสตร์ และ กฎหมาย อันเป็นการเฉพาะเพื่อสถาปนา “อำนาจ” การบริหารยุทธศาสตร์ของประเทศให้อยู่ในมือของ กลุ่มและคณะบุคคล ตราบเท่าที่ไม่สร้างหรือก่อปัญหาต่อ ความเป็นรัฐสมุนบริวารแบบ Empire States ที่ยิ่งเวลาผ่านทอดยาวไปเท่าใด จิตวิญญาณ หรือ Spirit ของรัฐชาติโดยเฉพาะอำนาจอธิปไตยของชาติ จะลดน้อยถอยลงจนหายไป สู่อำนาจปกครองแบบรัฐบาลโลก (World government) เป็นคณะผู้บริหารเดียว (single unite) ทิ้งไว้แต่ ความยากจน และ การตักตวง ทิ้งความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัวอย่างปัญหาข้อถกเถียงในเรื่องการจัดการพลังงานของชาติ และ การต่ออายุสัมปทานรอศึกษาสำรวจขุดเจาะน้ำมันรอบที่ 21 ที่เกิดขึ้นเวลานี้ สะท้อนให้เห็นถึงการพังทลายในเป้าหมายและ spirit ของรัฐชาติที่ถูกเบี่ยงเบนไปจนหมดสิ้นอันเป็นปัญหาเชิงหลักการของรัฐชาติที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี รวมถึงปัญหาทางสังคม ฯลฯ  ให้คณะรัฐบาลท้องถิ่นแก้ไขแบบไปตายเอาดาบหน้าแบบตามมีตามกรรม ดูตัวอย่างการเผชิญปัญหาอีโบร่าในแอฟริกา

ขณะเดียวกันกับที่กลุ่มประเทศทุนนิยมเสรีกำลังหันหัวลง จากสภาพวิกฤติเศรษฐกิจ การล่มสลายของสถาบันการเงินและเผชิญต่อสงครามทางการเงินเช่นกัน อุทธาหรณ์ที่เกิดขึ้น จึงเท่ากับว่า  สภาพการณ์ปัญหาข้อผิดพลาดสะสมอยู่ภายรัฐชาติสมัยใหม่ ( Modern State) นั้นเอง พิเคราะห์ดูเอาเถิดรัฐชาติสมัยใหม่ที่ท่านกำลังเอารัฐธรรมนูญใหม่ไปวางก็กำลังมีปัญหาในตัวเอง จึงมีประเด็นน่าสนใจให้คิดใหม่ว่า รัฐชาติสมัยใหม่ที่จะปฏิรูปนั้น จะกำหนดสถานะ และควรตั้งวางอยู่กับอะไรที่เหลืออยู่ หรือ จะพัฒนาต่อยอดให้เป็นลักษณะเฉพาะทางเศรษฐกิจการเมือง (Sui generis) ของไทยได้อย่างไร

สาม. ราชอาณาจักรไทย กำลังจะก้าวเดินไปไหน ความในข้อนี้หมายถึง “ทิศทาง (Direction) หรือ ตำแหน่ง (Positioning) มีใครสามารถตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำได้บ้าง อะไรคือจุดร่วมของชาติไทย เรายังไม่มีโอกาสถกเถียงหรือหาข้อสรุปเหล่านี้เลย อันเป็นคนละเรื่องกับ ยุทธศาสตร์และนโยบาย ที่พรรคการเมืองผลิตไปเสนอกันในตลาดทางการเมือง อันมีลักษณะที่ฉาบฉวย ประชาชนพลเมืองในยุคการจัดระเบียบโลกใหม่ จะสามารถฝากความหวังและโอกาสไว้ได้  เช่นเดียวกันคงไม่สามารถเอามาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในหมวดแนวนโยบายของรัฐที่มักเขียนขึ้นบนพื้นฐานสังคมวิทยาทางการเมืองตามยุคสมัยแต่ละยุค  ให้สามารถเป็นหลักชัยจริง ๆ จัง ๆ ของประเทศได้โดยแท้  ทั้งนี้เพราะทิศทาง หรือ ตำแหน่ง ของประเทศมีลักษณะที่กว้างขวาง ก้าวไกลเกินกว่าการหาข้อสรุปเพื่อการตอบโจทย์ทางการเมืองในลักษณะช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เป็นการเฉพาะเท่านั้น

กล่าวโดยจำเพาะที่ตราบใดเรายังจำกัด วกวน วนเวียน การปฏิรูปประเทศ อยู่เพียงแค่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่เท่านั้น เราไม่มีทางที่จะแสวงหา ทิศทาง หรือ ตำแหน่งของประเทศโดยนัยข้างต้นนี้ได้ เมื่อพิจารณาจาก การจะได้มาซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ได้อย่างเป็นกิจจะลักษณะนั้น จำต้องใช้ชุดความคิดที่มีลักษณะเป็นระบบความคิด (Knowledge system) ที่จะเข้าใจปัญหา และ ข้อมูล (Information) ที่รอบด้านในทุกด้านมากกว่า ซึ่งจะแตกต่างกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ทำนองเดียวกันกับข้อจำกัดของ คณะบุคคล คุณสมบัติ ที่จะมาทำหน้าที่นี้ได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ เราไม่รู้ว่าชาติของเรากำลังก้าวเดินไปไหน มีทิศทางอย่างไร ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า มีหลักประกันอะไรที่การทำรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ จะไปตอบสนอง ทิศทาง และ ตำแหน่งของประเทศ ในฐานะของชาติ ได้

ที่กล่าวมาทั้งหมด ขออย่าได้เข้าใจหรือตีความหมาย ทึกทักว่าผมไม่ให้ความสำคัญกับความหวังที่จะได้รัฐธรรมนูญที่ดีของประเทศ บอกตรง ๆ ว่ารัฐธรรมนูญที่ดี เป็นสิ่งจำเป็นที่จะเป็น “กติกา” ของสังคมและประเทศ แต่คำถามและประเด็นของผมอยู่ที่ อะไรคือ รัฐธรรมนูญที่ดี หรือ ความดีหรือ ไม่ดีเราตรวจสอบดูจากอะไร หรือ เราจะพิจารณารัฐธรรมนูญแบบโดด ๆ หรือสัมพันธ์กับอะไร เฉพาะอย่างยิ่งการร่างรัฐธรรมนูญ ของคณะร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาจากโจทย์และคำถามจากอะไร     ถ้าเพียงเพื่อตอบคำถามจะเลือกตั้งอย่างไร นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมาจากไหน อย่างวิวาทะที่พูดกันเวลานี้  ผมไม่เห็นด้วย และ บอกได้คำเดียวว่าเสียใจ ผิดหวัง และ เศร้าใจ ที่ในท้ายที่สุดหากประเทศชาติ กำลังหันหัวเรือเข้าไปสู่รัฐชาติแบบ Empire State ตามกระแสการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งผมอยากกระซิบข้างหูนักร่างรัฐธรรมนูญได้ทราบว่า ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อยู่ปลายจมูกท่านแล้ว อาจจะมีสนธิสัญญาเบาว์ริง (Browring Treaty)  ภาคสองให้คนไทยปวดกระดองใจขึ้นมาอีกในไม่นานก็ได้ แล้ววันที่ ชาติ และประเทศ เผชิญกับเครื่องมือทาง  นโยบาย และระเบียบโลกใหม่ โดยท่านไม่สามารถปกป้องชาติและประชาชนคนไทยได้ จากสถาบันการเมืองทั้งหมดที่รัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างขึ้นนี้กำหนดขึ้น  แม้จะมี คสช. ภาคสองภาคสามต่อไปอย่างไรก็คงไม่เป็นผลอีกแล้วเพราะ ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) จะสำแดงเดชให้ท่านเห็น    ประเทศเป็นอันย่อยยับกัน ทั้งหมดคือความห่วงใยของความเรียงนี้ ขอให้ความพยายามและตั้งใจจริงของท่านบรรลุผล


 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประจักษ์ ก้องกีรติ : ระบบการเมืองแบบใหม่ เมื่อชนชั้นนำไทยไม่ต้องการ ‘ม้าพยศ’

$
0
0

 

 

‘ม้าพยศ’ เป็นคำเปรียบเทียบที่ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หยิบขึ้นมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยหลังจากปี 2540 เป็นต้นมา ม้า จากเดิมที่เคยถูกเลี้ยงอยู่แต่ในคอก และถูกล่ามโซ่ตรวนไว้ ถูกปล่อยให้วิ่งได้อย่างเสรีอยู่ช่วงระยะหนึ่ง ก่อนที่มันจะทดลองวิ่งเล่น อย่างเต็มศักยภาพของตัวมัน ผู้ที่สำคัญตนเองว่าเป็นเจ้าของกลับเห็นว่า ม้ากำลังพยศ เพราะมันวิ่งไว และแข็งแรงจนเกินกว่าเขาจะควบคุม และวิธีปราบพยศคือ การเอาโซ่ตรวนไปคล้อง พร้อมจับมันเข้าคอกเหมือนเดิม...

ประจักษ์ฉายภาพให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นมา และอาจจะกำลังเป็นไปสำหรับสังคมการเมืองไทย น่าสนใจว่า ถ้าม้าต่างจากคน เมื่อถึงเวลาที่มันถูกโซ่ตรวนไว้อีกครั้ง มันอาจจะคุ้นชินกับชีวิตในคอกเหมือนเดิมได้ แต่สำหรับคนเมื่อได้รู้จักกับสิทธิเสรีภาพ และการเมืองแล้ว เป็นเรื่องยากที่เขาจะลืมมัน

บทสนทนาต่อไปนี้ เริ่มต้นหลังจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญออกมาเผยถึงแนวทางหลักการใหม่เกี่ยวกับระบบการเมือง เราเริ่มถามประจักษ์ว่า ถึงที่สุดแล้วสิ่งที่เราเห็นอยู่ และกำลังจะเกิดขึ้นจะพาเราไปสู่อะไร และปิดท้ายด้วยคำถามว่า ชนชั้นนำเดิมดูถูกประชาชนเกินไปหรือไม่...

00000

ประชาไท : ถึงที่สุดแล้วสภาวะการเมืองปัจจุบัน การพยายามออกแบบระบบการเมืองแบบใหม่ ที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้จะนำเราไปสู่อะไร

ประจักษ์ : นำไปสู่วงจรอุบาทว์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ก็คือทางตันนั่นเอง เพราะว่ารัฐประหารเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพน้อยมาก แต่มีประสิทธิผลค่อนข้างสูง ในแง่ที่มันทำให้เกิดผลลัพธ์ เพราะว่ามันเป็นเครื่องมือที่ไม่ได้แก้ไขปัญหาอะไร แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่หยุดปัญหาไว้ชั่วคราวเท่านั้น รัฐประหารไม่สามารถหมุนเข็มนาฬิกากลับไปเปลี่ยนเศรษฐกิจ สังคมไทยได้ ไม่สามารถทำให้สภาพสังคม และเศรษฐกิจไทยกลับไปสู่จุดเดิมได้แล้ว เต็มที่ก็ทำได้เพียงหยุดไม่ให้คนที่ตื่นตัว และเติบโตขึ้นมาจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่สามารถแสดงออกทางการเมืองได้ แต่หยุดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมไม่ได้

จริงๆ แล้วนโยบายทางเศรษฐกิจหลายอย่าง รัฐบาลนี้ก็ลอกเลียนมาจากรัฐบาลก่อนหน้าคือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็เป็นการผลิตชนชั้นกลางระดับล่างให้มากขึ้น ก็เป็นการสานต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมที่ดำเนินมาก่อนหน้าอยู่แล้ว และนอกจากรัฐประหารครั้งนี้ หรือครั้งที่ผ่านจะไม่สามารถหยุดกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ สิ่งที่รัฐประหารไม่สามารถทำได้อีกอย่างคือ ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดคนได้ ถามว่าวันนี้สังคมไทยยังแยกเป็นสองขั้วเหมือนเดิมหรือไม่ ก็เหมือนเดิม เพียงแสดงออกอย่างเต็มที่ไม่ได้เท่านั้นเอง แน่นอนเราไม่เห็นการออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนท้องถนน แต่ถ้าได้ดูการถกเถียงในโซเชียลมีเดีย จะเห็นความแตกแยกแบ่งขั้วทางการเมืองยังดำรงอยู่เหมือนเดิม รัฐประหารไม่สามารถเข้าไปจัดการกับความคิดคนได้เลย ฉะนั้นในแง่นี้ถ้า คสช. ยกพรมที่ปูทับความขัดแย้งออกเมื่อใด เราก็จะเห็นความขัดแย้งของสังคมไทยดำรงอยู่เหมือนเดิม

และยิ่งถ้ามีการออกแบบระบอบการเมืองที่บิดเบี้ยวทิ้งไว้ เป็นระบอบการเมืองที่ไม่ได้ให้พื้นที่กับคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน สุดท้ายระบอบแบบนี้ก็จะตั้งมั่นอยู่ไม่ได้ ก็จะล้มลงอีกเหมือนเดิม และกลับมาสู่วงจรเดิมอีก เพราะว่าจนถึงทุกวันนี้ยังไม่เห็น คสช. เข้าไปทำอะไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐาน หรืออาจจะพยายามทำอยู่แต่ก็เป็นลักษณะที่ “ลูบหน้าปะจมูก” มาก และทำไม่สำเร็จ เพราะว่าคุณไม่ได้ฉันทานุมัติจากประชาชนตั้งแต่ต้น และยิ่งนานวันเขาก็ยิ่งทำให้ประชาชนไม่พอใจ แม้แต่ประชาชนที่เคยหนุนรัฐประหารก็ไม่เห็นด้วยแล้ว

ฉะนั้นหากเราดูจากทิศทางที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญออกมาพูดว่าจะมีระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ ให้มีสมาชิกวุฒิสภาไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง หรือให้มีนายกฯ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ ในสภาวะวิกฤต สิ่งเหล่านี้บอกชัดว่า รัฐประหารครั้งนี้ เป็นการรัฐประหารเพื่อสร้างการเมืองของชนชั้นนำ เพื่อให้ชนชั้นนำของทั้งสองฝ่ายกลับมาประนีประนอมกันได้อีกครั้งหนึ่ง และสร้างระบบการเมืองที่ปลอดภัยสำหรับชนชั้นนำทั้งสองฝ่าย โดยลดทอนความเข้มแข็งของการเมืองภาคประชาชนทุกสี ฉะนั้นนี้ต่างหากคือสิ่งที่ คสช. พยายามจะทำ แม้จะไม่ได้สลายความคิดของประชาชนที่แตกแยกแบ่งขั้ว แต่ทำให้พยายามจะทำให้บทบาททางการเมืองของภาคประชาชนทั้งหมดอ่อนแอลง

ทีนี้หาก คสช. สามารถทำลายการเมืองแบบมวลชนได้จริง ก็ทำให้พรรคการเมืองไม่มีฐานเสียง คือย้อนกลับไปเหมือนกลับช่วงก่อนปี 2540 ซึ่งพรรคการเมืองก็จะอ่อนแอลง และชนชั้นนำสามารถคุมได้ เราก็จะกลับไปสู่การเมืองแบบสมัยยุคพลเอกเปรม ซึ่งเป็นสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ

ถ้าเรามองออกมา ประชาธิปไตยแบบการเลือกตั้ง ที่เติบโตขึ้นหลังปี 2540 ถ้าเปรียบเหมือนม้าคือเป็น ม้าที่พยศ ซึ่งสามารถออกวิ่งได้ด้วยตัวเอง และยิ่งพยศมากขึ้นทุกวัน จนชนชั้นนำที่เคยครอบงำสังคมไทยมานานเริ่มรู้สึกว่าอำนาจหลุดจากมือเขาไป เขาไม่สามารถควบคุมอะไรได้ จนถึงที่สุดก็พยายามรวบอำนาจกลับคืนมาให้อยู่ในมือตัวเองให้ได้มากที่สุด โดยการกลับไปหาเครื่องมือเดียวที่พวกเขาคุ้นชิน แต่เป็นเครื่องมือที่ไร้ประสิทธิภาพแล้วคือการรัฐประหาร และสิ่งที่ทำให้เห็นชัดว่าการรัฐประหารไม่มีประสิทธิภาพแล้วคือ การที่กองทัพต้องออกมายึดอำนาจถึง 2 ครั้งในเวลาเพียง 8 ปี ซึ่งนี้เป็นจุดอ่อนที่สุดของชนชั้นนำเดิมในสังคมไทย เมื่อเทียบชนชั้นนำอีกหลายสังคมในโลกนี้คือ ไม่รู้จักปรับตัวเข้ามาเล่นในกรอบการเมืองแบบประชาธิปไตย  

ในแง่นี้มันเป็นความน่าสงสาร และความน่าเศร้าของชนชั้นนำเดิมของสังคมไทย ที่ยังวนเวียนอยู่กับการใช้วิธีการแก้ปัญหาเดิม ภายใต้โจทย์ใหม่ที่มันเปลี่ยนไปแล้ว คุณไม่สามารถควบคุมความตื่นตัวทางการเมือง การเลือกตั้งได้ด้วยการรัฐประหาร นอกจากเข้าไปเล่นเกมในกติกาเดียวกัน เปรียบเทียบคือ ม้าพยศมันถูกปลุกขึ้นมาแล้ว และมันรู้แล้วว่าตัวมันไม่ต้องถูกลามโซ่

ในแง่นี้เป็นเรื่องที่น่าสงสารที่พวกเขาพยายามถอยกลับไป และพยายามทำให้การเมืองไทยเป็นการเมืองแบบชนชั้นนำ ที่มีเพียงชนชั้นนำ 20 – 30 คน มีหัวหน้าพรรคการเมือง นักธุรกิจมองนั่งคุยกันแล้วมีทหารคุม เพื่อต่อรองเจรจาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมือง กำหนดนโยบายบนโต๊ะอาหารในห้องลับ โดยที่สื่อและประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ พวกเขามีความฝันแบบนั้น ในแง่หนึ่งมันคือ การปราบพยศ ของประชาชนที่ตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย และต้องการใส่ประชาธิปไตยแบบเชื่องๆ เข้าไปในสำนึกประชาชนแทน

และด้วยความฝันแบบนี้ ศัตรูของชนชั้นนำจะไม่ได้มีเพียงแค่เสื้อแดง แต่นับรวมถึงคนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล สุเทพ เทือกสุบรรณ วีระ สมความคิด รสนา โตสิตระกูล กลุ่มชาวบ้านสมัชชาคนจน แกนนำชาวบ้านที่นครศรีธรรมราช กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กลุ่มนักวิชาการ นักศึกษาอย่างกลุ่มดาวดิน ฯลฯ ที่ต่อต้านทั้งทุน และรัฐ ที่จะเข้ามาตักตวงผลประโยชน์จากชุมชน กลุ่มคนทั้งหมดเหล่านี้ก็จะถูมองว่าเป็นภัยคุกคามสำหรับชนชั้นนำ

นานวันเข้าก็ยิ่งชัดเจนว่า คสช. มีฐานสนับสนุนทางสังคมที่แคบลงทุกที เพราะเขาไม่ต้องการให้กลุ่มในภาคประชาสังคมกลุ่มไหนเลยเคลื่อนไหวได้ เพราะสิ่งที่ คสช. ต้องการคือการสลายการเมืองภาคประชาชน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะการเมืองแบบกลุ่มเสื้อแดง หรือการเมืองแบบกลุ่ม กปปส. ในแง่นี้มันคือความพยายามกลับไปสู่การเมืองแบบน้ำเน่า การเมืองที่มีการประสานผลประโยชน์กันระหว่างชนชั้นนำเท่านั้น ประชาชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง พูดให้ง่ายคือ การยึดอำนาจครั้งนี้เป็นการจัดระเบียบทางการเมืองที่จะทำให้ชนชั้นนำทุกฝ่ายอยู่รอดต่อไปได้ในการเมืองไทยในช่วงเปลี่ยนผ่าน ไม่ต้องให้ชนชั้นนำฆ่ากันเอง และทำลายผลประโยชน์ของกันและกัน

ฉะนั้นคนที่โดนผลกระทบจากการรัฐประหารครั้งนี้ไม่ใช่นักการเมือง กระทั่งไม่ใช่แม้แต่เครือข่ายอำนาจของทักษิณ เพราะเขาสามารถที่รอมชอมกันได้ เขาจะมาสู้กันให้แตกหักทำไม และอย่างที่ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไทยในระยะใกล้ๆ นี้ถ้าคุณฟาดฟันกันมากเกินไปก็จะเสียหายกันทุกฝ่าย เพราะเป็นช่วงที่เบาะบางมาก เขาก็ต้องพยายามเกาะเกี่ยวกันไว้ แต่อย่างไรก็ตามเขาก็ต้องทำให้ทักษิณมีอำนาจน้อยลงกว่าเดิม เหมือนที่เคยเป็นก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 จำเป็นต้องทำให้ทักษิณไม่สามารถเป็นพรรคการเมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาได้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ 

ในแง่นี้ระบบการเลือกตั้งแบบเยอรมันจึงตอบโจทย์ เพราะระบบนี้สามารถที่จะผลิตรัฐบาลผสม และยากที่พรรคการเมืองได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด ถ้าทักษิณไม่ได้เสียงเกินครึ่งทุกอย่างก็จบ ไม่สำคัญว่าพรรคอื่นจะได้เสียงเท่าไร พรรคที่เหลือก็ไปรวบรวมเสียงมาให้ได้เสียงเกินครึ่ง ที่สุดแล้วทักษิณก็จะกลายเป็นเสียงส่วนน้อย หรือหากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้อำนาจก็จะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะต้องแบ่งอำนาจให้กับพรรคร่วมรัฐบาลพรรคอื่นๆ ด้วย มันก็จะกลายเป็นเรื่องการตกลง ต่อรองกันระหว่างชนชั้นนำของพรรคการเมืองไป

ประชาไท :  การมองแบบนี้ทำให้นึกเรื่อง The Hunger Games ภาค 2 ที่ผู้คุมเกมพยายามออกแบบสถานการณ์ให้ แคทนิส เอเวอร์ดีน ต้องฆ่าผู้เล่นในเกมส์เพื่อความอยู่รอด แต่เมื่อใดก็ตามถ้าแคทนิสฆ่าพวกเดียวกัน ความชอบธรรมในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะน้อยลงไปทันที่ ขณะเดียวกันย้อนกลับมามองตามมุมมองของคุณ ทักษิณ และเพื่อไทย กำลังตกอยู่ในสภาวะที่ต้องเลือกแบบนี้หรือไม่

ประจักษ์ : แทบจะไม่ต้องเลือก เพราะการออกแบบระบบการเมืองแบบนี้เป็น การที่ชนชั้นนำเดิมยิงปืนแล้วได้นกสองตัวคือ สามารถบีบทักษิณให้เลิกเล่นการเมืองมวลชน ซึ่งสัญญาณก็เห็นชัดเจน และถึงที่สุดแล้วทักษิณเป็นเพียงผู้นำการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่ได้ศรัทธาในประชาธิปไตยอย่างจริงจัง

ประชาไท : การมองแบบนี้เท่ากับว่า ชนชั้นนำเดิมดูถูกประชาชนเกินไปหรือไม่

ประจักษ์ : แน่นอน พวกเขาทั้งกลัว และดูถูกประชาชนในเวลาเดียวกัน เพราะเขากลัวประชาชน เขาเลยพยามยามออกแบบระบบการเมืองที่พิสดาร เพื่อตัดอำนาจออกจากมือประชาชนให้มากที่สุด จริงอยู่ที่เมื่อก่อนเขาดูถูกประชาชนอย่างเดียว แต่หลังจากปี 2540 เป็นต้นมาเขาเห็นแล้วว่าเมื่อประชาชนรวมตัวกันมันมีพลังมาก และยิ่งประชาชนไปเชื่อมต่อกันพรรคการเมือง และกระบวนการการเลือกตั้ง ทำให้เกิดพลังที่ชนชั้นนำเดิมคุมไม่ได้ และวิธีที่ปราบความพยศนี้คือ สิ่งที่กำลังทำกันอยู่คือ การออกแบบระบบการเมืองใหม่ ซึ่งเป็นการเด็ดหัวขบวน หรือผู้นำพรรคการเมืองให้มาเล่นเกมเดิม ซึ่งเคยเล่นกันมาก่อนปี 2540 ซึ่งตอนนี้ทักษิณเองก็แสดงแนวโน้มแล้วว่า จะเล่นเกมประนีประนอม ตัดขาดจากเสื้อแดง นักการเมืองเพื่อไทยจำนวนมากก็ไม่ได้มีอุดมการณ์อยู่แล้ว ไม่ได้ต่อสู้เพื่อประชาชน บางคนก็รังเกียจขบวนการเสื้อแดงด้วยซ้ำ มองว่าเป็นตัวที่ทำให้พรรคมีปัญหา และชอบเล่นเกมแตกหัก ถ้าชนชั้นนำทำตรงนี้สำเร็จก็จะเป็นการทำลายความเข้มแข็งของเพื่อไทย และบีบให้เสื้อแดงอยู่ในหนทางที่ลำบากด้วย   

ขบวนการภาคประชาชนอย่างเดียวที่ไม่มีพรรคการเมืองในระบบก็ไม่สามารถต่อรองอะไรได้มาก ขณะที่พรรคการเมืองที่ไม่มีฐานมวลชนของตัวเองก็ทำอะไรมากไม่ได้ ฉะนั้นการเชื่อมต่อกันระหว่างเสื้อแดง และเพื่อไทย กลายเป็นตัวละครทางการเมืองที่ไม่สามารถมีใครทำลายได้ ดังนั้นชนชั้นนำเดิมจึงพยายามตัดสายสัมพันธ์นี้ออก ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ต้องไปทำอะไร เพราะอ่อนแอในตัวเองอยู่แล้ว

ภายใต้ระเบียบการเมืองแบบใหม่ที่สร้างขึ้นมา คสช. ก็พยายามไม่เปิดโอกาสให้ใครออกมารวมตัวเคลื่อนไหวขนาดใหญ่เหมือนที่เคยมีมาได้อีกแล้ว แต่ว่าถึงวันหนึ่งผมก็หวังว่า ประชาชนของทุกฝ่ายจะตระหนักได้ และเห็นแล้วว่าถึงที่สุดตัวเองคือ ฝ่ายที่พ่ายแพ้ในเกมการต่อสู้ แม้ว่าความคิดเห็นของประชาชนทั้งสองฝ่ายจะแตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง แต่ถึงที่สุดแล้วในระดับประชาชน เชื่อว่าไม่มีใครยอมรับระบอบอำนาจนิยมแน่นอน ทุกคนต่างก็มีนิยามประชาธิปไตย ที่ต้องการจะให้เป็นในแบบของตัวเอง และถ้าเราปล่อยให้มีการต่อสู้ ถกเถียงในระดับประชาชน โดยที่กองทัพไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง เรายังสู้กันได้เรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของสังคมประชาธิปไตย และยิ่งจะยกระดับความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กป.อพช.อีสาน จี้ยกเลิกอัยการศึก หยุดนโยบายไล่คนจนจากที่ทำกิน

$
0
0

15 ม.ค.2558 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ยกเลิกกฎอัยการศึก โดยระบุว่า แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2557 และคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 เรื่องการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ส่งผลให้ชาวบ้านจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐถูกดำเนินคดี ขณะที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหารมักอ้างกฎอัยการศึกในการบังคับ ขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินโดยทันที นอกจากนี้ ยังพบว่ามีการเลือกปฏิบัติในการทวงคืนผืนป่า โดยยึดคืนเฉพาะที่อยู่อาศัยและทำกินของเกษตรกรรายย่อยที่ยากไร้ แต่ไม่แตะต้องพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่ พลังงาน และอุตสาหกรรมของนายทุนที่รุกผืนป่า

อนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ขณะนั้น) ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 จนปัจจุบัน


จนท.ทหารปฏิบัติการร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และข้าราชการ จ.บุรีรัมย์
ไล่รื้ออพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่าดงใหญ่ ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง

แฟ้มภาพ: ประชาไท (ก.ค.2557)


แถลงการณ์

“ยกเลิกกฎอัยการศึก หยุดนโยบายและแผนเพื่อไล่รื้อคนจนออกจากที่ดินทำกิน”

ในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นที่เป็นอยู่ ณ เวลานี้ แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2557 และคำสั่ง คสช. ที่ 64/2557 และ 66/2557 เรื่องการปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมความทุกข์ยากจากการไร้ที่ดินทำกินของประชาชนในภาคอีสานมากยิ่งขึ้น เป็นการซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจในระดับปากท้องของครัวเรือนทบทวี

ท่ามกลางการแจกจ่ายเพิ่มเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการและงบซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง กลับพบว่ามีเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีฐานะยากจนถูกดำเนินคดีจากนโยบายขอคืนพื้นที่ป่าแล้ว 103 ราย ซึ่งกำลังเป็นที่วิตกกังวลว่าพวกเขาเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้ไร้ที่ดินทำกินหากแพ้คดีจากการพิจารณาของศาล อยู่ระหว่างถูกออกหมายเรียกตัวให้มารับทราบข้อกล่าวหาเพื่อยึดคืนพื้นที่ทำกินอีก 1,764 ครอบครัวที่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดสกลนคร ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ซึ่งขณะนี้ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินแล้ว

ในส่วนของภาพรวมทั้งประเทศ หากมีการปฏิบัติการตามแผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับ จะเกิดการบังคับให้อพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ป่าทั้งหมด 1,253 พื้นที่ รวม 8,148 หมู่บ้าน แบ่งเป็น ภาคอีสาน 352 พื้นที่ 2,300 หมู่บ้าน ภาคเหนือ 253 พื้นที่ 5,200 หมู่บ้าน ภาคใต้ 468 พื้นที่ 1,080 หมู่บ้าน และภาคกลาง 180 พื้นที่ 920 หมู่บ้าน จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีประชากรอยู่ในพื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 750,622 ครอบครัว แต่ข้อมูลของรัฐฝ่ายความมั่นคงที่รวมประชากรแฝงและไม่ลงทะเบียนด้วยมีไม่น้อยกว่า 1,164,000 ครอบครัว

คำถามสำคัญคือ รัฐจะบังคับอพยพชาวบ้านทั้งหมดนี้ไปไว้ที่ไหน? เมื่อบังคับอพยพชาวบ้านออกมาแล้วจะทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่หายจากความยากจนหรือผู้ยากไร้ได้จริงหรือ? 

ข้อมูลที่น่าสนใจ ณ เวลานี้ ในส่วนของภาพรวมทั้งประเทศ แผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับ ส่งผลให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในที่ดินของรัฐเป็นจำนวนมากถูกดำเนินคดีแล้ว ในข้อหามีไม้ไว้ในครอบครองมากกว่า 500 คดี ในจำนวนคดีดังกล่าวคิดเป็นคดีของนายทุนเพียง 10 ราย ที่เหลือเป็นคดีของเกษตรกรรายย่อยทั้งหมด ทั้งๆ ที่เกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้าไม้แต่อย่างใด การยัดข้อหาเช่นนี้เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของแผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับที่ระบุว่าการดำเนินการใดๆ ต้องไม่กระทบต่อผู้ยากไร้และผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2557 แต่อย่างใด

นอกจากความรุนแรงที่ผ่านมาบนเทือกเขาภูพานเมื่อเดือนมิถุนายน 2557 หลังรัฐประหารได้ประมาณหนึ่งเดือน มีกองกำลังผสมของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทหารและตำรวจตัดทำลายต้นยางของชาวบ้าน 18 ครอบครัว บนเนื้อที่กว่า 383 ไร่ ในพื้นที่หมู่บ้านโนนเจริญ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และเมื่อเดือนตุลาคม 2557 มีชาวบ้าน 37 ราย ในหมู่บ้านจัดระเบียบป่าไม้ถูกจับกุมและควบคุมตัวในข้อหาเข้าครอบครองและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขตอำเภอและจังหวัดเดียวกันกับกรณีแรก และกรณีชุมชนบ้านเก้าบาตร ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ หนึ่งในชุมชนกรณีสวนป่าโนนดินแดง ที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหารกดดันให้ 40 ครอบครัว ประมาณ 160 คน ออกจากที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินจนทำให้ชุมชนล่มสลายหมดสิ้น ล่าสุดชุมชนโคกยาว ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 33 ครอบครัว ประมาณ 100 คน กำลังถูกยัดเยียดข้อเสนอจากเจ้าหน้าที่ทหารให้อพยพห่างไปจากพื้นที่ทำกินเดิมประมาณ 45 กิโลเมตร

ความรุนแรงเหล่านี้กำลังแผ่ขยายลุกลามดุจเชื้อร้าย ลำพังแผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับ หากตีความตามลายลักษณ์อักษรก็ยังมีช่องทางที่จะผสานความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนได้ แต่ทุกๆ ครั้งที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหารปฏิบัติการมักอ้างกฎอัยการศึกเพื่อกดขี่ บังคับ ขับไล่ชาวบ้านออกจากที่ดินทันทีโดยไม่สนใจเนื้อหาในแผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับแต่อย่างใด

ด้วยวัฒนธรรมอำนาจนิยมเยี่ยงนี้จึงไม่มีกระบวนการที่ให้ความเป็นธรรมในการพิสูจน์สิทธิ หรือให้สิทธิประชาชนในการนำเสนอข้อมูล แต่ใช้กฎอัยการศึกมาอ้างเพื่อปฏิบัติการเด็ดขาดกับชาวบ้านที่ยากไร้เสมือนกับพวกเขาเหล่านั้นเป็นศัตรูของรัฐหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นปัญหามากในการละเมิดสิทธิมนุษยชน 

นอกจากนี้ ยังมีการเลือกปฏิบัติในการทวงคืนผืนป่าในลักษณะสองมาตรฐาน เพราะมีการยึดคืนเฉพาะที่อยู่อาศัยและทำกินของเกษตรกรรายย่อยที่ยากไร้ แต่ไม่มีการแตะต้องพื้นที่สัมปทานเหมืองแร่ พลังงาน และอุตสาหกรรมของนายทุนที่รุกผืนป่าแต่อย่างใด ซึ่งเป็นการสร้างความไม่ยุติธรรมในการเข้าถึงฐานทรัพยากรธรรมชาติ

ไม่เว้นแม้แต่ขบวนเดินเพื่อสายน้ำของชาวบ้านลุ่มน้ำชีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ที่ทหารอ้างกฎอัยการศึกสั่งหยุดเดินเพื่อศึกษาเรียนรู้และศึกษาเส้นทางน้ำของขบวนพระสงฆ์ นักเรียน ครูและชาวบ้านลุ่มน้ำชีในเขตจังหวัดยโสธรและร้อยเอ็ด

ความรุนแรงเหล่านี้กำลังแผ่ขยายลุกลามดุจเชื้อร้ายจากการใช้กฎอัยการศึกและอาวุธปืนกดหัวชาวบ้านไว้ ในขณะที่แผนแม่บทฯ ดังกล่าวกำลังถูกผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติและเข้าสู่กระบวนการของบประมาณผูกพัน 10 ปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท อย่างไม่โปร่งใสไร้การตรวจสอบและเปิดเผยต่อสาธารณะ ในทางตรงข้าม ความรุนแรงดังกล่าวกำลังปลุกขบวนประชาชนต่อต้านโครงการจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ หรือ คจก. ในยุครัฐประหาร รสช. เมื่อปี 2534 ขึ้นมาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ ขบวนประชาชนอีสานที่ประสบปัญหาจากการถูกรุกไล่ออกจากพื้นที่ป่าตามแผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับ ภายใต้กฎอัยการศึกที่กดหัวไว้ จะร่วมมือกับขบวนประชาชนในประเด็นปัญหาอื่นๆ ในภาคอีสาน เพื่อขับเคลื่อนปัญหาชาวบ้านไปด้วยกัน

โดยมีข้อเสนอในเบื้องต้น ดังนี้

1. ขอให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกโดยเด็ดขาด เพื่อเปิดทางให้ประชาธิปไตยกลับคืนมาสู่บ้านเมืองโดยเร็ว

2. ขอให้หยุดยั้งทุกนโยบาย แผนงานและโครงการที่มีผลกระทบต่อป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยกเลิกทุกโครงการสัมปทานแก่ภาคเอกชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า และนำคืนมาสงวนไว้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

3. ขอให้หยุดแสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของประชาชนด้วยวาระซ่อนเร้นจากการนำแผนแม่บทฯ ไปของบประมาณแผ่นดินผูกพัน 10 ปี เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาท

4. ขอให้ปรับใช้แผนแม่บทฯ และคำสั่ง คสช. ทั้งสองฉบับดังกล่าว ตรวจสอบและกำจัดกลุ่มทุน ข้าราชการและนักการเมืองที่บุกรุกพื้นที่ป่าหรือที่ดินของรัฐอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่ใช่ดำเนินการสองมาตรฐานด้วยการจับกุมดำเนินคดีต่อชาวบ้านผู้ยากไร้แต่เพียงฝ่ายเดียว

ด้วยความเคารพ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคอีสาน (กป.อพช.อีสาน)

15 มกราคม 2558

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พลเอกเลิศรัตน์ เผย รธน. ใหม่ จะให้เสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่ แต่สั่งปิดได้ถ้าสร้างความเกลียดชัง

$
0
0

กมธ.ยกร่างฯ เผย ให้เสรีภาพสื่อฯเต็มที่ แต่อย่าสร้างความเกลียดชัง พร้อมห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเจ้าของ หรือถือหุ้นกิจการสื่อเด็ดขาด<--break- />

 

15 ม.ค. 2558 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง ความคืบหน้าการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราว่า ในวันนี้ กมธ.ได้พิจารณาในภาค 1 หมวด 2 ประชาชน ส่วนที่ 2 สิทธิและเสรีภาพของบุคคล โดยมีการปรับแก้ไขในมาตราที่ 16 กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว อย่างเท่าเทียมกัน และได้รับการเยียวยาในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รับรองไว้โดย รัฐธรรมนูญหรือโดยกฎหมาย

ขณะที่มาตรา 18 กำหนดให้ครอบครัวย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือจากรัฐอย่างเป็นสุข เพียงพอและมีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม

สำหรับในส่วนของเสรีภาพของสื่อมวลชนได้เพิ่มเสรีภาพของสื่อมวลชนในมาตรา 20 โดยให้เสรีภาพในการประกอบวิชาชีพตามจริยธรรม เพื่อประโยชน์สาธารณะในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนอย่างถูกต้อง รอบด้าน รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคมย่อมได้รับความคุ้มครอง และการสั่งปิดกิจการหรือสั่งห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อ ลิดรอนเสรีภาพตามมาตรานี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเกลียดชังกันระหว่างคนในชาติ หรือศาสนา หรือการใช้ความรุนแรงระหว่างกัน

พร้อมกำหนดให้เจ้าของกิจการสื่อมวลชนต้องเป็นพลเมือง และพลเมืองไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นสื่อไม่ว่าโดยทางตรงและ ทางอ้อมหลายกิจการ ในลักษณะที่อาจจะมีผลเป็นการครอบงำ ผูกขาด ขัดขวางเสรีภาพในการนำเสนอรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อีกทั้งผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นใน กิจการสื่อมวลชนมิได้ ไม่ว่าในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นดำเนินการแทน รวมไปถึงรัฐจะให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นหรือสิทธิประโยชน์อื่นใด เพื่ออุดหนุนกิจการสื่อมวลชนของเอกชนไม่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังได้มีการบัญญัติคำว่า กลุ่มการเมือง ในมาตราที่ 27 กำหนดให้พลเมืองย่อมมีสิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญนี้ และมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของพลเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถี ทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย

ทั้งนี้พลเอกเลิศรัตน์ กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาเป็นรายมาตราให้เสร็จทั้ง สิ้น 89 มาตราตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยขณะนี้พิจารณาไปแล้ว 63 มาตรา เหลือการพิจารณาอีก 26 มาตรา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับบททั่วไป และสิทธิเสรีภาพหน้าที่ของพลเมือง โดยในสัปดาห์หน้าจะเป็นการพิจารณาในภาค 3 ว่าด้วยนิติธรรม ศาลและองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชมรมแพทย์ชนบทออกโรงหนุนมติ สปช. ค้านสัมปทานปิโตรเลียม

$
0
0

ชมรมแพทย์ชนบทออกโรงหนุนมติ สปช. ไม่เห็นด้วยกับการสัมปทานปิโตรเลียม พร้อมหนุนระบบแบ่งปันผลผลิต ชวนเปลี่ยนโปรไฟล์เฟซบุ๊กแสดงจุดยืน

หลังจากวานนี้ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ สปช. ส่วนใหญ่ (130 ต่อ 79 เสียง) มีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากและคณะกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สปช. ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ด้วยระบบไทยแลนด์ทรี พลัส

ล่าสุด (15 ม.ค. 2558) ชมรมแพทย์ชนบทประกาศจุดยืนคัดค้านการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ผ่านเพจเฟซบุ๊กชมรมแพทย์ชนบท พร้อมชวนให้ประชาชนร่วมแสดงออกสนับสนุนมติของ สปช. ที่ลงมติคัดค้านการสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และเสนอให้เปลี่ยนจากการสัมปทานมาใช้ระบบการแบ่งปันผลผลิต โดยให้เหตุผลว่า มีความโปร่งใสกว่าการสัมปทานมาก พร้อมเปรียบเทียบการให้สัมปทานก็เหมือนการขายทรัพยากรของชาติให้ทุนพลังงานไปหากินสูบทรัพยากรไปทำกำไรจนอ้วนพีแบบที่คนไทยได้แค่มองตาปริบๆ ซึ่งการเคาะราคาสัมปทานนั้นทั้งฮั้วได้และฉ้อฉลง่าย แต่ระบบการแบ่งปันผลผลิต ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในเกือบทั้งโลกโดยเฉพาะมาเลเซียและอินโดนีเซียนั้น มีความเป็นธรรมต่อทั้งบริษัทธุรกิจปิโตรเลียมและประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากร ได้มามากน้อยก็แบ่งตามสัดส่วนที่ควรจะเป็น โปร่งใสและเป็นธรรม ที่สำคัญคือตรวจสอบได้ ไม่ปิดลับเหมือนสัญญาการให้สัมปทาน

"ชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเชิญพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ ร่วมกันส่งเสียงบอกรัฐบาล แสดงออกคัดค้านการให้สัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ด้วยการเปลี่ยนภาพโปรไฟล์ของทุกท่านเพื่อบอกจุดยืนของเราคนไทยเจ้าของประเทศว่า "ไม่เอาสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21"และแชร์บอกต่อกับเพื่อนสนิทมิตรสหายด้วย เพราะวันนี้กระทรวงพลังงานยังยืนยันทู่ซี้ที่จะเดินหน้าการเปิดสัมปทานปิโตรเลี่ยมครั้งใหญ่ในรอบที่ 21 นี้โดยไม่สนใจเสียงประชาชนและมติของ สปช."

"พลังเล็กๆ ของเราคนไทยเคยคัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอยเหมาเข่งมาแล้ว ดังนั้นจึงขอแรงพวกเราพี่น้องคนไทยอีกครั้ง ร่วมใจรวมพลังคนเล็กๆแสดงออกเพื่อหยุดยั้งการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ให้จงได้"ชมรมแพทย์ชนบทระบุ

 

 

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘นิคม-สมศักดิ์’ แจงละเอียด ปมถอดถอน ชี้ทำไปตามหลักการกฏหมาย

$
0
0

‘นิคม-สมศักดิ์’ แจงละเอียด ปมถอดถอน ชี้ทำไปตามหลักการกฏหมาย หวัง สนช. ให้ความเป็นธรรม ด้านวิชา มหาคุณย้ำ แม้ไม่มีรัฐธรรมนูญ 50 แล้วก็ยังถอดถอนได้ ส่วนพรเพรชระบุ 23 ม.ค. นี้ รู้ผลการถอดถอน

 

 

15 ม.ค. 2558 เว็บข่าวรัฐสภา รายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ซึ่งได้มีการประชุมเพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอน นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา และสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา จากกรณีพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. โดยวันนี้เป็นขั้นตอนของการซักถาม

ก่อนเริ่มกระบวนการ พรเพชร ได้ย้ำว่า สมาชิก สนช. ไม่สามารถถามเพิ่มเติม จากคำถามของกรรมาธิการซักถามได้อีก  พร้อมกับได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า จะนัดแถลงปิดคดีถอดถอนนิคม และสมศักดิ์ ในวันที่ 21 ม.ค. นี้ เวลา 10.00 น.  ขณะที่ 22 ม.ค. จะเป็นวันแถลงปิดคดีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ส่วนในวันที่ 23 ม.ค. จะเป็นวันลงมติถอดถอนทั้ง 2 สำนวน

จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนของกรรมาธิการซักถาม โดยได้ถาม ปปช. ซึ่งประเด็นคำถามมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการของปปช. ต่อกรณีการทำหน้าที่ของนิคม ในฐานะรองประธานรัฐสภา และสมศักดิ์เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประเด็นที่มา ส.ว.

วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอบข้อซักถามของกรรมาธิการซักถาม โดยย้ำว่าตามประกาศรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังให้อำนาจ ป.ป.ช. มีอำนาจในการไต่สวนชี้มูลความผิดได้  แม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ยุติไปแล้ว และแม้ว่าบุคคลทั้งสองจะพ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่ความผิดจะผูกพันกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดไป ซึ่งสามารถถอดถอนได้  โดยพบว่าการกระทำของนิคม ในฐานะรองประธานรัฐสภา และสมศักดิ์ ในฐานะประธานรัฐสภา ได้กระทำการจงใจส่อขัดกับรัฐธรรมนูญ และผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง เนื่องการไม่รับฟังความเห็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย เป็นการรวบรัดตัดสิทธิ์ผู้จะอภิปรายในการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ในวาระ 2 การกระทำของทั้งสองคน จึงถือว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่รับฟังอย่างรอบด้านจะส่งผลกระทบต่อการปกครองประเทศครั้งใหญ่  เพราะรัฐธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุด   

ทั้งนี้การทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรม ใช้อำนาจโดยสุจริต ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน รับฟังเสียงข้างน้อย เพื่อให้ความเป็นธรรม แต่การกระทำของทั้งสองกลับตรงข้าม ทั้งนี้นิคมในฐานะที่เป็นสมาชิกวุฒิสภา แต่หวังแก้รัฐธรรมนูญให้สมาชิกวุฒิสภาสามารถดำรงตำแหน่งได้เกิน 1 วาระ จึงถือว่านายนิคมมีผลประโยชน์ทับซ้อน

ขณะที่ในส่วนของสมศักดิ์ นอกจากความผิดที่เหมือนกันกับนายนิคมแล้ว ยังพบว่า มีหลายข้อที่ส่อว่าทำหน้าที่โดยมิชอบ คือ การนำเอาญัตติรองคือญัตติขอปิดประชุม มาใช้กับญัตติหลักคือการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามหลักไม่สามารถทำได้   / การนับเวลากำหนดการแปรญัตติย้อนหลังจนทำให้เหลือเวลาแปรญัตติเพียง 1วัน / การให้ลงมติในวาระ3 ทั้งที่กระบวนการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ถูกต้อง / ส่วนกรณีการสับเปลี่ยนร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขที่เสนอโดยอุดมเดช รัตนเสถียร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นฉบับอื่นโดยไม่มีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อรับรอง มาพิจารณาในวาระรับหลักการ ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนว่าจะเป็นคดีอาญาด้วยหรือไม่

ด้านนิคม อดีตรองประธานรัฐสภา ตอบคำถามกรรมาธิการซักถาม โดยกล่าวว่า ตนไม่ได้ปิดประชุมเพื่อเร่งรัดแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งการขอปิดประชุมนั้น ได้มีผู้เสนอเป็นญัตติ โดยตนได้ถามในที่ประชุมว่ามีใครเห็นเป็นอื่นหรือไม่ ปรากฎว่าไม่มีผู้เห็นเป็นอื่น ตนจึงสามารถสั่งปิดประชุมได้ตามข้อบังคับการประชุม ส่วนกรณีไม่ให้สมาชิกรัฐสภา 57 คน อภิปรายในการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญเนื่องจากพบว่า แปรญัตติขัดหลักการจึงขอยืนยันว่า  ตนไม่ได้กระทำการขัดต่อข้อบังคับการประชุมและรัฐธรรมนูญตามที่ถูกกล่าวหาพร้อมระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี  ส.ส. ส.ว.  ประชาชน และตนไม่ได้คิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ให้ ส.ว. มาจาการเลือกตั้งทั้งหมด จะทำให้ตนได้เป็น ส.ว. อีก

ขณะที่สมศักดิ์ อดีตประธานรัฐสภา ตอบคำถามกรรมาธิการซักถาม โดยขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงในข้อหาปลอมแปลงร่างรัฐธรรมนูญ เพราะร่างดังกล่าวนายอุดมเดชได้มีการแก้ไขในขั้นตอนธุรการ ซึ่งสำนักการประชุมก็ได้ตรวจสอบและอนุญาตให้แก้ไขได้ เพราะตนยังไม่ได้ลงนามบรรจุลงระเบียบวาระ ดังนั้นจึงยังแก้ไขร่างได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ  ซึ่งต่อมาตนได้ดำเนินการบรรจุลงระเบียบวาระภายใน 15 วัน ตามรัฐธรรมนูญกำหนด จึงขอยืนยันว่า ร่างที่เข้าสู่การพิจารณาคือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับอุดมเดช ของแท้อย่างแน่นอน ส่วนที่ไม่ได้ขอให้สมาชิกลงชื่อรับรองฉบับที่แก้ไขใหม่ ตนได้ถามไปยังเจ้าหน้าที่แล้ว ทราบว่า ตามแนวทางปฏิบัติ จะให้ผู้เสนอหลักคือ อุดมเดช เป็นผู้นำเสนอเพื่อขอแก้ หลังจากนั้นก็จะแจ้งให้สมาชิกทราบโดยผ่านคณะกรรมการประสานงานของแต่ละพรรคทราบ  เพราะที่ผ่านมาในสมัยพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย ก็ปฏิบัติกันมาเช่นนี้ ตนจึงขอถามกลับไปว่า หากเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เหตุใดจึงไม่ทักท้วง แต่กลับปล่อยมาจนถึงขณะนี้     

ส่วนกรณีแปรญัตติ 1 วันนั้น ขอยืนยันว่า ตามข้อบังคับข้อ 96  ให้นับกำหนดวันแปรญัตติ  15 วัน ถัดจากวันที่รับหลักการ ซึ่งรัฐสภารับหลักการ 4 เม.ย.56 ดังนั้นครบกำหนดแปรญัตติ 19 เม.ย. 56 ซึ่งถูกต้องและไม่ได้เหลือวันแปรญัตติเพียง 1 วันตามที่ถูกกล่าวหา    

ขณะที่การกดบัตรแทนกัน ตนได้ทราบหลังจากที่มีข่าว และได้ตั้งกรรมการตรวจสอบ แล้วตามหน้าที่ประธาน  ซึ่งประเด็นกดบัตรแทนเป็นความผิดเฉพาะบุคคลที่ทำ จึงไม่ได้เป็นมูลเหตุให้มาถอดถอนตน  ขณะที่ประเด็นการตัดสิทธิ์ผู้อภิปราย 57 คนนั้น มีรายงานว่าแปรญัตติขัดข้อบังคับ กรรมาธิการจึงนำเสนอเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณา ซึ่งตนในฐานะประธานมีสิทธิ์ที่จะวินิจฉัย แต่ตนกลับเปิดให้มีการหารือ ขอให้สิทธิ์ 57 คนได้อภิปรายต่อโดยหารือต่อที่ประชุมกว่า 10 ชั่วโมง  และสุดท้ายก็ได้มีการขอมติที่ประชุมตามข้อบังคับ 117  ซึ่งสุดท้ายที่ประชุมลงมติว่า 57 คน แปรญัตติขัดข้อบังคับ ตนจึงต้องถือตามมตินี้เป็นเด็ดขาด ขอย้ำว่าตนไม่ได้รวบรัดการประชุมเพื่อลงมติ และไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ    

ส่วนกรณีไม่ได้มาร่วมแถลงเปิดคดีนั้น  ตนได้ชี้แจงไว้ในเอกสารอย่างละเอียด จึงคิดว่าจะไม่รบกวนเวลาของ สนช. พร้อมยืนยันว่า ตนไม่ได้ทำอะไรผิด ที่จะนำไปสู่การถอดถอน ตนมาในวันนี้เพื่อตามหาความยุติธรรม หาก สนช. ให้ความกับตนไม่ได้ ตนก็ไม่รู้จะไปหาที่ไหนได้อีก

ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ (16 ม.ค. 2558) จะเป็นการประชุมเพื่อซักถาม ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปมถอดถอนออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฐานปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทนาย 'ยิ่งลักษณ์'แจงเหตุไม่มาตอบข้อซักถาม สนช.

$
0
0
ทนายยิ่งลักษณ์แจงเหตุมอบหมายรัฐมนตรีที่รับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าวตอบข้อซักถาม สนช.แทน เพราะรู้รายละเอียดในฐานะผู้ปฏิบัติ ชี้แถลงคัดค้านครบทุกข้อกล่าวหาแล้ว แต่ยืนยันมาแถลงปิดคดี 22 มกราคมแน่นอน

 
16 ม.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่านายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ไปตอบข้อซักถามที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการพิจารณาถอดถอนวันนี้ (16 ม.ค.) ว่า ข้อบังคับการประชุมสนช. ข้อที่ 154 เปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องสามารถมอบหมายผู้แทนเป็นผู้ชี้แจงได้ ผู้ถูกกล่าวหาจึงขอใช้สิทธิตามข้อบังคับที่จะให้ผู้แทนคดีตอบข้อซักถามแทนจนกว่าจะเสร็จ อีกทั้งที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงคัดค้านและชี้แจงต่อเรื่องที่ถูกการกล่าวหาทุกประเด็นครบถ้วนแล้ว
 
“ขั้นตอนนนี้หากมีข้อซักถามใดคณะทนายความเห็นว่าบรรดารัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้บริหารกำกับแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวสามารถเป็นผู้รู้และทราบข้อเท็จจริงโดยละเอียด ที่จะชี้แจงตอบข้อซักถามได้ เพราะเป็นผู้ปฎิบัติงานในโครงการรับจำนำข้าวโดยตรงอยู่แล้ว คณะทนายความจึงเสนอน.ส.ยิ่งลักษณ์ว่าควรมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้แทนคดีเป็นผู้ตอบข้อซักถามในวันนี้ ประกอบกับขั้นตอนการพิจารณาคดียังไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือวาระในเรื่องของการแถลงปิดคดีอีก” นายนรวิชญ์ กล่าว
 
นายนรวิชญ์ กล่าวว่า ขอให้สนช.วางตัวเป็นกลาง ไม่มีอคติ และขอให้ฟังข้อมูลข้อเท็จจริงที่อดีตรัฐมนตรีทุกคนชี้แจง จะได้ทราบว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่เคยละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และไม่ได้กระทำผิดกฎหมาย อีกทั้งขอให้สมาชิก สนช. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม ไม่มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองเพียง เพื่อต้องการล้มล้างคณะรัฐมนตรีที่มาจากระบอบประชาธิปไตยและมาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น ทั้งนี้ในวันแถลงปิดคดี ในวันที่ 22 มกราคม น.ส.ยิ่งลักษณ์จะมาแถลงปิดคดีด้วยตนเอง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม. หนุน กมธ.ยกร่าง รธน. บัญญัติ 'เพศสภาพ'ไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ

$
0
0
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ชื่นชมและสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กรณีบัญญัติคำว่า เพศสภาพ ไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพ

 
16 ม.ค. 2558  ตามที่โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ  แถลงผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญต่อสื่อมวลชนว่า ที่ประชุมได้พิจารณา มาตรา (1/2/2) 7 กำหนดให้บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ เพศสภาพ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้  ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีการบัญญัติคำใหม่ คือ คำว่า เพศสภาพ นั้น
                                
นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิผู้สูงอายุ ผู้พิการ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและการสาธารณสุข  ขอแสดงความชื่นชมและสนับสนุนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณากำหนดคำว่า เพศสภาพ ไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล  ซึ่งถือว่าเป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทุกกลุ่มบุคคล อันหมายรวมถึงกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยไม่เจาะจงเฉพาะเพศกำเนิดเท่านั้น  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีการประกาศบังคับใช้แล้ว รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเสริมให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของรัฐที่คำนึงถึงเพศสภาพอย่างแท้จริง           
                               
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยินดีให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือหน่วยงานของรัฐต้องการข้อมูล  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมกันสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค เท่าเทียม และ เคารพสิทธิมนุษยชน 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คู่มือเรียนรู้ระบบการเมืองแบบใหม่ ฉบับโยนหินถามทาง

$
0
0

<--break- />

 

คลิกดูภาพขนาดเต็มที่นี่

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมา บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้เผยถึง หลักการใหม่เกี่ยวกับระบอบการเมือง นักการเมือง และสถาบันการเมือง โดยจะเป็นแนวทางสำหรับการร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ซึ่งได้ดำเนินการร่างแล้วตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.  2558 ที่ผ่านมา

กระนั้นก็ตาม บวรคักดิ์กล่าวว่าหลักการนี้เป็นเพียงหลักการเบื้องต้น และยังสามารถปรับแก้ไขได้จนถึงวันที่ 23 ก.ค. 2558 ประชาไทสรุปหลักการดังกล่าวมานำเสนอ

1. การเลือกตั้งระบบผสมแบบอิงสัดส่วน(Mixed Member Proportional - MMP)

  • จะมีการเลือกตั้งทั้ง แบบแบ่งเขต / แบบบัญชีรายชื่อ
  • แต่ว่าจะมีการนับรวมกันระหว่าง แบ่งเขต / บัญชีรายใหม่ แบบใหม่ จากเดิมที่เคยนับรวมกัน เช่น พรรค ก ได้แบ่งเขต 70 ที่นั่ง ได้บัญชีรายชื่อ 85 ถ้านับเป็นการเลือกตั้งแบบเดิมระบบ MMM พรรค ก จะได้จำนวนที่นั่งในสภาทั้งหมด

70(ที่นั่งแบ่งเขต) + 85(ที่นั่งบัญชีรายชื่อ) = 155(ที่นั่งทั้งหมด) ที่นั่ง

แต่ถ้านับแบบ MMP พรรค ก จะได้ที่นั่งทั้งหมด 

70(ที่นั่งแบ่งเขต)+ X(ที่นั่งที่จะได้เพิ่มโดยเป็นที่นั่งจากบัญชีรายชื่อ) = 85(ที่นั่งบัญชีรายชื่อ=ที่นั่งรวมทั้งหมด) ที่นั่ง

  • ถ้าในกรณีที่ พรรค ข ได้ที่นั่งแบบแบ่งเขตมากกว่าที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจะไม่มีการตัดที่นั่งแบบแบ่งออก เช่น ได้ที่นั่งบัญชีรายชื่อ 4 ที่นั่ง แต่ได้ที่นั่งแบ่งเขต 16 พรรค ข จะมีที่นั่งทั้งหมด 16 ที่นั่ง โดยเป็นที่จากระบบแบ่งเขตทั้งหมด
  • กำหนดให้มี ส.ส. ทั้งหมดไม่เกิน 480 คน แบ่งสัดส่วนเป็นระบบแบ่งเขต 250 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 200 คน
  • การเลือกตั้งในระบบนี้ จะทำให้ความห่างของจำนวนที่นั่งระหว่างพรรครัฐบาลกับ พรรคฝ่ายค้านลดน้อยลง เพื่อควบคุมเสียงข้างมากในรัฐสภา ถึงที่สุดอาจทำให้เกิดรัฐบาลผสม
  • ปัจจุบันมี 9 ประเทศที่ใช้ระบบนี้ คือ เยอรมนี แอลเบเนีย เลโซโท โบลิเวีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เวเนซุเอลา อิตาลี ฮังการี

2. ข้อเสนอเรื่องที่มานายกรัฐมนตรี ในสภาวะปกติ นายกมาจากการโหวตของ ส.ส. แต่ในสภาวะวิกฤตสามารถนำ “คนกลาง” ที่ไม่ใช่ ส.ส. เข้ามาเป็นนายกได้ ผ่านการโหวตของ ส.ส.

3.ที่มาและอำนาจของ ส.ว.

  • เดิม ส.ว. มี 150 คน แต่จะเพิ่มเป็น 200 คน
  • เดิม ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง 76  และแต่งตั้ง 74 แต่จะเปลี่ยนเป็นแต่งตั้ง 4 ส่วน และเลือกตั้งทางอ้อม 1 ส่วน
  • เดิม ส.ว. มีอำนาจแค่ พิจารณากฏหมาย  ควบคุมการบริหารราชการผ่นดิน แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมกำหนด และถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง แต่จะเพิ่มอำนาจให้ ส.ว. ร่วมกับ ส.ส. ให้ความเห็นชอบวิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์ และแผนสำคัญประเทศให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติ และมีอำนาจตรวจสอบรายชื่อคณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรี ต้องส่งรายชื่อรายชื่อคณะรัฐมนตรีให้ ส.ว. ตรวจสอบก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ

4.การกำหนดวันเลือกตั้ง เดิมเป็นอำนาจของรัฐบาล แต่เปลี่ยนเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

5.เสนอให้มีการตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ

  • ให้มีสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและคุณธรรมเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีหน้าที่ส่งเสริมและพิทักษ์คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชนทุกระดับ มีหน้าที่ตรวจสอบ ไต่สวนการละเมิดจริยธรรมของบุคคลสาธารณะ และประกาศผลให้สาธารณชนทราบ พร้อมส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจถอดถอนต่อไป

6.ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลภายในรัฐสภา

  • พรรคที่ได้คะแนนอันดับที่ 2 และ 3 ในเลือกการประธานสภาผู้แทนฯ เป็นรองประธานสภาผู้แทน เพื่อให้พรรคฝ่ายค้านได้เป็นมีตำแหน่งด้วย
  • ให้ฝ่ายค้านเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการชุดตรวจสอบที่สำคัญ
  • ครม.สามารถส่งเรื่องให้สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ตรวจสอบจริยธรรมองค์กรอิสระ ส.ส. ส.ว. ได้หากพบว่ามีความผิดทางจริยธรรม เสนอให้ถอดถอนได้

7.มาตราการป้องกัน นายทุนพรรคการเมือง

  • กำหนดให้ผู้ซึ่งมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าเป็นผู้ครอบงำ นำชัก หรือสั่งการให้พรรคการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง หรือข้าราชการกระทำการใด ๆ ต้องมีความรับผิดทางอาญา ทางวินัย การเงินการคลัง และงบประมาณ และความรับผิดอื่น เช่นเดียวกับผู้ที่ตนสั่ง ครอบงำ หรือนำชัก

 

 

AttachmentSize
นักการเมือง และสถาบันการเมือง.pdf90.68 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ประยุทธ์’ แนะครูต้องสอนให้เด็กกล้าแสดงออก แต่อย่าขัดแย้ง ไม่ติดกับดักประชาธิปไตย

$
0
0

‘ประยุทธ์’ แนะครูต้องสอนให้เด็กกล้าแสดงออก โต้แย้งได้แต่อย่าขัดแย้ง ไม่ติดกับดักประชาธิปไตย  เผยมีโรงเรียนสอนเด็กเกลียด คสช. ฝากสอนให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ตามสิทธิและเสรีภาพ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

16 ม.ค.2558  ที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีงานวันครู ครั้งที่ 59 พร้อมกล่าวปราศรัยเนื่องในวันครู โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการคุรุสภา ผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ครู และแขกผู้มีเกียรติร่วมงาน

โดย พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า วันนี้โลกมีความเปลี่ยนแปลงทุกคนต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง เพราะฉะนั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า และทุกคนต้องทำด้วยความเสียสละ โดยไม่สามารถบังคับได้ ทั้งนี้ ปัญหาในประเทศไทยคือการขับเคลื่อน ต้องแก้ไขอย่างไรให้ครูเดินไปในทางเดียวกัน ให้ประเทศชาติไม่เกิดความขัดแย้ง ให้เด็กและเยาวชนอยู่ในกรอบกฎหมาย ในนามของรัฐบาล ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีความสุข อยู่กันได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง และเตรียมเข้าสู่อนาคต โดยเอาบทเรียนในอดีตก้าวไปข้างหน้า ดังนั้น การผลิตนักเรียน นักศึกษาออกมา ต้องมีการกำหนดพื้นฐานกระบวนการที่มีมาตรฐาน

วันนี้ครูในทุกศาสนาทุกระดับต้องขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน คือ แนวทางการสร้างประเทศไปข้างหน้า เพื่อให้ลูกศิษย์อยู่ในกรอบของกฎหมาย มีสิทธิเสรีภาพในหน้าที่ ส่วนรัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบายการศึกษาของประเทศ รวมทั้ง ยังต้องเตรียมการการเข้าสู่อนาคตโดยใช้บทเรียนที่ผ่านมา โดยการพัฒนาบุคลากรให้เท่าเทียมต่างประเทศ พร้อมกล่าวฝากให้ครูคิดว่าจะทำอย่างไรให้ครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความสุข ทั้งเรื่องหนี้สิน ค่าใช้จ่าย คุณภาพชีวิต โดยการผลิตนักเรียนต้องมีพื้นฐาน ก่อนการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไป

พล.อ. ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอให้ครูทุกคนช่วยกันขับเคลื่อน คือ 1.มีเหตุมีผลในการใช้จ่าย 2. การพอประมาณ 3.การมีความรู้คู่คุณธรรม โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับการศึกษาต้องดูว่าวันนี้จะแก้ไขปัญหาการศึกษาได้อย่างไร โดยต้องนำครู นักเรียน ผู้ปกครอง มาเป็นโจทย์ วันนี้ครูต้องสอนให้นักเรียนมีระเบียบวินัย โดยทุกฝ่ายต้องให้กำลังใจครูในการทำหน้าที่ รัฐบาลพร้อมจะดูแลทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งหมด สำหรับเรื่องหนี้สินสวัสดิการ ต้องแก้ไขด้วยวิธีการใหม่ เพราะวิธีการเดิมไม่สามารถแก้ไขได้ และรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งปัญหาดังกล่าวต้องมีการแก้ไขใหม่ทั้งระบบ

สำหรับกรณีที่ครูต้องการมีเวลาสอนนักเรียนให้มากขึ้น จะต้องปรับแก้ไขการประเมินผลงานโดยปรับให้ใช้เวลาน้อยลงอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ทุกอย่างต้องปรับแก้ในปัญหาด้านโครงสร้างทั้งหมด ขณะเดียวกันการของบประมาณต้องคิด และประเมินให้รอบคอบ เพราะที่ผ่านมากระทรวงต่าง ๆ ยังขาดการประเมินในการของบประมาณ แต่กลับใช้แผนเดิมซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยต้องลดภาระเพื่อลดการใช้จ่าย อีกทั้ง ต้องจัดบุคลากรให้เหมาะสม มีการประเมินครู โรงเรียนอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ โรงเรียนต่าง ๆ ต้องยกระดับมาตรฐานการสอนให้เท่าเทียมกันให้ได้ เพื่อลดปัญหาการเก็บเงินสนับสนุนโรงเรียน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยยังขาดนักวิจัย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ หากสามารถดึงผู้ที่มีความสามารถของไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศกลับมาได้จะเป็นเรื่องที่ดี ทั้งนี้ ปัจจุบันเด็กนักเรียน เรียนพิเศษตั้งแต่ชั้นอนุบาล ซึ่งไม่มีความจำเป็นเพราะทำให้ผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยต้องมองว่าจะทำอย่างไรให้เด็กสนใจ การอ่านหนังสือ และเล่นเกมให้น้อยลง วันนี้ต้องพัฒนาสื่อการสอนโดยครูต้องเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องผนวกความรู้ของครูให้เข้ากับสื่อ อาทิ เช่น google และ social media ต้องสอนเด็กให้รักการเรียนรู้ รักการอ่าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ วันนี้ต้องสอนว่า เรื่องใดมีประโยชน์อย่างไร เพราะปัจจุบันมีสิ่งชักจูงความสนใจของนักเรียนหลากหลาย ปัจจุบันเด็กสมาธิสั้น เราต้องสอนให้เด็กเกิดความเข้าใจ มีกระบวนการคิด และกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์

"ครูต้องสอนให้เด็กกล้าแสดงออก โต้แย้งได้แต่อย่าขัดแย้ง เราจะได้ไม่ติดกับดักประชาธิปไตย วันนี้ทุกคนทวงถามเรื่องเลือกตั้ง แต่ถามว่าใครที่เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง และมาจากไหน หรือจะมาจากต่างประเทศ วันนี้ไม่มีใครรู้แต่ทั้งหมดคือคนไทย วันนี้มีแต่ขัดแย้งเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ เราต้องคิดถึงประชาชน ต้องมีการวางแผนการเลือกตั้ง ใครเข้ามาต้องแถลงนโยบายและต้องมีการตรวจสอบ เพราะหากเกิดปัญหาก็อาจกระทบไปยังสนช. สปช. ด้วย ส่งผลให้คนทำงานเกิดความหวาดกลัว ทั้งที่มีหลักเกณฑ์อยู่แล้ว จึงขอให้ไปแก้ไข และใครจะมาบริหารบ้านเมืองต่อไปในอนาคตต้องรู้มากกว่าผม อย่าไปเลือกตามที่เคยเลือกมา ประชาชนต้องเป็นผู้เริ่มต้นว่าต้องการรัฐธรรมนูญอย่างไร อย่าไปเลือกแบบญาติพี่น้องหรือกลุ่มเก่า"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุด้วยว่ามีสถาบันการศึกษาสอนให้นักเรียนเกลียดชัง คสช. ว่า ทางฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลอยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่มีอยู่ไม่มากซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจกันนิดหน่อย แต่อยู่ที่ไหนก็น่าจะรู้ แต่อย่าไปขยายความต่อไปเลย  โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เพียงแต่ผมพูดให้ฟังว่าอาจจะไม่เข้าใจ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีการรับรายงานเหล่านี้ แต่ผมก็ไม่ได้ถือเป็นอารมณ์ แต่อยากให้ทำความเข้าใจว่า การทำงานของเราวันนี้ทำเพื่ออะไร เพื่อจะแก้ปัญหา เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการที่จะทำให้ประเทศปฏิรูปได้ เดินหน้าไปข้างหน้าต่อไปได้ มันก็ควรจะหยุดกันบ้าง ไม่ใช่ไปสร้างความเกลียดชังให้เด็กๆ ซึ่งเด็กเขาก็เป็นผู้บริสุทธิ์ ขอร้องเถอะ ในนิสิต นักศึกษาก็มี ไม่เคยคิดเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย สมองไม่รู้เป็นยังไง คือประชาธิปไตย ซึ่งก็เป็นประชาธิปไตยอยู่ ผมก็ไม่ได้ไปเถียงเลยเรื่องประชาธิปไตย ผมก็จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่มันมั่นคงขึ้น ถ้าผมไม่ทำแล้วใครจะทำ มีใครนำไหม หรือใครจะนำ นำไม่ได้ก็ต้องให้รัฐบาลเขาทำ ซึ่งรัฐบาลก็พยายามทำทุกอย่าง พยายามไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรที่ทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ไปปิดกั้นอะไร เว้นแต่ว่ามาพูดจาต่อต้านโดยตรง เป็นท่านจะยอมไหม จะให้ทำไหม ทั้งๆ ที่มีอำนาจทุกอย่างทุกประการ ผมยังแทบไม่ได้ใช้เลย นี่คือสิ่งที่ผมทำ ก็ต้องให้เดินหน้าไปให้เกิดความชัดเจนขึ้น วันนี้มีหลายอย่างก็ต้องติดตามแล้วกันว่าถูกหรือผิดก็ว่ามา"

 

เรียบเรียงจาก ศูนย์สื่อทำเนียบ, เดลินิวส์คมชัดลึกออนไลน์และ เนชั่นทันข่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถึงไม่ฆ่าคน ก็ฆ่าสปีชได้: ข้อสังเกตจากกรณีชาร์ลีเฮปโด

$
0
0

 

ปฏิกิริยาเกือบทั้งหมดต่อกรณีสังหารหมู่ที่ออฟฟิศของนิตยสารล้อเลียนชื่อดังในฝรั่งเศส "ชาร์ลี เฮปโด"ล้วนแต่ประณามพฤติกรรมของมือปืนทั้งสิ้น 
 
พิสูจน์ได้จากการแสดงออกของผู้คนกว่า 1 ล้านคนที่ชุมนุมกันแน่นกรุงปารีส ด้วยข้อความที่ชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการปิดปากสื่อด้วยความรุนแรง แบบที่เกิดขึ้นกับ "ชาร์ลี เฮปโด"แม้แต่ผู้นำศาสนา คอลัมนิสต์ และนักการเมืองต่างๆ ที่ถึงแม้ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ชาร์ลี เฮปโดเขียน ก็ยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การสังหารนักข่าวเหล่านี้เป็นสิ่งที่รับไม่ได้อย่างยิ่ง
 
อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับการสังหารหมู่ในปารีสเมื่อสัปดาห์ก่อน ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเสมอไป และอาจเห็นด้วยกับการลงโทษชาร์ลีเฮปโดในวิธีอื่นด้วยซ้ำ ดังที่จะอธิบายต่อไปนี้
 
ในทัศนคติของผู้เขียนนั้น การพูดขึ้นมาลอยๆว่า "ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการฆ่านักเขียนการ์ตูนของชาร์ลี เฮปโด"ไม่สามารถบอกอะไรได้เลย เนื่องจากอุดมการณ์หรือแนวคิดเกือบทั้งหมดในโลกนี้ (และผู้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้) ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการฆ่าพลเรือนที่ไม่มีอาวุธอยู่แล้ว 
 
ลองสมมติดูว่า ถ้าหากวันพรุ่งนี้ มีมือปืนบุกไปยิงถล่มมหาวิทยาลัยของนักวิชาการที่เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 (สมมติว่าชื่อ "สมชาย เจียม") แล้วสังหารนักวิชาการคนดังกล่าว กับเพื่อนร่วมงานอีก 10-20 ราย เดาได้เลยว่า ในวันต่อมาจะต้องมีเสียงประณามจากทุกภาคส่วนของสังคมว่า ความรุนแรงเช่นนี้รับไม่ได้เด็ดขาด ต่อให้ "พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา"หรือ "หมอตุลย์"ก็ต้องให้สัมภาษณ์ทำนองนี้
 
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องถามลึกลงไปอีกคือ "คุณเห็นด้วยกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แบบที่ชาร์ลี เฮปโด (หรือสมชาย เจียม) ทำหรือไม่?"
 
คำตอบต่อคำถามข้างต้นต่างหาก ที่จะสามารถตัดสินทัศนคติที่แท้จริงของคนคนนั้น หรือกลุ่มกลุ่มนั้น ที่เราควรนำมาวิเคราะห์
 
เหตุผลที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะผู้เขียนสังเกตว่า หลายๆคน (ทั้งไทยและเทศ) พูดกันเกร่อว่า ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่ปารีสนะ แต่ข้อความประณามแบบนี้มักจะตามมาด้วยข้อความว่า
 
"แต่ชาร์ลีเฮปโดเป็นคนไปหาเรื่องเขาก่อน"
 
"แต่การล้อเลียนศาสนาแบบชาร์ลีเฮปโด ไม่ถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงความเห็น"
 
"แต่การเสียดสีศาสดามูฮัมหมัด เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้"
 
"แต่ชาร์ลีเฮปโดเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติ เหยียดมุสลิม เป็นเครื่องมือของพวกตะวันตก ฯลฯ"
 
ผู้เขียนเคยได้ยินว่า "ซัลมาน รัชดี"นักเขียนนิยายวิพากษ์ศาสนาที่ถูกกลุ่มอิสลามขู่ฆ่า ชอบเรียกคนพวกนี้ว่า "กองทัพแต่" (The But Brigade) เพราะชอบพูดว่า ฉันไม่เห็นด้วยกับการกระทำแบบนั้นนะ แต่...
 
ในประเทศไทย หากเกิดกรณีแบบที่สมมติจริงๆ วันต่อมาบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 ก็คงพูดเหมือนๆกัน ไม่เห็นด้วยกับการบุกไปยิงสมศักดิ์ เอ๊ย สมชาย เจียมนะ...
 
"แต่สมชายเป็นคนไปหาเรื่องเขาก่อน"

"แต่การวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์แบบสมชาย ไม่ถือว่าเป็นเสรีภาพในการแสดงความเห็น"

"แต่การเสียดสีสถาบัน เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้"

"แต่สมชายเป็นพวกเสื้อแดงที่ถูกจ้างมาเพื่อทำลายชาติของเรา ฯลฯ"
 
ขอยกตัวอย่างบทความหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงทัศนคติข้างต้น เป็นบทความชื่อ "Killing is not the answer" (การฆ่าไม่ใช่คำตอบ) เขียนโดย Wong Chun Wai และตีพิมพ์ในสื่อจำนวนหนึ่ง ตอนแรกของบทความก็เริ่มต้นด้วยดี ประณามการฆ่าหมู่ที่ปารีสตามสูตร แต่ไม่กี่ย่อหน้าถัดมา ก็เข้าสูตร "กองทัพแต่"จนได้:
 
"แน่นอนว่า สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ไม่รวมสิทธิที่จะดูหมิ่นสิ่งที่ผู้คนเห็นว่าศักดิ์สิทธิ์และสำคัญต่อศาสนาใดๆ ก็ตาม รวมทั้งผู้นับถือศาสนานั้นๆ เป็นล้านๆ คนด้วย 
 
ศาสดามูฮัมหมัด พระเยซู พระพุทธเจ้า และบรรดาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ไม่สมควรถูกนำมาเปรียบเทียบกับนัการเมืองซึ่งเป็นเพียงมนุษย์ และสามารถถูกวิจารณ์หรือเสียดสีได้จากบรรดาแม็กกาซีนทั้งหลาย
 
เมื่อเราพูดถึงศรัทธาของผู้คนแล้ว การใช้เหตุผล ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้ และข้ออ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ก็ไม่สามารถประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน"
 
ล่าสุด สันตปาปาฟรานซิส ก็ระบุว่า ตนไม่เห็นด้วยกับเหตุรุนแรงในปารีส แต่ก็ยืนยันว่า สื่อมวลชนไม่มีสิทธิ์ที่จะเสียดสีและล้อเลียนศาสนา เพราะศาสนาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์
 
โป๊ปฟรานซิสยกตัวอย่างด้วยซ้ำว่า การวิจารณ์ศาสนา เหมือนกับการไปด่าพ่อล่อแม่ คือผู้ที่ปากเสียเช่นนี้ อาจจะโดนชกปากเอาง่ายๆ 
 
ดังนั้น เราสามารถพูดได้ว่า จริงๆ แล้วทั้งคนเขียนบทความข้างต้น และโป๊ปฟรานซิส ก็คิดแบบเดียวกันกับมือปืนที่บุกไปฆ่านักข่าวชาร์ลีเฮปโดเลยทีเดียว คือมองว่าการล้อเลียนศาสนา ไม่ถือว่าเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็น และยืนยันว่า ศาสนาอยู่เหนือหลักการเสรีภาพในการแสดงความเห็น
 
เป็นความคิดแบบ "species"เดียวกัน เพียงแต่เห็นด้วยการบทลงโทษที่ "รุนแรง"น้อยกว่าเท่านั้นเอง 
 
หมายความว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวิจารณ์ศาสนาอิสลาม อาจจะใช้วิธีอื่นในการปิดกั้นคำพูดที่ตนไม่ชอบ โดยไม่ต้องถึงกับบุกไปฆ่าผู้ที่ดูหมิ่นศาสนาอิสลามทิ้ง เช่น ใช้กฎหมายจับเข้าคุก ปิดเว็บไซต์ หรือเฆี่ยนตี ทั้งนี้ อย่าลืมว่าประเทศแถบตะวันออกกลาง 14 ประเทศ ยังมีกฎหมายห้ามวิจารณ์หรือดูหมิ่นศาสนาอิสลาม และยังมีการบังคับใช้กฎหมายแบบนี้อยู่เรื่อยๆด้วย
 
บล็อกเกอร์คนหนึ่งในซาอุดิอารเบีย ก็เพิ่งถูกตัดสินให้โดนเฆี่ยน 1000 ครั้ง ด้วยข้อหา "หมิ่นอิสลาม"
 
ข้อห้ามต่อเสรีภาพเช่นนี้ ร้ายแรงน้อยกว่าการฆ่าหรือประหัตประหารก็จริง แต่ก็เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานอยู่ดี ไม่ต่างจากการกฎหมายอาญามาตรา 112 ของไทย ที่ไม่ได้ร้ายแรงเหมือนการเชือดคอฆ่ากันโต้งๆ แต่ก็ขัดต่อหลักการแสดงความคิดเห็นในประชาธิปไตยอยู่ดี 
 
ต่อให้คนคนหนึ่ง ประกาศว่าไม่เห็นด้วยกับการบุกไปยิงสมชาย เจียม แต่ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าสมชาย เจียม ไม่มีสิทธิ์พูดในสิ่งที่เขาพูดเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย ก็เท่ากับว่าบุคคลนั้น "คิดแบบเดียวกัน"กับหลักการของมือปืนอยู่ดี
 
ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว การวิจารณ์ เสียดสี และล้อเลียนแนวคิดใดๆ ก็ตามบนโลก ถือเป็นสิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่ต้องได้รับการปกป้องทั้งสิ้น ไม่ว่าแนวคิดนั้นจะถือว่า "ศักดิ์สิทธิ์"เพียงใดจากคนกลุ่มไหนบนโลก ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถาบันการปกครอง หรือแม้แต่แฟชั่น
 
การประณามความรุนแรงที่ปารีส แต่ไม่ได้เชื่อในเสรีภาพข้างต้น ไม่มีประโยชน์อันใดเลย
 
ผู้ที่ยืนยันในหลักการเสรีภาพและสิทธิการแสดงความคิดเห็นจริง จะต้องไม่พอใจแต่เพียงการประณามความรุนแรงลอยๆ แต่ต้องมุ่งมั่นที่จะยกเลิกการปิดกั้นการแสดงความเห็นด้วย และต้องยืนยันในสิทธิ์ของการวิจารณ์ เสียดสี และล้อเลียน ทุกแนวคิด ทุกลัทธิ และทุกศาสนา
 
ทั้งในโลกมุสลิม และในประเทศไทย
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กอ.รมน. รุกคืบสร้างเครือข่ายนักข่าวพลเมืองชายแดนใต้

$
0
0
กอ.รมน.ภาค 4 สน. ขยายเครือข่ายนักข่าวพลเมือง จัดอบรมผู้ประกาศข่าวและนักจัดรายการเยาวชน เน้นสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของพื้นที่ให้กลับคืน หลังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดูน่ากลัวในสายตาสังคมภายนอก

 
17 ม.ค. 2558 สทท.ยะลารายงานว่าพลตรี ยอดชัย ยั่งยืน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นประธานเปิดฝึกอบรมผู้ประกาศข่าวและนักจัดรายการเยาวชน รุ่นที่ 3 ที่โรงแรมยะลามายเฮาส์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้ดำเนินการตามโครงการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ และสันติสุขในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี 2558 จำนวน 4 รุ่น โดยให้หน่วยเฉพาะกิจจังหวัด คัดเลือกเยาวชน อายุ 15-18 ปี เข้ารับการอบรมรุ่นละ 30 คน ซึ่งรุ่นนี้ เป็นเยาวชนจากจังหวัดนราธิวาส จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-18 มกราคม 2558 เพื่อเสริมสร้างทักษะของเยาวชนในเรื่องการเป็นผู้ประกาศข่าวและนักจัดรายการ พร้อมขยายเครือข่ายนักข่าวพลเมือง สนับสนุนงานด้านการประชาสัมพันธ์ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้าใจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
พลตรี ยอดชัย ยั่งยืน รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสริมที่เกิดจากกลุ่มบุคคล หรือ เครือข่ายที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจนโยบายของรัฐบาลอย่างลึกซึ้ง คอยชี้นำให้เกิดความแตกแยก เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือต่างๆ ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือกไปสู่การรับรู้สาธารณะอย่างไร้จิตสำนึกและความรับผิดชอบ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐ และเติมเชื้อไฟให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดูน่ากลัวในสายตาสังคมภายนอก
 
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมของเรา ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน รวมทั้ง เยาวชน ที่จะมีส่วนสำคัญในการเป็นกระบอกเสียงชี้แจงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นความจริงผ่านช่องทางและเครื่องมือต่างๆ ที่มีมากมายในปัจจุบัน ทั้งสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และเครือข่ายออนไลน์ ทั้งนี้ การที่เยาวชน ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้ดังกล่าว จึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกคนจะได้เรียนรู้หลักการ และเทคนิคในการประชาสัมพันธ์ที่ถูกต้องซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมดีๆ ในพื้นที่ แจ้งข้อมูลข่าวสารสำคัญให้พี่น้องประชาชนรับทราบ รวมทั้งรายงานเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในฐานะนักข่าวพลเมืองไปสู่การรับรู้สาธารณะ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดความตื่นตระหนก ความหวาดระแวง และเสริมสร้างภาพพจน์ที่ดีของพื้นที่ให้กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มหาดไทยโยกย้ายนายอำเภอครั้งใหญ่ 252 คน

$
0
0
กรมการปกครอง กระทรวงหมาดไทย มีคำสั่งโยกย้ายนายอำเภอจำนวนทั้งหมด 252 ราย พร้อมขยับ 3 รองผู้ว่าฯ เข้ากรุนั่งที่ปรึกษา

 
17 ม.ค. 2558 กรมการปกครอง กระทรวงหมาดไทย ได้มีคำสั่งโยกย้ายนายอำเภอ (ผู้อำนวยการสูง) หรือนายอำเภอระดับ 9 โดยมีนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงนามในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 39/2558 ลงวันที่ 16 ม.ค. 2558 ย้ายข้าราชการตำแหน่งนายอำเภอ (ผู้อำนวยการสูง) และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2558 เป็นต้นไป จำนวนทั้งหมด 252 ราย รวมทั้งนายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งแนบท้ายมหาดไทยที่ 38/2558 ลงวันที่ 16 ม.ค. 58 ให้ข้าราชการรักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา ดังนี้
          
1.นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการ จ.ตาก เป็น ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย       
2.นายกาศพล แก้วประพาฬ รองผู้ว่าราชการ จ.กาญจนบุรี เป็นที่ ปรึกษาด้านความมั่นคง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
3.นายวันชัย คงเกษม รองผู้ว่าราชการ จ.นครราชสีมา เป็น ที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
 
สำหับคำสั่งโยกย้ายนายอำเภอ (ผู้อำนวยการสูง) หรือนายอำเภอระดับ 9 ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 39/2558 ลงวันที่ 16 ม.ค. 2558 ย้ายข้าราชการตำแหน่งนายอำเภอ (ผู้อำนวยการสูง) และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2558 เป็นต้นไป จำนวนทั้งหมด 252 ราย มีรายชื่อดังต่อไปนี้
 
          1. นายสมศักดิ์ โพธ์ศรีทอง นายอำเภอบ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เป็น นายอำเภอท่ามะกา จ.กาญจนบุรี
          2. นายชาญวิทย์ ศุภกิจจานุสรณ์ นายอำเภอเลาขวัญ จ.กาญจนบุรี เป็น นายอำเภอบ่อพลอย จ.กาญจนบุรี
          3. นายกิตตินันท์ อรรถบท นายอำเภอบึงบูรพ์ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอเลาขวัญ จ.กาญจนบุรี
          4. นายเลิศบุศย์ กองทอง นายอำเภออุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์
          5. นายสุรชาติ แก้วศิลา นายอำเภอยางขุมน้อย จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภออุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
          6. นายคนิจ แก่นจันทร์ นายอำเภอไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอยางขุมน้อบ จ.ศรีสะเกษ
          7. นายรณชิต พุทธลา นายอำเภอเขาวง จ.กาฬสินธุ์ เป็น นายอำเภอกุฉินายรายณ์ จ.ศรีสะเกษ
          8. นายสมเจตน์ เต็งมงคล นายอำเภอพรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอสมเด็จ จ.กาฬสินธุ์
          9. นายสุระ สุรวัฒนากุล นายอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอพรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช
          10. นายรังสรรค์ รัตนสิงห์ นายอำเภอนบพิดำ จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
          11. นายสุวิทย์ สันตติวงศ์ไชย นายอำเภอขาติตระการ จ.พิษณุโลก เป็น นายอำเภอคลองลาน จ.กำแพงเพชร
          12. นายจารึก เหล่าประเสริฐ นายอำเภอลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอบ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
          13. นายศุภชัย ลีเขาสูง นายอำเภอขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอน้ำพอง จ.ขอนแก่น
          14. นายพรเลิศ โชคชัย นายอำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เป็น นายอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
          15. นายชิดชนก ทับแสง นายอำเภอศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ เป็น นายอำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
          16. นายพิษณุวัตร วรรธนะกุล นายอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว เป็น นายอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
          17. นายณัฎฐชัย นำพูลสุขสันต์ นายอำเภอเมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว เป็น นายอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้ว
          18. นายสมยศ ศิลปีโยดม นายอำเภอวัฒนานคร จ.สระแก้ว เป็น นายอำเภอเมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
          19. นายชาคร กัญจนวัตตะ นายอำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี เป็น นายอำเภอบางละมุง จ.ชลบุรี
          20. นายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น นายอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
          21. นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม นายอำเภอสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น นายอำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
          22. นายไชยชนะ สุทธิวรชัย นายอำเภอภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
          23. นายปริญญา โพธิสัตย์ นายอำเภอชะอำ จ.เพชรบุรี เป็น นายอำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี
          24. นายพิทยา วงศ์ไกรศรีทอง นายอำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เป็น นายอำเภอชะอำ จ.เพชรบุรี
          25. นายอาวุธ วิเชียรฉาย นายอำเภอบางขัน จ.นครผศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
          26. นายอดุลย์รัตน์ องอาจยุทธ นายอำเภอดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอเมืองชัยนาท จ.ชัยนาท
          27. นายแสงประทีป บุญน้อม นายอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคราม เป็น นายอำเภอดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
          28. นายศิริพันธ์ ขุ่มด้วง นายอำเภอเกษตรวิชัย จ.ร้อยเอ็ด เป็น นายอำเภอกันทรวิชัย จ.มหาสารคราม
          29. นายไพศาล ศิลปวัฒนานันท์ นายอำเภอหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ เป็น นายอำเภอเมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ
          30. นายจรัส ศรีมูล นายอำเภอพรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร เป็น นายอำเภอหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
          31. นายณัฐพงษ์ ศิริบุญ นายอำเภอทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย เป็น นายอำเภอพรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
          32. นายวิระ ทองพิจิตร นายอำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี เป็น นายอำเภอสวี จ.ชุมพร
          33. นายธวัชชัย เจริญวัน นายอำเภอลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ เป็น นายอำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี
          34. นายบุญยัง เรือนกูล นายอำเภอเมืงน่าน จ.น่าน เป็น นายอำเภอพนมทวน จ.กาญจนบุรี
          35. นายจตุพร ชนะศรี นายอำเภอปัว จ.น่าน เป็น นายอำเภอเมืองเชียงราย จ.เชียงราย
          36. นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล นายอำเภอปาย จ.แม่อ่องสอน เป็น นายอำเภอปัว จ.น่าน
          37. นายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเวียยงแก่น จ.เชียงราย เป็นนายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย
          38. นางภัทราวดี ปัญญาบุญ นายอำเภอป่าแดด จ.เชียงราย เป็น นายอำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย
          39. นายนิวัฒน์ งามธุระ นายอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย เป็น นายอำเภอป่าแดด จ.เชียงราย
          40. นายประจวบ กันธิยะ นายอำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
          41. นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์ นายอำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอแม่ริม จ.เชียงใหม่
          42. นายไกรธวัช ทินโสม นายอำเภอพบพระ จ.ตาก เป็น นายอำเภอแม่แตง จ.เชียงใหม่
          43. นายฉัทธนาตย์ เทียนขาว นายอำเภออุ้มผาง จ.ตาก เป็น นายอำเภอพบพระ จ.ตาก
          44. นายวิสิฐ ตั้งปอง นายอำเภอกันตัง จ.ตรัง เป็น นายอำเภอย่านตาขาว จ.ตรัง
          45. นายวรนิตติ์ มุตตาหารัช นายอำเภอบ้านนา จ.นครนายก เป็น นายอำเภอเมืองตราด จ.ตราด
          46. นายธีรภัทร อดิเทพสถิตย์ นายอำเภอปากพลี จ.นครนายก เป็น นายอำเภอบ้านนา จ.นครนายก
          47. นายจิตวัฒน์ วิกสิต นายอำเภอลับแล จ.อุตรดิตถ์ เป็น นายอำเภอปากพลี จ.นครนายก
          48. นายธาตรี บุญมาก นายอำเภอตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็น นายอำเภอลับแล จ.อุตดิตถ์
          49. นายประสงค์ อุไรวรณ์ นายอำเภอแม่จัน จ.เชียงราย เป็น นายอำเภอตรอน จ.อุตรดิตถ์
          50. นายสมศักดิ์ คณาคำ นายอำเภอเวียงชัย จ.เชียงราย เป็นนายอำเภอแม่จัน จ.เชียงราย
          51. นายชัยณรงค์ บุญวิวัฒนาการ นายอำเภอเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ เป็น นายอำเภอเวียงชัย จ.เชียงราย
          52. นายเชวงศักดิ์ พลเยี่ยม นายอำเภอบ้านแพง จ.นครพนม เป็น นายอำเภอเมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
          53. นายวัชรินทร์ รัตบรรณกิจ นายอำเภอจอมบึง จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม
          54. นายธรรมนูญ แก้วคำ นายอำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี เป็น นายอำเภอจอมบึง จ.ราชบุรี
          55. นายวชิระ เกตุพันธ์ นายอำเภอท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็น นายอำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี
          56. นายศิริศักดิ์ ศิริมังคะลา นายอำเภอเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เป็น นายอำเภอสามพราน จ.นครปฐม
          57. นายสุวิทย์ พุกกะเวส นายอำเภอโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอเขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
          58. นายวรณัฏฐ์ หนูรอด นายอำเภอหนองเสือ จ.ปทุมธานี เป็น นายอำเภอพุทธมณฑล จ.นครปฐม
          59. นายเมธา ทวีกุลกิจชัย นายอำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี เป็น นายอำเภอหนองเสือ จ.ปทุมธานี
          60. นายสัมพันธ์ เนตตกุล นายอำเภอรัตภูมิ จ.สงขลา เป็น นายอำเภอสามโคก จ.ปทุมธานี
          61. นายเจษฎา จิตรัตน์ นายอำเภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส เป็นนายอำเภอรัตภูมิ จ.สงขลา
          62. นายวรเชษฐ พรมโอภาษ นายอำเภอรือเสาะ จ.นราธิวาส เป็น นายอำเภอสุไหงโกลก จ.นราธิวาส
          63. นายยะห์ยา ปะนาฆอ นายอำเภอเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เป็น นายอำเภอรือเสาะ จ.นราธิวาส
          64. นายเชาวเนตร ยิ้มประเสริฐ นายอำเภอแปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เป็น นายอำเภอกำแพงแสน จ.นครปฐม
          65. นายปัญญา วงศ์ศรีแก้ว นายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เป็น นายอำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา
          66. นายสุรศิษฐ์ อินทกรอุดม นายอำเภอคอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ เป็น นายอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ
          67. นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ นายอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอคอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ
          68. นายชูศักดิ์ รู้ยิ่ง นายอำเภอกงไกรลาศ จ.สุโขทัย เป็น นายอำเภอดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
          69. นายยงยุทธ ป้อมเอี่ยว นายอำเภอเสิงสาง จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอสีคิ้ว จ.นครราชสีมา
          70. นายวัชรินทร์ รุ่งโรจน์ นายอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอโนนสูง จ.นครราชสีมา
          71. นายธีรพล สกุลรักษ์ นายอำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ เป็น นายอำเภอสตึก จ.บุรีรัมย์
          72. นายชูศักดิ์ ราชบุรี นายอำเภอพยุห์ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
          73. นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ นายอำเภอคำตากล้า จ.สุรินทร์ เป็น นายอำเภอเนินสูง จ.นครราชสีมา
          74. นายพงษ์ศักด์ คารวานนท์ นายอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
          75. นายสิทธิชัย เผ่าพันธุ์ นายอำเภอโพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด เป็น นายอำเภอหัวไทร จ.นครศรีธรรมราช
          76. นายสมพงษ์ มากมณี นายอำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น นายอำเภอฉวาง จ.นครศรีธรรมราช
          77. นายธวัชชัย แท้เที่ยง นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เป็น ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
          78. นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร นายอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
          79. นายชนพหล ส่งเสริม นายอำเภอสามง่าม จ.พิจิตร เป็น นายอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
          80. นายสมบูรณ์ ด่านรัชตกุล นายอำเภอเรณูนคร จ.นครพนม เป็น นายอำเภอท่าตะโก จ.นครสวรรค์
          81. นายทรงกลด อินทะกนก นายอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม เป็น นายอำเภอเรณูนคร จ.นครพนม
          82. นายวีระ ฤกษ์วาณิชย์กุล นายอำเภอนาหว้า จ.นครพนม เป็น นายอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม
          83. นายไพรัตน์ จันทร์ผลหอม นายอำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอไทรน้อย จ.นนทบุรี
          84. นายประยงค์ จันทเต็ง นายอำเภอนามน จ.กาฬสินธุ์ เป็น นายอำเภอปากท่อ จ.ราชบุรี
          85. นายสมหวัง เรืองเพ็ง นายอำเภอระแงะ จ.นราธิวาส เป็น นายอำเภอเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส
          86. นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอแว้ง จ.นราธิวาส เป็น นายอำเภอระแงะ จ.นราธิวาส
          87. นายวิบูลย์ จิรภากรณ์ นายอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เป็น นายอำเภอเวียงสา จ.น่าน
          88. นายพิศิษฐ์ กิจบุญอนันต์ นายอำเภอฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ เป็น นายอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
          89. นายชาติชาย รัตนภานพ นายอำเภอคูเมือง จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
          90. นางสาวเมตตา สินยบุตร นายอำเภอประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอคูเมือง จ.บุรีรัมย์
          91. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ นายอำเภอประคำ จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
          92. นายจรูญศักดิ์ สิงหเดช นายอำเภอพล จ.ขอนแก่น เป็น นายอำเภอลำลูกกา จ.ปทุมธานี
          93. นายสิทธิ พิพัฒน์ชัยกร นายอำเภอเมืองมหาสารคราม จ.มหาสารคราม เป็น นายอำเภอพล จ.ขอนแก่น
          94. นายนิวัติ น้อยผาง นายอำเภอศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอเมืองมหาสารคราม จ.มหาสารคราม
          95. นายสมศักดิ์ แสนหิรัณย์ นายอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ เป็น นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
          96. นายพิจิตร บุญทัน นายอำเภอเลิกนกทา จ.ยโสธร เป็น นายอำเภอเมืองอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ
          97. นายสุวัฒน์ เข็มเพ็ชร นายอำเภอมหาชนะชัย จ.ยโสธร เป็น นายอำเภอเลิงนกทา จ.ยโสธร
          98. นายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอบางแพ จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
          99. นายฉลวย พ่วงพลับ นายอำเภอขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน เป็น นายอำเภอบางแพ จ.ราชบุรี
          100. นายรุจน์ประทีป ธรรมรพีภัทร์ นายอำเภอบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
          101. นายพิพิธ ภาระบุญ นายอำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี เป็น นายอำเภอประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
          102. นายอภิรศักดิ์ พฤกษชาติ นายอำเภอโพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เป็น นายอำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
          103. พ.จ.อ.ลิขิต ทองนาท นายอำเภอไชโย จงอ่างทอง เป็น นายอำเภอโพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
          104. นายยศวัจน์ วิภูษาวิทูลย์ นายอำเภอท่าช้าง จ.สิงห์บุรี เป็น นายอำเภอไชโย จ.อ่างทอง
          105. นายทิวา วัฒนะไพบูลย์สุข นายอำเภอประทับช้าง จ.พิจิตร เป็น นายอำเภอท่าช้าง จ.สิงห์บุรี
          106. นายพงษ์สิทธิ์ เนื่องจำนงค์ นายอำเภอบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี เป็น นายอำเภอศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี
          107. นายสมชาย ชำนิ นายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด เป็น นายอำเภอบ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี
          108. นายชัยวัฒน์ โอชนานนท์ นายอำเภอโซ่พิสัย จ.บึงกาฬ เป็นนายอำเภอคลองใหญ่ จ.ตราด
          109. นายสนั่น พงษ์อักษร นายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เป็น นายอำเภอเมืองปัตตานี จ.ปราจีนบุรี
          110. นายสมนึก พรหมเขียว นายอำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี เป็น นายอำเภอโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
          111. นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ นายอำเภอวิเศษชัยชาญ จงอ่างทอง เป็น นายอำเภอนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
          112. นายวิชัย ตั้งคำเจริญ นายอำเภอบึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ เป็น นายอำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง
          113. นายศิริชัย อัมพวา นายอำเภอลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นายอำเภออุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
          114. นายฤทธิสรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอพนา จ.อำนาจเจริญ เป็น นายอำเภอลาดบัวหลวง จ.รพะนครศรีอยุธยา
          115. ว่าที่ ร.ต.สมัย คำชมภู นายอำเภอดอกคำใต้ จ.พะเยา เป็น นายอำเภอเมืองพะเยา จ.พะเยา
          116. นายเชวงศักดิ์ ใจคำ นายอำเภอแม่ระมาด จ.ตาก เป็ นายอำเภอดอกคำใต้ จ.พะเยา
          117. นายสุนทร มหาวงศนันท์ นายอำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เป็น นายอำเภอแม่ระมาด จ.ตาก
          118. นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ นายอำเภอแม่ทา จ.ลำพูน เป็น นายอำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
          119. นายศิลป์ชัย รามณีย์ นายอำเภอตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เป็น นายอำเภอเมืองพัทลุง จ.พัทลุง
          120. นายทศพล จันทรประวัติ นายอำเภอท่าแพ จ.สตูล เป็น นายอำเภอตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
          121. นายนฤทธิ์ มงคลศรี นายอำเภอสิเกา จ.ตรัง เป็น นายอำเภอเขาชัยสน จ.พัทลุง
          122. นายสมเกียรติ ดวงมณี นายอำเภอห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์ เป็น นายอำเภอสิเกา จ.ตรัง
          123. นายฉลอง เทอดวีระพงศ์ นายอำเภอขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอปากพะยูน จ.พัทลุง
          124. นายนรินทร์ วรรณมหินทร์ นายอำเภอแม่เมาะ จ.ลำปาง เป็น นายอำเภอโพทะเล จ.พิจิตร
          125. นายไพบูลย์ โรจนะวิชานนท์ นายอำเภอโกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร เป็น นายอำเภอแม่เมาะ จ.ลำปาง
          126. นายวิรัตน์ ไชยสิทธิ์ นายอำเภอวังหิน จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอท่ายาง จ.เพชรบุรี
          127. นายบุญเติม เรณุมาศ นายอำเภอภูเรือ จ.เลย เป็น นายอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
          128. นายสุเมธ ธีรนิติ นายอำเภอวังทรายพูน จ.พิจิตร เป็น นายอำเภอวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
          129. นายเสรี หอมเกษร นายอำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์ เป็น นายอำเภอหล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
          130. นายมานิต อนรรฆมาศ นายอำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เป็น นายอำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์
          131. นายองอาจ สังคหัตถากร นายอำเภอตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เป็น นายอำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
          132. นายทรงฤทธิ์ แก้วสุทธิ นายอำเภอเชียงของ จ.เชียงราย เป็น นายอำเภอเมืองแพร่ จ.แพร่
          133. นายสุพจน์ ชนะกิจ นายอำเภอถลาง จ.ภูเก็ต เป็น นายอำเภอเมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต
          134. นายวีระ เกิดศิริมงคล นายอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอถลาง จ.ภูเก็ต
          135. นายกานต์ ศรีบุญลือ นายอำเภอนาดูน จ.มหาสารคราม เป็น นายอำเภอวาปีปทุม จ.มหาสารคราม
          136. นายสันธาน สร้อยสำโรง นายอำเภอดอนตาล จ.มุกดาหาร เป็น นายอำเภอเมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร
          137. นายเอกราช มณีกรรณ์ นายอำเภอหนองสูง จ.มุกดาหาร เป็น นายอำเภอคำชะอี จ.มุกดาหาร
          138. นายศราวุธ ไทยเจริญ นายอำเภอแม่อาย จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน
          139. นายปรีชา ชนะกิจกำจร นายอำเภอรามัน จ.ยะลา เป็น นายอำเภอเมืองยะลา จ.ยะลา
          140. พ.จ.ท.อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส นายอำเภอรามัน จ.ยะลา
          141. นายครรชิต ดีหนองยาง นายอำเภอบ้านแฮด จ.ขอนแก่น เป็น นายอำเภอพนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
          142. นางสุภาวดี ศรีสุขวัฒน์ นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอบ้านแฮด จ.ขอนแก่น
          143. นายเกรียงไกร กิริวรรณา ควนเนียง จ.สงขลา เป็น นายอำเภอศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
          144. นายณรงค์ สุขจันทร์ นายอำเภอจุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอควนเนียง จ.สงขลา
          145. นายทวีศักดิ์ อินทร์พรหม นายอำเภอเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอจุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
          146. นายบุญชัย สมใจ นายอำเภอหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอกระบุรี จ.ระนอง
          147. นายอินทรีย์ เกิดมณี นายอำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง เป็น นายอำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง
          148. นายสมชาย พลานุเคราะห์ นายอำเภอปลวกแดง จ.ระยอง เป็น นายอำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง
          149. นายนภดล จารุพงศ์ นายอำเภอหนองฉาง จ.อุทัยธานี เป็น นายอำเภอปลวกแดง จ.ระยอง
          150. นายธวัช พรหมอยู่ นายอำเภอพรเจริญ จ.บึงกาฬ เป็น นายอำเภอหนองฉาง จ.อุทัยธานี
          151. นายอลงกรณ์ แอคะรัตน นายอำเภอบ่อไร่ จ.ตราด เป็น นายอำเภอบ้านค่าย จ.ระยอง
          152. นายสมชาย สิงห์กุล นายอำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เป็น นายอำเภอบ่อไร่ จ.ตราด
          153. นายดาระใน ยี่ภู่ นายอำเภอคำม่วง จ.กาฬสินธุ์ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอนาคู จ.กาฬสินธุ์ เป็น นายอำเภอนิคมพัฒนา จ.ระยอง
          154. นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ นายอำเภอเขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็น นายอำเภอเมืองราชบุรี จ.ราชบุรี
          155. นายขจรศักดิ์ สมบูรณ์ นายอำเภอแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เป็น นายอำเภอเขาย้อย จ.เพชรบุรี
          156. นายธานี มาลีหอม นายอำเภอบ้านหมี่ จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอเมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
          157. นายเล็ก ศรีเรือง นายอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็น นายอำเภอบ้านหมี่ จ.ลพบุรี
          158. ศุภศิษฎ์ หล้ากอง นายอำเภอบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เป็น นายอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
          159. นายธนพงษ์ นิลยกานนท์ นายอำเภอบ้านโคก จ.อุตรดิตถ์ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอแม่พริก จ.ลำปาง เป็นนายอำเภอบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
          160. นายคันชล ผ่องใส นายอำเภอหนองม่วง จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอโคกสำโรง จ.ลพบุรี
          161. นายสมยศ มะลิลา นายอำเภอท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอหนองม่วง จ.ลพบุรี
          162. นายชรินทร์ ทองสุข นายอำเภอลำสนธิ จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอพัฒนานิคม จ.ลพบุรี
          163. นายประทีป การมิตรี นายอำเภอจอมพระ จ.สุรินทร์ เป็น นายอำเภอป่าชาง จ.ลำพูน
          164. นายทวี เสริมภักดีกุล นายอำเภอด่านซ้าย จ.เลย เป็น นายอำเภอเมืองเลย จ.เลย
          165. จัตุรศักดิ์ โกมลวิภาต นายอำเภอหนองกี่ จ.บุรีรัมย์ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอนาแห้ว จ.เลย เป็น นายอำเภอด่านซ้าย จ.เลย
          166. นายสมภพ ว่องวัฒนกิจ นายอำเภอราษีไศล จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ
          167. นายสมศักดิ์ นิสัยสม นายอำเภอห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
          168. นายสำรวย เกษกุล นายอำเภอศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ
          169. นายอภิชาต ธนะมัย นายอำเภอปรางค์ภู่ จ.ศรีสะเกษ เป็น นายอำเภอศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ
          170. นายศักระ กปิลกาญจน์ นายอำเภอสทิงพระ จ.สงขลา เป็น นายอำเภอเมืองสงขลา จ.สงขลา
          171. นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอควนกาหลง จ.สตูล รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอมะนัง จ.สตูล เป็น นายอำเภอสทิงพระ จ.สงขลา
          172. ที่ร.ต.ภูษิต ไชยทอง นายอำเภอปานาเระ จ.ปัตตานี เป็น นายอำเภอควนกาหลง จ.สตูล
          173. นายทวีวุฒิ สังข์ศิริ นายอำเภอจะนะ จ.สงขลา เป็น นายอำเภอสะเดา จ.สงขลา
          174. นายสุรินทร์ สุริยะวงศ์ นายอำเภอป่าบอน จ.พัทลุง เป็น นายอำเภอจะนะ จ.สงขลา
          175. นายสมโภช โชติชูช่วง นายอำเภอสามชุก จ.สุพรรณบุรี เป็น นายอำเภอเทพา จ.สงขลา
          176. นายพิริยะ ฉันทดิลก นายอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักการสอบสวนและนิติกร เป็นนายอำเภอสามชุก จ.สุพรรณบุรี
          177. นายอนันต์ กิตติรัตนวศิน นายอำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่ เป็นนายอำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก
          178. นายอดุลย์ ฮวกนิล นายอำเภอดอยเต่า จ.เชียงใหม่ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอกัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอสันทราย จ.เชียงใหม่
          179. ร.ต.อนวัช สัตตบุศย์ นายอำเภอทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอเวียงแหง จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอดอยเต่า จ.เชียงใหม่
          180. นายวิบูลย์ ปั้นศิริ นายอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี เป็น นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
          181. นายจำรัส กังน้อย นายอำเภอทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เป็น นายอำเภอท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
          182. นายรังสฤษดิ์ จิตดี นายอำเภอชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอพระปะแดง จ.สมุทรปราการ
          183. ศุภมิตร เลื่อนสุคันธ์ นายอำเภอวังจันทร์ จ.ระยอง เป็น นายอำเภอบางเสาธง จ.สมุทรปราการ
          184. นายจิรศักดิ์ ตะปะโจทย์ นายอำเภอเขาชะเมา จ.ระยอง เป็น นายอำเภอวังจันทร์ จ.ระยอง
          185. นายณัฏฐพงศ์ สุขวิสิฏฐ์ นายอำเภอลานสัก จ.อุทัยธานี รักษาการในตำแหน่ง รองอธิการวิทยาลัยปกครอง เป็น นายอำเภอเขาชะเมา จ.ระยอง
          186. นายโชติพัฒน์ สิชฌรังสี นายอำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จ.สมุทรสงคราม
          187. นายกำพล สิริรัตตนนท์ นายอำเภอนิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร เป็น นายอำเภอโชคชัย จ.นครราชสีมา
          188. นายชำนาญ ชื่นตา นายอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอค้อวัง จ.ยโสธร เป็น นายอำเภอนิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร
          189. นายจเร ขวัญเกิด นายอำเภอบางกล่ำ จ.สงขลา รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอกระแสสินธุ์ จ.สงขลา เป็น นายอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
          190. นายสุวรรณ ช่วยนุกุล นายอำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง เป็น นายอำเภอบางกล่ำ จ.สงขลา
          191. นายชัยศรี อรุณเจริญสุข นายอำเภอพระพรหม จ.นครศรีธรรมราช รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอหาดสำราญ จ.ตรัง เป็น นายอำเภอวังวิเศษ จ.ตรัง
          192. นายดรณ์ สมิตะเกษตริน นายอำเภอทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช เป็น นายอำเภอพระพรหม จ.นครศรีธรรมราช
          193. นายวงเทพ เขมวิรัตน์ นายอำเภอชุมพวง จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภออัมพวา จ.สมุทรสงคราม
          194. สุรศักดิ์ ผลยังส่ง นายอำเภอบ้านคา จ.ราชบุรี รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอวัดเพลง จ.ราชบุรี เป็นนายอำเภอบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร
          195. นายภัลลพ พิลา นายอำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี เป็น นายอำเภอเมืองสระบุรี จ.สระบุรี
          196. นายมนัสพนธ์ ธนาสุภาพันธ์ นายอำเภอท่าหลวง จ.ลพบุรี เป็น นายอำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี
          197. นายอนันต์ จรุงโรจน์รัศมี นายอำเภอทัพทัน จ.อุทัยธานี เป็น นายอำเภอท่าหลวง จ.ลพบุรี
          198. นายสุเทพ วงษ์พานิช นายอำเภอบรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ เป็น นายอำเภอทัพทัน จ.อุทัยธานี
          199. นายธนพัฒน์ บูรณศักดิ์ภิญโญ นายอำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอบรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
          200. นายสมยศ รักษกุลวิทยา นายอำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอพุทไธสง จ.บุรีรัมย์
          201. นายไชยยศ กองทอง นายอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี เป็น นายอำเภอพระพุทธบาท จ.สระบุรี
          202. นายบัญชา เชาวรินทร์ นายอำเภอหนองแซง จ.สระบุรี เป็น นายอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี
          203. นายสุพจน์ ต่ออาจหาญ นายอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอหนองแซง จ.สระบุรี
          204. นายนางสุภาพรรณ บุญถนอม นายอำเภอแม่วาง จ.เชียงใหม่ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอสบปราบ จ.ลำปาง เป็น นายอำเภอแม่ออน จ.เชียงใหม่
          205. นางสาวนิติยา พงษ์พานิช นายอำเภอน้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอเสริมงาม จ.ลำปาง เป็น นายอำเภอแม่วาง จ.เชียงใหม่
          206. นายวิทยา สโรบล นายอำเภอจักราช จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอหนองแค จ.สระบุรี
          207. นายสำราญ นันทนีย์ นายอำเภอแสวงหา จ.อ่างทอง รักษาการในตำแหน่ง รองอธิการวิทยาลัยการปกครอง เป็นนายอำเภอพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
          208. นายวิเชียร อนุสาสนนันท์ นายอำเภอศรีสำโรง จ.สุโขทัย เป็นนายอำเภอเมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย
          209. นายวัฒนา ยั่งยืน นายอำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี เป็นนายอำเภอเดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
          210. นายสุจินต์ วาจากิจ นายอำเภอผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็น นายอำเภอหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
          211. นายสมศักด์ เจริญไพฑูรย์ นายอำเภอบันนังสตา จ.ยะลา เป็น นายอำเภอผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
          212. นายสนั่น สนธิเมือง นายอำเภอยี่งอ จ.นราธิวาส รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอ กรงปินัง จ.ยะละ เป็น นายอำเภอบันนังสตา จ.ยะลา
          213. วิศิษฐ์ อนันต์วรปัญญา นายอำเภอหันคา จ.ชัยนาท เป็น นายอำเภอสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
          214. นายเอก โสภิษฐานนท์ นายอำเภอโคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร เป็น นายอำเภอคันหา จ.ชัยนาท
          215. นายธีรชัย ทศรฐ นายอำเภอด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เป็น นายอำเภออู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
          216. ว่าที่ ร.ต.ธรรมศิฑชัย สามกษัตริย์นายอำเภอพรหมพิราม จ.พิษณุโลก เป็น นายอำเภอด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
          217. สุริยัณห์ จิรสัตย์สุนทร นายอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี
          218. นายจิรศักดิ์ ชับฤทธิ์ นายอำเภอพระแสง จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
          219. ประเวศ ไทยประยูร นายอำเภอคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอพระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
          220. นายถาวร พรหมฉิน นายอำเภอพนม จ.สุราษฎร์ธานี เป็น นายอำเภอคีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี
          221. นายธีระพล ช่วยเรียง นายอำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี เป็น นายอำเภอบ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
          222. นายรณภพ เวียงสิมมา นายอำเภอระโนด จ.สงขลา รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนรักษาความสงบเรียบร้อย 3 เป็น นายอำเภอสวนผึ้ง จ.ราชบุรี
          223. นายณัฐกฤช สิทธิโอสถ นายอำเภอละหานทราย จ.บุรีรัมย์ เป็น นายอำเภอระโนด จ.สงขลา
          224. นายพัฒนธรณ์ กีรติรัฐวัฒน์ นายอำเภอบ้านดุง จ.อุดรธานี เป็น นายอำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
          225. นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแก้ว นายอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม เป็น นายอำเภอบ้านดุง จ.อุดรธานี
          226. นายนพดล วิริยะยุทธ นายอำเภอบ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอโพธิ์ตาก จ.หนองคาย เป็น นายอำเภอสังคม จ.หนองคาย
          227. นายกรณ์ เจนศุภวงศ์ นายอำเภอนาวัง จ.หนองบัวลำภู เป็น นายอำเภอหนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู
          228. บัญญัติ พงษ์ศรีกูร นายอำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอหัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ
          229. นายวิชยันต์ บูรณะกิจภิญโญ นายอำเภอบรบือ จ.มหาสารคาม เป็น นายอำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี
          230. นายชาญชัย บุญเสนอ นายอำเภอหนองคาย จ.หนองคาย เป็น นายอำเภอกุมภวาปี จ.อุดรธานี
          231. โสภณ ห่วงญาติ นายอำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา เป็น นายอำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย
          232. นายชาญชัย ศรศรีวิชัย นายอำเภอศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอบ้านแท่น จ.ชัยภูมิ เป็น นายอำเภอครบุรี จ.นครราชสีมา
          233. พงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ นายอำเภอท่าลี่ จ.เลย เป็น นายอำเภอเพ็ญ จ.อุดรธานี
          234. ณรงค์ จีนอ่ำ นายอำเภอภูกระดึง จ.เลย รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอนาด้วง จ.เลย เป็น นายอำเภอท่าลี่ จ.เลย
          235. นายสมภพ ร่วมญาติ นายอำเภอวังสามหมอ จ.อุดรธานี รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี เป็น นายอำเภอโนนสะอาด จ.อุดรธานี
          236. นายสันติ สังขธูป นายอำเภอบ้านตาขุน จ.สุราษฎรานี รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง เป็น นายอำเภอห้วยคต จ.อุทัยธานี
          237. นายอรรณพ อุ่นอก นายอำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
          238. นายนรินทร์ บำเรอพงษ์ นายอำเภอจะหลวย จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอสิรินธร จ.อุบลราชธานี
          239. เมธัสสิทธิ์ ฉัตรคุปต์ชนรดี นายอำเภอน้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอจะหลวย จ.อุบลราชธานี
          240. นายสมชัย คล้านทับทิม นายอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอเดชอุมดม จ.อุบลราชธานี
          241. อนิรุทธ์ ด่านศิระวาณิชย์ นายอำเภอบุณฑริก จ.อุบลราชธานี รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี เป็น นายอำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี
          242. นายเธียรชัย พุทธรังษี นายอำเภอเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เป็น นายอำเภอพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
          243. นายกฤษณ์ เติมธนะศักดิ์นายอำเภอจตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด รักษาการในตำแหน่ง นายอำเภอเมยวดี จ.ร้อยเอ็ด เป็น นายอำเภอเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
          244. นายสานิตย์ เกริกสกุล นายอำเภอหนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ เป็น นายอำเภอจตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด
          245. นายณรงค์ นครจินดา นายอำเภอเมืองนครนายก จ.นครนายก เป็น นายอำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานี
          246. นายคมสัน เจริญอาจ นายอำเภอธัญบุรี จ.ปทุมธานี เป็น นายอำเภอเมืองนครนายก จ.นครนายก
          247. นายสราวุฒิ วรพงษ์ นายอำเภอดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่
          248. นายชาตรี กิตติธนดิตถ์ นายอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่ เป็น นายอำเภอดอยหล่อ จ.เชียงใหม่
          249. นายวิสา ยัญญลักษณ์ นายอำเภอเชียงคาน จ.เลย เป็น นายอำเภอวังสะพุง จ.เลย
          250. นายบรรพต ยาย่อง นายอำเภอวังสะพุง จ.เลย เป็น นายอำเภอเชียงคาน จ.เลย
          251. นายธวัชชัย เกตุพันธุ์ นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เป็น นายอำเภอคลองขลุง จ.กำแพงเพชร
          252. นายเทวัญ หุตะเสวี นายอำเภอคลองขลุง จ.กำแพงเพชร เป็น นายอำเภอเมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รอยปริ 'ชาตินิยมจ๋า ปะทะ เทคโนแครต'เมื่อ สปช. โหวตล้ม 'สัมปทานปิโตรเลียม'

$
0
0

ปีกชาตินิยมจ๋าใน สปช. นำโดยกลุ่ม 40 ส.ว. โหวตล้มเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี พลัสตามที่เทคโนแครตสายพลังงานเสนอ แต่ท้ายสุด ‘ประยุทธ์’ ไฟเขียว ก.พลังงาน เดินหน้าเปิดสัมปทาน

“ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส” (Thailand (III) Plus) คืออะไร (คลิ๊กอ่านเบื้องต้น)และอ่านพิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21  ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. (คลิ๊กอ่าน)

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในประเด็นพลังงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คือการโหวตล้มมติการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21  ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ เป็นผู้เสนอ

โดยเมื่อวันที่ 13 ม.ค. มีรายงานว่า ที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ครั้งที่ 4/2557 ได้พิจารณาศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21  ตามที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากเป็นผู้เสนอ  โดยได้ดำเนินการประชุม และอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่เวลา 10.00 น. กระทั่งเวลา 19.32 น. ได้มีการลงคะแนน โดยมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. คนที่ 2 เป็นประธานการประชุม

ขณะที่นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน แถลงผลการศึกษาว่า ผลการพิจารณาสรุปเป็น 3 แนวทาง คือ 1.ให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทาน ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) ตามแผนงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2.ยกเลิกการใช้ระบบสัมปทาน ในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 และนำระบบแบ่งปันผลผลิต และ 3.ให้ดำเนินการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบสัมปทานระบบไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) และให้กระทรวงพลังงาน ดำเนินการศึกษาและเตรียมการให้มีระบบแบ่งปันผลผลิตที่ เหมาะสมกับศักยภาพของการผลิตปิโตรเลียมให้พร้อมไว้เพื่อเป็นทางเลือก แล้ให้รัฐบาลตัดสินใจในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในครั้งต่อๆ ไป ซึ่งได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นหลัก จึงมีมติเสนอทางเลือกที่ 3 ต่อที่ประชุม สปช.เพื่อพิจารณาเสนอ ครม.ต่อไป

ท้ายสุดที่ประชุมในวันนั้นได้มีการลงมติ โดยสมาชิก สปช. ส่วนใหญ่ มีมติไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก  ที่จะให้มีการเดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21  ด้วยคะแนน 130 ต่อ 79 คะแนน งดออกเสียง 21 เสียง

 

22 ต่อ 3 เสียงในชั้นกรรมาธิการ

นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยต่อสื่อมวลชนต่อกรณีนี้ว่า

"กรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน 25 คน มีจำนวน 22 คน ที่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และ 3 คนซึ่งเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยขอสงวนความคิดเห็น โดยในการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมใหญ่ของ สปช. ผู้อภิปรายส่วนใหญ่ก็มีแนวคิดที่สนับสนุนการเปิดสัมปทานครั้งนี้ แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิก สปช. ไม่เห็นด้วย ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะตัดสินใจว่าจะยึดเอาเหตุและผลตามรายงานที่มีการศึกษาของกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ หรือจะทำตาม มติของ สปช.เสียงส่วนใหญ่ โดยเรื่องนี้หากรัฐบาลมีการชะลอการเปิดสัมปทานออกไปก็จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพราะได้มีการประกาศให้นักลงทุนได้ทราบเป็นทางการแล้วว่ารัฐบาลจะดำเนินการเรื่องนี้"

นายคุรุจิต กล่าวว่า กรรมาธิการปฏิรูปพลังงานไม่ได้มีแนวคิดที่จะเป็นล็อบบี้หรือขอเสียงจากสมาชิก สปช.คนอื่นๆ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ขอความเห็นจาก สปช. จึงน่าจะเป็นเรื่องที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานทำความเห็นส่งให้รัฐบาล เพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น แต่เมื่อกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างน้อย ซึ่งเคยทำงานด้านการเมืองและมีความคุ้นเคยกับสมาชิก สปช.คนอื่นๆ สามารถที่จะรวมเสียงได้ ผลจึงออกมาว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากแพ้มติ

"กรณีนี้เชื่อว่าน่าจะทำให้การปฏิรูปพลังงานในเรื่องที่มีความสำคัญเรื่องอื่นๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานของประเทศมีปัญหาตามมาด้วย เพราะสิ่งที่คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมาก นำเสนอขึ้นไป ก็อาจจะถูกเสียงส่วนใหญ่ ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของพลังงานโดยตรง ตีตกไปในลักษณะเดียวกันนี้อีก"

โดยนายคุริจิตระบุว่ากรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียมรอบที่ 21 คือนายอลงกรณ์ พลบุตร,นายชาญณรงค์ เยาวเลิศ และนางสาวรสนา โตสิตระกูล [ดู: วิวาทะ 'สัมปทานปิโตรเลียมรอบ21', กรุงเทพธุรกิจ, 15 มกราคม 2558]

 

130 ต่อ 79 ในที่ประชุม สปช.

รสนา โตสิตระกูล คีย์แมนสำคัญในการล๊อบบี้ 130 เสียงให้โค่นมติของ กมธ.ปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมาก ในที่ประชุม สปช. ได้ ระบุกับสื่อมวลชนภายหลังว่าหากกระทรวงพลังงานยืนยันจะเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ต่อไปโดยไม่ฟังเสียงข้างมากของ สปช. ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทานฯ แต่กลับไปยึดเสียงข้างมากของคณะกรรมาธิการพลังงาน (กมธ.) ที่เห็นชอบ ก็เท่ากับกระทรวงพลังงานอาศัย กมธ. เป็นการรับรองความชอบธรรมของตัวเองในการเปิดสัมปทานฯเท่านั้น

"ขอท้าให้กระทรวงพลังงานเอาเสียงข้างมากของ กมธ.ไปทำประชามติของประชาชน โดยถ้าคิดว่า สปช.ยังเป็นความเห็นที่ไม่เพียงพอ ก็จัดทำประชามติทุกภาคทั่วประเทศ จะได้เห็นกันว่าประชาชนมีความคิดเห็นอย่างไร"

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ สปช.จะนำมติของ สปช.ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทาน 130 เสียงต่อ 79 เสียง เพื่อเสนอต่อรัฐบาลต่อไป

“ปกติการสำรวจสัมปทานปิโตรเลียมใช้เวลาถึง 9 ปี ดังนั้นไม่เห็นความจำเป็นที่กระทรวงพลังงานจะต้องรีบเร่งเปิดสัมปทาน โดยไม่รอรัฐธรรมนูญ หรือ รอการปฏิรูปพลังงานให้เสร็จก่อน ซึ่งความจริงระหว่างที่รอแก้ไขกฎหมาย ทางกระทรวงพลังงานสามารถทำหน้าที่เป็นผู้สำรวจแปลงสัมปทานปิโตรเลียมให้ชัดเจน หรือควรศึกษาถึงการนำระบบแบ่งปันผลผลิตก่อน จึงค่อยมาคิดเรื่องเปิดสัมปทาน จึงจะเหมาะสมกว่า” [ดู: วิวาทะ 'สัมปทานปิโตรเลียมรอบ21', กรุงเทพธุรกิจ, 15 มกราคม 2558]

ท่าทีที่แข็งกร้าวและเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจนี้ เกิดจากการเกาะกลุ่มกันที่เหนียวแน่นและการแผ่ขยายอิทธิทางความคิดของกลุ่มการเมือง “40 ส.ว.” ที่มีเธอและคำนูณ สิทธิสมานเป็นแกนนำต่อ สปช. ส่วนใหญ่ได้ รวมทั้งการได้เสียง สปช. คนสำคัญหลายคน อาทิ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป, นายชัย ชิดชอบ, นายมีชัย วีระไวทยะ ฯลฯ ให้ยืนข้างมากได้ถึง 130 ขณะที่ฝ่าย สปช. เทคโนแครตด้านพลังงานได้เพียง 79 เท่านั้น

 

เดินหน้าตามแนวทางเทคโนแครต

แต่หลังการออกมาระบุภายหลังของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ได้กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติเมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา อาจทำให้ สปช. สายชาตินิยมจ๋าต้องสะอึกเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่าในเรื่องของทางปฏิบัติเป็นเรื่องของ ครม. ของกระทรวงพลังงานที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องของการดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง เพียงพอและไม่ให้ประสบปัญหาในเรื่องของวิกฤตด้านพลังงานในอนาคต สอดคล้องกับการออกมาระบุแก่สื่อมวลชนก่อนหน้านั้นว่าการเตรียมพลังงานสำรองถือเป็นเรื่องดี เพราะหากไม่สามารถใช้พลังงาน ทั้งไฟฟ้าและก๊าซ ที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านได้ ก็ยังมีพลังงานในประเทศสำรองไว้ใช้ การได้มาของพลังงานสำรองจากการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ก็จะสอดคล้องกับสัมปทานที่รัฐบาลเคยดำเนินการมาในอดีต ที่ขณะนี้ก็ทยอยที่จะหมดสัมปทานแล้ว

“การที่มีกลุ่มคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดยเกรงว่าจะทำให้ประเทศเสียประโยชน์จากการเปิดสัมปทาน ก็อยากจะชี้แจงว่า การเปิดสัมปทานในแต่ละจุด ไม่มีใครรู้ว่าจุดไหนจะมีน้ำมันมากหรือน้อย คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เพราะต้องเข้าไปสำรวจก่อน และหากขัดขวางจนสุดท้ายประเทศไม่มีพลังงานไว้ใช้ในอีก 6 ปี ข้างหน้า ก็ขอให้ผู้ที่คัดค้านออกมารับผิดชอบ โดยให้มาเซ็นสัญญาเพื่อเป็นหลักฐานและเมื่อใดที่มีปัญหาด้านพลังงาน จะได้ให้คนกลุ่มนี้รับผิดชอบ”

และ พล.อ.ประยุทธ์ ยังระบุว่าจะไม่ยอมให้มีการเคลื่อนไหวไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงานและการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ไม่ว่าจะเป็นการจัดเวทีแสดงความคิดเห็นปลุกระดม หรือเดินขบวน เพราะไม่ต้องการให้เกิดความขัดแย้ง รัฐบาลยืนยันว่าจะทำทุกอย่างโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และยึดหลักดำเนินการด้วยความโปร่งใส และพร้อมที่จะรับฟังและนำความเห็นของผู้ที่ไม่เห็นด้วยมาพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นของ สปช. หรือกลุ่มใดก็ตาม [ดู: “ประยุทธ์” ให้พลังงานชี้ขาดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21, โลกวันนี้, 16 มกราคม 2558]

ซึ่งความหมายของพล.อ.ประยุทธ์ ก็น่าจะเป็นการใช้แนวทางของกระทรวงพลังงาน ตามที่ สปช.สายเทคโนแครตด้านพลังงานชงไว้ให้แล้ว แม้จะไม่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช. ชุดใหญ่ก็ตาม

สำหรับประเด็นพลังงาน ไม่ว่าจะรัฐบาลไหน (เป็นหรือไม่เป็นประชาธิปไตย) ก็มักจะใช้แนวทางจากเทคโนแครตในอุตสาหกรรมพลังงานที่มีความผูกพันกับกระทรวงพลังงานและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ปตท. กฟผ. หรือจากบรรษัทพลังงานต่างๆ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมานี้เทคโนแครตในอุตสาหกรรมพลังงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็น่าจะหนีไม่พ้นปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานบอร์ด ปตท. คนปัจจุบัน

ส่วนคีย์แมนคนสำคัญของคณะกรรมธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. ก็เป็นฝ่ายเทคโนแครตในอุตสาหกรรมพลังงานและส่วนใหญ่ก็เป็นลูกหม้อของ ปตท. กฟผ. และกระทรวงพลังงาน ด้วยเช่นกัน อาทินายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ คณะกรรมธิการปฏิรูปพลังงาน เขาเคยเป็นอดีตผู้ว่าการ ปตท. คนแรก ประธานกรรมการ / กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น ประธานกรรมการ บมจ. ลินเด้ (ประเทศไทย), นายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน บอร์ด ของบริษัท ปตท. และเพิ่งรับการแต่งตั้ง จาก ครม. เป็นประธานบอร์ดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม ที่ผ่านมา, นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตกรรมการ ปตท., กรรมการไทยออยล์, สมาชิกกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน, นายมนู เลียวไพโรจน์ ขึ้นเวที กปปส. / อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, ประธานกรรมการ บริษัท เออาร์ไอพี จำกัด (มหาชน), นายมนูญ ศิริวรรณ ประธานคณะกรรมการบริษัทการจัดการธุรกิจจำกัด นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน, อดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ปี 56 กรรมการ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด ปี 55 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล. ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ. กรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น

สำหรับฝ่ายชาตินิยมจ๋าแม้จะชนะในโหวตในสภา แต่ท้ายสุดก็อาจจะเป็นผู้พ่ายแพ้ และนี่เป็นบทเรียนอีกครั้งว่าพวกเขา (ฝ่ายชาตินิยมจ๋า) ไม่ได้สู้แค่นักการเมืองเท่านั้น หากจะเปลี่ยนประเทศไทยไปตามที่พวกเขาฝัน เหล่าเทคโนแครตอันเป็นมันสมองระบบราชการไทย ก็ยังเป็นพลังเอกเทศ ที่แม้บางครั้งดูเหมือนจะเข้าได้กับฝ่ายชาตินิยม แต่ส่วนใหญ่แล้วเทคโนแครตเหล่านี้ก็ต้องเดินไปตามระบบทุนนิยมเสรีเป็นหลัก.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะลดวาระองค์กรอิสระเหลือ 6 ปี เป็นได้วาระเดียว ตั้ง กก.คัดสรรมากกว่า 7 อรหันต์

$
0
0
ผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดเสวนาแนะองค์กรตรวจสอบในรัฐธรรมนูญใหม่ ควรมีวาระดำรงตำแหน่งเท่ากัน 6 ปีทุกองค์กร ไม่เห็นด้วยให้ 7 อรหันต์-นักการเมืองร่วมสรรหา

 
18 ม.ค. 2558 สำนักข่าวไทยรายงานว่าที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ โคฟ เกาะช้าง จ.ตราด ว่าสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดเสวนาเรื่อง “ตอบโจทย์: องค์กรตรวจสอบบนเส้นทางรัฐธรรมนูญฉบับใหม่  มี นายพิเชต สุนทรพิพิธ  อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินและอดีตสมาชิกวุฒิสภา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  นายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ร่วมเสวนา  โดยนายพิเชต   เห็นว่า  องค์กรตรวจสอบ คือป.ป.ช. คตง. กรรมการสิทธิมนุษยชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ต้องอยู่ต่อไป แต่ก็ต้องแก้ไข เรื่องการสรรหา โดยขยายฐานคณะกรรมการสรรหาให้หลากหลายและให้มีจำนวนมากกว่า 7 คน เพื่อกลั่นกรองให้ได้บุคคลที่เหมาะสมมีคุณภาพ    
 
ลดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการองค์กรอิสระให้เหลือ 6 ปีทุกองค์กรและเป็นได้วาระเดียว   แก้ไขกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้การทำงานซ้ำซ้อนกัน และที่สำคัญ ควรมีการกำหนดนิยามคำว่า “อิสระ” ให้ชัดเจน ว่าหมายถึงอะไร เพราะบางคนมองว่า หมายถึงทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ แต่ส่วนตัวเห็นว่าควรให้หมายถึงการทำงานที่ปลอดจากการถูกอิทธิพลทางการเมืองครอบงำ
 
ส่วนในภารกิจของผู้ตรวจการแผ่นดินนายพิเชต เห็นว่า ควรเพิ่มอำนาจให้ผู้ตรวจฯเป็นยักษ์ที่มีกระบองเล็ก เช่น หากผู้ตรวจมีคำวินิจฉัยให้หน่วยงานนั้นต้องปรับปรุงแก้ไขแล้วภายใน 90 วันหน่วยงานดังกล่าวไม่ดำเนินการเพราะเพิกเฉยให้ถือเป็นความผิดทางวินัย  รวมทั้งควรให้ผู้ตรวจการแผ่นดินทำหรือมีส่วนในเรื่องการตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองต่อไป  เพราะเรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมีหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานเดียวทำ ซึ่งไม่เชื่อว่าสมัชชาคุณธรรมจริยธรรมที่จะตั้งขึ้นเพียงหน่วยงานเดียวจะทำได้
 
ขณะที่ นายศรีราชา กล่าวว่าการสรรหากรรมการองค์กรอิสระโดย 7 อรหันต์ไม่เหมาะสม  แต่จะเอาองค์กรอื่นเข้ามาจะต้องคิดให้แตกว่า จะก่อให้เกิดความดีงาม เป็นธรรมในการเลือกคนที่ดีไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองได้จริงหรือไม่ และไม่อยากให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสรรหาเลย เพราะทำให้เกิดการวิ่งเต้นแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เพื่อให้ได้รับการคัดเลือก และเห็นควรกำหนดคุณสมบัติผู้ที่จะมาเป็นกรรมการฯให้ชัดเจนว่าต้องไม่มีประวัติด่างพร้อย เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องสามารถให้คนคัดค้านได้
 
นายศรีราชา ยังกล่าวด้วยว่าในการยกร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้นอกจากทางผู้ตรวจฯจะเสนอขอให้มีอำนาจร้องต่อศาลให้คุ้มครองชั่วคราวเป็นเวลา 30 วันในระหว่างที่ผู้ตรวจพิจารณาคำร้องขอความช่วยเหลือจากประชาชน แล้ว ยังเสนอว่า  อยากให้ผู้ตรวจมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนประชาชนได้  การตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐทุกระดับรวมทั้งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ  ที่สำคัญอยากให้กำหนดให้การกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างแรงกลายเป็นคุณลักษณะต้องห้ามในการเข้าสู่การตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาดเพื่อ เพิ่มมาตรฐานกับสถาบันการเมือง
 
ด้านนายสุรชัย ก็เห็นด้วยที่จะกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการองค์กรอิสระเพียง 6 ปี และเป็นได้วาระเดียวเพื่อให้การทำหน้าที่ไปอย่างอิสระ รวมทั้งไม่ควรให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการสรรหา ขณะเดียวกันเห็นว่าเพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้องค์กรอิสระใช้อำนาจตามอำเภอใจก่อความเสียหายให้กับประเทศ และเป็นการป้องกันการเอื้อประโยชน์กันระหว่างนักการเมืองกับกรรมการองค์กรอิสระ เห็นควรให้ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าชื่อถอดถอนกรรมการองค์กรอิสระได้ และเสนอแก้ไขกฎหมายองค์กรอิสระได้
 
“เมื่อสร้างองค์กรอิสระมาตรวจสอบฝ่ายการเมือง  ถ้าคนที่จะตรวจสอบเป็นส่วนหนึ่งของฝ่ายตรวจสอบ ก็จะกลายเป็นเหมือน ลิเกโรงใหญ่ ที่มาเล่นหลอกเขา มันก็จะไม่พัฒนาไปเป็นการถ่วงดุลและแบ่งแยกอำนาจอย่างสุจริต อย่างไรก็ตามเห็นว่าองค์กรตรวจสอบจะเข้มแข็งได้ ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ 1ต้องมีความเป็นอิสระแท้จริง 2. บทบาทอำนาจหน้าที่ต้องสามารถดูแลผลประโยชน์ประชาชนอย่างแท้จริงได้ 3.ต้องติดดาบให้ลงโทษผู้ทำผิดได้4 .ผลงานองค์กรต้องเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เอียงไปมา หลายมาตรฐาน  ใน 3ปัจจัย สามารถแก้ไขได้โดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่ในข้อสุดท้ายขึ้นอยู่กับบุคคลกรขององค์กรนั้นๆที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้น”นายสุรชัย กล่าว
 
ส่วนในเรื่องการตรวจสอบจริยธรรมนักการเมืองนั้น นายสุรชัย เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่ต่อไปไม่เพียงจะกำหนดเฉพาะเรื่องจริยธรรมเท่านั้น แต่จะมีการรวมเรื่องคุณธรรมนักการเมือง เข้าไปไว้ด้วย ซึ่งยังเชื่อว่าผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นองค์กรที่เหมาะสมจะทำในเรื่องการตรวจสอบเรื่องนี้ต่อไป และเห็นด้วยกับที่นายศรีราชาเสนอว่าควรกำหนดให้การกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมอย่างแรงกลายเป็นคุณลักษณะต้องห้ามในการเข้าสู่การตำแหน่งทางการ เมืองตลอดไปเพื่อที่ได้เป็นยกระดับนักการเมืองด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อเมริกา: ความเป็นส่วนตัวภายใต้เสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่เสื่อมโทรม

$
0
0

 

ภายหลังประธานาธิบดี โอบาม่า ของสหรัฐอเมริกา ออกมายืนยันการสังหารนาย “โอซาม่า บินลาเดน” (Osama Bin Laden) เมื่อ 2 พฤษภาคม ปี 2011 ซึ่งคือผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ที่หน่วยงานความมั่นคงของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์วินาศกรรมก่อการร้าย 11 กันยายน 2001 เมื่อ 13 ปีก่อน โดยการสังหารครั้งนี้สร้างความฮือฮาปนความสะใจให้แก่คนอเมริกันจำนวนมากที่ต้องการตัวผู้สังหารเพื่อนร่วมชาติของพวกเขามารับโทษต่อความผิดที่ได้กระทำ ถึงกระนั้นเวลาแห่งความสุขก็มักจะสั้นเสมอ กระแสความหวาดกลัวและความกังวลของคนอเมริกันต่อการล้างแค้นของผู้ก่อการร้ายที่มุ่งเป้าหมายมาที่ดินแดนอเมริกาอันกว้างใหญ่ได้เริ่มคุกรุ่นขึ้นมาอีกครั้ง ตั้งแต่บินลาเดนถูกลอบสังหารในเดือนพฤษภาคม 2011 ชื่อของอัลกออิดะกลุ่มบินลาเดนยังคงปรากฏให้เห็นเป็นประจำในข่าวทั่วโลก เมื่อเร็ว ๆ นี้อัลกออิดะห์ได้รับการเชื่อมต่อกับเหตุการณ์ระเบิดโจมตีในอิรักและความขัดแย้งในประเทศมาลี, การปะทะกันในเยเมน  การโจมตีและการลักพาตัวในอัฟกานิสถาน[2]

13 ปี นับตั้งแต่เกิดเหตุวินาศกรรม 9/11 ตามรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ระบุรายชื่อ “กลุ่มก่อการร้ายต่างชาติ” มีมากมายถึง 59 กลุ่ม โดยกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ ได้ออกมาพูดจาข่มขู่และดำเนินการก่อเหตุร้าย ขณะที่ รัฐบาลกรุงวอชิงตัน และชาติพันธมิตรในตะวันตกได้ปฏิบัติการตอบโต้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้าย มาอย่างต่อเนื่อง[3]

โลกตะวันตกและชาติพันธมิตรกับสหรัฐ ฯ ถึงขึ้นต้องออกมาแสดงตัวโดยเปิดเผยหรือผ่านองค์กรระหว่างประเทศว่าจะเตรียมรับมือกับภัยการก่อการร้ายครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นและคาดว่าจะถึงขั้นรุนแรงกว่าในอดีตที่ผ่านมา  กระแสความกังวลดังกล่าวนี้คนอเมริกันจำนวนมากได้ออกมาทวงถามถึงมาตรการที่จะใช้รับมือกับภัยอันตรายที่ไม่คาดฝันนี้ต่อรัฐบาลของตน ว่าจะประกันความปลอดภัยในชีวิตของพวกเข้าได้อย่างไร?

จนในที่สุดเกิดปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายอย่าง ISIS เมื่อช่วงต้นปี 2014 ซึ่งผลสำรวจของ Pew research (2014) พบว่าคนอเมริกันจัดอันดับกลุ่มก่อการร้าย ISIS เป็นภัยคุกคามใหญ่อันดับที่สองต่อความมั่นคงของสหรัฐ ฯ รองจากกลุ่มอัลกออิดะห์ และการสำรวจความคิดเห็นของ NBC / Wall Street Journal แสดงให้เห็นว่า 94 % ของชาวอเมริกันได้ยินข่าวเกี่ยวกับนักข่าวสองคนที่ถูกฆ่าตัดคอโดยกลุ่ม ISIS ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่รับรู้สูงสุดและสังคมอเมริกันให้ความสนใจ[4]

ความเหี้ยมโหดของกลุ่ม ISIS ได้ทำให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกาออกมาแถลงแผนยุทธศาสตร์ในการจัดการกลุ่ม ISIS ต่อชาวอเมริกันเมื่อคืนวันพุธที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา (2014) ด้วยการขยายปฏิบัติการโจมตีทางอากาศถล่ม ISIS ตามแนวชายแดนของซีเรีย ซึ่งถือเป็น “รังใหญ่” ของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มนี้ โดยประธานาธิบดีโอบามา ยังประกาศกร้าวว่า จากนี้ไป จะไม่มีสวรรค์ที่พักพิงของกลุ่ม ISIS ในซีเรีย หรือไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ในโลก[5]

กระแสดังกล่าวนี้ทำให้สังคมอเมริกันรวมถึงชาติพันธมิตรหวนคิดถึงมาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายลับขั้นสุดยอดของรัฐบาลสหรัฐ ฯ ที่ถูกนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) เปิดโปงว่าเป็นวิธีที่คนอย่างสโนว์เดนกล่าวหาว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพขึ้นพื้นฐานอย่างรุนแรงผ่านวิธีการที่รัฐบาลใช้ คือ การวิธีติดตาม สอดแนมชีวิตประจำวันการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเทศ ซึ่งมีข้ออ้างว่าเพื่อต่อต้าน สืบหาและขัดขวางขบวนการการก่อการร้ายใต้ร่มความมั่นคงของชาติ โดยยุทธศาสตร์นี้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เป็นต้นมา

บทความชิ้นนี้ผู้เขียนต้องการศึกษาและอธิบายสังคมอเมริกาในปัจจุบันซึ่งตกอยู่ในสภาวะความกลัวจากภัยการก่อการร้ายครั้งใหม่หลังผ่านเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2001 มา 13 ปี ว่าปัจจุบันความคิดเห็นของคนอเมริกันที่มีต่อมาตรการเผ้าระวังภัยการก่อการร้ายของรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้น มีแนวโน้มไปในทิศทางใด ? สนับสนุนหรือต่อต้าน เนื่องจากมาตรการนี้ให้อำนาจแก่หน่วยงานย่อยภายใต้หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ เคยถูกกล่าวหาว่าใช้วิธีการที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนขั้นรุนแรง แต่ก็ยังมีคนอเมริกันบางส่วนให้การสนับสนุนมาตรการดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งบทสรุปของการวิเคราะห์ทั้งหมดมีผลกระทบต่อความเชื่อเรื่องเสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของสังคมอเมริกันหรือไม่? อย่างไร?  การศึกษาครั้งนี้จะใช้ข้อมูลจากผลสำรวจความเห็นของคนอเมริกันต่อมาตรการเผ้าระวังภัยการก่อการร้ายของ สำนัก Poll ชื่อดังอย่าง Pew research Center ประกอบการวิเคราะห์เป็นหลัก ซึ่งแบ่งประเด็นในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ได้ดังนี้

 

มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายกับข้อกล่าวหาว่าบุกรุกเสรีภาพความเป็นส่วนตัว

เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) ผู้ซึ่งออกมาเปิดโปงโครงการสอดแนมลับขั้นสุดยอดของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ ฯ (NSA) ภายใต้รหัสโครงการว่า “ปริซึม” (prism) ที่ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2007 สมัยรัฐบาล จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (George W. Bush) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบหาข้อมูลการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อการร้าย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์โจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (World Trade Center) ของสหรัฐ ฯ เมื่อเช้าวันที่ 11 กันยายน 2001 ซึ่งเป็นโศกนาฏกรรมทำให้โลกตกตะลึงในการโจมตีประเทศมหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากถึงเกือบ 3,000 คน

จากการเปิดโปงของสโนว์เดน โครงการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่คอยสอดส่อง ดักฟัง บันทึก เก็บรวบรวมข้อมูลการสื่อสารทางโทรศัพท์ และกิจกรรมออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ตของพลเมืองอเมริกันรวมถึงผู้ใช้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตนอกประเทศอย่างกว้างขวางเพื่อนำมาตรวจสอบและเก็บรักษาไว้คล้ายกับคลังข้อมูลติจิตอล (digital data) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

โครงการลับสุดยอดนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อปูทางให้สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Agency (NSA) พร้อมด้วยหน่วยสืบราชการลับ (CIA) และสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) สามารถจารกรรมข้อมูลส่วนตัวของอเมริกันชนและผู้ที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศนี้ ด้วยการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีของสหรัฐฯ 9 แห่ง ได้แก่ ไมโครซอฟท์, กูเกิล, เฟซบุ๊ก, ยาฮู, แอปเปิล, เอโอเแอล, พาลทอล์ค, สไกป์, และยูทูบ ซึ่งยินยอมพร้อมใจเปิดช่องทางพิเศษนี้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปค้นหาข้อมูลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ ภาพถ่าย คลิปเสียง หรือคลิปภาพเคลื่อนไหว[6] ซึ่งการกระทำดังกล่าวอยู่ภายใต้รัฐบัญญัติการสอดส่องดูแลข่าวกรองต่างประเทศ (FISA)

หนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษ รายงานว่า ภายใต้โครงการปริซึม รัฐบาลจะสามารถเข้าไปดึงข้อมูลจาก server ของบริษัทสื่อสารทั้ง 9 รายได้โดยตรงและไม่ต้องขอหมายศาลเพื่อทำการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีการรายงานข้อมูลเหล่านี้ในแต่ละเดือน อย่างในปีที่แล้วมีรายงานออกมาทั้งหมด 24,005 ฉบับ และที่ผ่านมามีการใช้ข้อมูลจากโครงการปริซึมเพื่ออ้างอิงในรายงานราชการลับกว่า 77,000 ฉบับ[7]จนนำมาสู่การทวงถามจรรยาบรรณของบริษัทถึงมาตรการคุ้มครองและปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่ทั้ง 9 บริษัท ที่ต่างกังวลว่าข้อมูลส่วนตัวของตนอาจจะรั่วไหลไปสู่พื้นที่สาธารณะได้

จากรายงานพบว่า ตั้งแต่ปี 2010 หน่วยงานที่ความมั่นคงแห่งชาติหรือ (NSA) ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการสนทนาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Email) กว่า 2 พันล้านข้อความ รวมถึงการดักฟังโทรศัพท์และการสื่อสารของคนอเมริกันอย่างใกล้ชิดเกือบทุกวัน  และอดีตที่ผ่านมาโปรแกรมการสอดแนมดังกล่าวยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องในสังคมอเมริกา ซึ่งข้อมูลการสื่อสารเหล่านั้น ล้วนเป็นความกังวลของรัฐบาลต่อพลเมืองของตน ว่าอาจเป็นผู้ต้องสงสัยในการกระทำผิดโดยยึดโยงกับเครือข่ายก่อการร้าย และมาตรการขัดขวางการก่อการร้ายดังกล่าวในประเทศอเมริกาปัจจุบันนี้ อนุญาตให้ หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) ทำหน้าที่นี้ต่อไป อย่างน้อยเพื่อโดยจุดมุ่งหมายในการปกป้องประเทศสหรัฐอเมริกาจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในอนาคต[8]

อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่ามาตรการการดักฟังและสอดแนมอย่างเข้มข้นของรัฐบาลสหรัฐ ฯ นี้มีขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์การก่อการร้าย 9/11 เป็นต้นมา ซึ่งหลังเกิดเหตุการณ์ไม่ถึง 6 สัปดาห์ สภาคองเกรสได้ออกรัฐบัญญัติสร้างความเป็นปึกแผ่นและความแข็งแกร่งให้สหรัฐ ฯ โดยให้ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการสอดส่องและขัดขวางการก่อการร้าย หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “รัฐบัญญัติแพทรีออท” (Patriot Act)[9]โดย“รัฐบัญญัติแพทรีออท” (Patriot Act) หรือ “รัฐบัญญัติรักชาติ” ได้รับการเซ็นอนุมัติโดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช (George W. Bush) เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2001 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจใหม่เพื่อบังคับใช้ในประเทศและให้อำนาจแก่หน่วยข่าวกรองต่างประเทศในการสืบหาการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายผ่านการสอดแนมการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ของคนอเมริกัน

 ในขั้นตอนการยื่นเสนอร่างกฎหมายนี้ได้มีสมาชิกวุฒิสภา 2 ท่านคือ Patrick Leahy ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการตุลาการ และ Tom Daschle ประธานสภาเสียงข้างมากพยายามชะลอร่างกฎหมายดังกล่าว และ Russ Feingold เป็นสมาชิกคนเดียวที่ต่อต้านร่างกฎหมายนี้[10]โดยขอให้พิจารณาร่างกฎหมายนี้อีกครั้ง

การสำรวจความเห็นของคนอเมริกันต่อ “รัฐบัญญัติแพทรีออท” (Patriot Act) หลังจากผ่านการเซ็นอนุมัติมา 1 ปีรายงานของ Pew research (2011) ระบุว่า ในปี 2006 ประชาชน 39% บอกว่ามันเป็นเครื่องมือที่จำเป็น ส่วน 38% บอกว่ามันไปไกลเกินไปกว่าจะเผ้าระวังการก่อการร้าย และในปี 2004 ส่วนใหญ่ (39%) กล่าวว่ามันไปไกลเกินไปและคุกคามสิทธิเสรีภาพ แต่ผลสำรวจในปี 2011 กลับพบว่า ตัวเลขที่เห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อเผ้าระวังการก่อการร้ายมีเพิ่มมากขึ้นถึง 42 %[11]ข้อมูลเท่านี้ทำให้เราทราบว่าสังคมอเมริกันมีความเห็นค่อนข้างเห็นด้วยกับกฎหมายรัฐบัญญัติเผ้าระวังการก่อการร้าย (Patriot Act) เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

หลังจากกระแสข่าวการเปิดโปงเอกสารลับของ สโนว์เดน เกี่ยวกับมาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาลสหรัฐ ฯ เผยแพร่ออกไปทั่วโลก ประเด็นความเป็นส่วนตัวภายใต้เสรีภาพขึ้นพื้นฐานก็ได้ถูกขุดขึ้นมาพูดถึงในหมู่คนอเมริกันผู้รักเสรีภาพ และลามไปถึงองค์กรสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเข้มข้นอีกครั้งว่า วิธีการดังกล่าวที่รัฐบาลสหรัฐ ฯ ได้กระทำนั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่พูดถึงการมีชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้พื้นที่ส่วนตัวอย่างรุนแรง การตั้งคำถามถึงมาตรการดังกล่าวนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงวงวิชาการและสังคมเมริกันจนไปถึงเวทีสิทธิมนุษยชนระดับโลกอย่างหนาหูว่าแท้จริงแล้ว ความเป็นส่วนตัวภายใต้เสรีภาพขั้นพื้นฐานกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ?  

 

“ความมั่นคงแห่งชาติ” กับ “เสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ”

 “มันคงจะเป็นความจริงสากล ที่การสูญเสียเสรีภาพภายในบ้านคือค่าใช้จ่ายสำหรับบทบัญญัติป้องกันอันตรายภายนอก ทั้งอันตรายที่แท้จริงหรือถูกเสแสร้งขึ้น”

(เจมส์ เมดิสัน กล่าวถึง พ.ร.บ.ว่าด้วยการปลุกระดมต่อต้านรัฐบาล 1798)

คำกล่าวข้างต้นเป็นการถกเถียงเรื่องการยอมเสียสละเสรีภาพเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติอเมริกาในอดีต  ซึ่งเป็นการปะทะกันครั้งแรกเริ่มตั้งแต่กระบวนการก่อตั้งสาธารณรัฐ ในประเด็นเรื่องการจำกัดอำนาจรัฐบาลเป็นเรื่องเจตจำนงเอกฉันท์ของสังคมอเมริกา วิธีการหนึ่งที่ถูกนำเสนอขึ้นมาคือ “การเรียกร้องให้กำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่รัฐบาลไม่อาจละเมิดได้”[12]

“เสรีภาพ” กับ “ความมั่นคง” ถือเป็นหนึ่งในคู่ชกตลอดกาลในการเมืองอเมริกา ทั้งนี้เพราะแนวคิดเรื่องความมั่นคงเป็นความชอบธรรมพื้นฐานที่สุดที่อนุญาตให้รัฐสามารถใช้อำนาจต่อประชาชน ในขณะเดียวกัน เสรีภาพก็เป็นความชอบธรรมพื้นฐานที่สุดที่อนุญาตให้ประชาชนปฏิเสธอำนาจรัฐ แม้แต่ในดินแดนเสรีภาพ ข้ออ้างที่ถูกหยิบยกขึ้นมาลดทอนพื้นที่เสรีภาพบ่อยที่สุด จวบจนปัจจุบันก็คือข้ออ้างเรื่อง “ความมั่นคง” หรือถ้อยคำอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน[13]

ในสหรัฐอเมริกา ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ “ความยุติธรรมผ่านกฎหมาย” เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศสหรัฐ ฯ ซึ่งศาลสูงของสหรัฐ ฯ  ได้พัฒนาขึ้นโดยเน้นถึงความสำคัญของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการดำเนินคดีอาญาเป็นหลัก

บทบัญญัติรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาที่ว่าด้วยเรื่องการให้ความคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลนั้นอยู่ในบทแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 10 (First Amendment to Tenth Amendment) หรือเรียกว่า “Bill of Rights” นี้เป็นที่มาของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแนวรัฐธรรมนูญดังกล่าว สิทธิต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ใน Bill of Rights มีอยู่หลายประการด้วยกันที่เกี่ยวข้องกันอันได้แก่สิทธิที่บัญญัติไว้ในบทแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4,5,6,7,8[14]

อาจจะกล่าวได้ว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาที่ว่าด้วยเรื่องการให้ความคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลนั้นอยู่ในบทแก้ไขเพิ่มเติมตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 10 นั้นถือเป็นสิ่งที่สะท้อนความเชื่อทางด้านการเมืองที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองในเรื่องค่านิยมประชาธิปไตยของคนอเมริกัน กล่าวคือ “ความเป็นอเมริกัน” นั้นได้สะท้อนผ่านวัฒนธรรมทางการเมืองในเรื่องค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในตัวบุคคลหรือปัจเจกชนนิยม ซึ่งผสมผสานกับหลักการประชาธิปไตยที่ว่าด้วยเรื่องความเท่าเทียมทั้งความเท่าเทียมทางด้านโอกาสในความอิสระที่กระทำอะไรก็ได้ภายใต้การตัดสินใจของตัวเอง ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนเป็นใหญ่ที่เข้มแข็ง

ปัจเจกชนนิยมจึงขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับรัฐนิยม คนอเมริกาไม่ได้ให้ความสำคัญต่ออำนาจอย่างพวกนิยมเผด็จการ หรือ อำนาจนิยม “รัฐนิยม” ซึ่งเน้นความสำคัญของรัฐเหนือบุคคล ซึ่งต้องปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐเพื่อความอยู่รอดและความยิ่งใหญ่ของรัฐ บุคคลต้องสละเสรีภาพและความต้องการส่วนตัวเพื่อรัฐ เป็นต้น

ประเด็น “การให้อำนาจรัฐในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว” ถือว่าเข้าข่ายการให้อำนาจรัฐอยู่เหนือตัวประชาชนในระดับบุคคล ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยใช้อำนาจศาลและกฎหมายเป็นช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลความเป็นส่วนตัวของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดและขัดกับหลักการเกี่ยวกับสิทธิที่บัญญัติไว้ในบทแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 (The Fourth Amendment)[15]ที่มีใจความว่า “สิทธิของประชาชนที่จะมีความปลอดภัยในร่างกายเคหะสถาน และทรัพย์สิ่งของจากการถูกตรวจค้นหรือยึด โดยไม่มีสาเหตุอันควรจะละเมิดมิได้และจะออกหมายเพื่อกระทำดังกล่าวใด ๆ ไม่ได้ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรเชื่อถือ ซึ่งได้รับการยืนยันด้วยคำสาบานหรือคำปฏิญาณและโดยเฉพาะต้องระบุสถานที่ที่จะค้นหรือบุคคลที่จะจับกุมหรือสิ่งที่จะยึดไว้ในหมายนั้น”

หนึ่งในข้อกังวลของผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัวและผู้นิยมเสรีภาพพลเมืองได้ออกมาประณามกฎหมาย “รัฐบัญญัติรักชาติ (Patriot Act)” คือการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายได้ลดอำนาจตุลาการในการกำกับดูแลการสอดส่องอิเล็กทรอนิกส์ลงด้วยการทำให้กระบวนการอนุมัติของศาลในการดักฟังการสื่อสารส่วนตัวทางอินเตอร์เน็ตทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก กฎหมายใหม่ยังอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถขอ “หมายศาลเปล่า” ได้ในทางปฏิบัติ กล่าวคือกฎหมายใหม่ให้อำนาจออกหมายศาลในการดักฟังโทรศัพท์แบบ “กระจัดกระจาย” ที่ไม่จำเป็นต้องระบุพื้นที่ในการค้นอย่างชัดเจนหรือจำกัดว่าสามารถักฟังได้เพียงบทสนทนาของเป้าหมายเท่านั้น[16]

ซึ่งทั้งที่ในกฎหมายระบุไว้ว่า การดักฟังหรือการใช้เครื่องมือใด ๆ ในการบันทึกการสื่อสารของผู้อื่นโดยที่ไม่มีการอนุมัติจากศาลก่อนถือเป็นอาชญากรรมระดับสหพันธรัฐ และการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการดักฟังโทรศัพท์หรือการดักฟังทางอิเล็กทรอนิกส์โดยมิชอบด้วยกฎหมายเป็นอาชญากรรมระดับสหพันธรัฐเช่นเดียวกัน  มาตรการทางกฎหมายเหล่านี้ยังรวมไปถึงกลไกเชิงกระบวนการที่จะจำกัดอำนาจของรัฐในการเข้าถึงการสื่อสารส่วนตัวและเทปบันทึกการสื่อสารอีกด้วย[17]

ในช่วงปลายปี 2005 มีข่าวว่าประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้มีอำนาจในสภาความมั่นคงแห่งชาติมีการตรวจสอบสายโทรศัพท์และอีเมลได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล – ซึ่งปราศจากความกังวลในเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่พรรคเดโมแครท  จากต้นปี 2006 ถึงต้นปี 2009 การสนับสนุนจากประชาชนสำหรับโปรแกรมดังกล่าวนี้ มีตั้งแต่ 48% ถึง 54% คำถามนั้นถามว่า มันคือสิ่งถูกต้องหรือผิด  "ที่ให้รัฐบาลมีการตรวจสอบ ติดตามโทรศัพท์และ e-mail ในการสื่อสารของชาวอเมริกันที่สงสัยว่ามีความสัมพันธ์กับการก่อการร้ายโดยไม่ต้องรับอนุญาตจากศาล"[18]

ถึงแม้ว่าข้อครหาของมาตรการเผ้าระวังการก่อการร้ายของรัฐบาล ที่ถูกโจมตีจากคนอเมริกันผู้รักในเสรีภาพว่า วิธีการดังกล่าวนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมาตรการที่อาศัยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ทำให้รัฐบาลมีเครื่องมือใหม่ที่มอบอำนาจแก่หน่วยงานความมั่นคงทำการสอดแนมประชาชนของตนผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งการกระทำครั้งนี้เป็นการบุกรุกเสรีภาพของพลเมืองในเรื่องความเป็นส่วนตัวที่เข้มข้นกว่าครั้งไหน ๆ ที่ผ่านมา และสังคมอเมริกันไม่เคยประสบพบเจอมาก่อน อาจเรียกได้ว่าเป็นการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำหรับคนอเมริกันบางส่วนแล้ว การเสียสละเสรีภาพความเป็นส่วนตัวกลายเป็นราคาที่ยอมรับได้ เพื่อให้รัฐบาลประกันความปลอดภัยในชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการก่อการร้ายหรือการก่ออาชญากรรมที่รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา[19]สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดเกี่ยวกับปรากฏการณ์การยอมรับมาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายภายใต้นโยบายความมั่นคงและการต่างประเทศของคนอเมริกันนั้น บางส่วนเห็นได้จากการที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บูช สามารถชนะการเลือกตั้งครั้งที่ 2 เมื่อปี 2004 โดยมีคะแนนเสียงถล่มทลายกลายเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมจากประชาชน (Popular vote) มากที่สุดในประวัติศาสตร์ประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ  สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงความเห็นของคนอเมริกันต่อการยอมรับนโยบายสายเหยี่ยวตามอุดมการณ์ของพรรครีพับลิกันที่มุ่งใช้กำลังเพื่อสร้างความเป็นใหญ่ของประเทศและในการขจัดภัยความมั่นคงจากภายนอกที่รุกรานสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันการถกเถียงในประเด็นเรื่อง ความเป็นส่วนตัวภายใต้เสรีภาพขั้นพื้นฐานกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ?  ในสังคมอเมริกันนั้นยังมีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในสภาวะความกลัวในความหวาดระแวงต่อภัยการก่อการร้ายครั้งใหม่ ประเด็นเรื่องความมั่นคงของชาติดูเหมือนจะได้รับการสนับสนุนจากสังคมอเมริกันมากกว่า

ผลสำรวจในปี 2013 จากบทความของ Pew Research Center (2013)[20]ในหัวข้อ “Majority Views NSA Phone Tracking as Acceptable Anti-terror Tactic” พบว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่ 56% กล่าวว่าโปรแกรมการต่อต้านการก่อการร้ายของ NSA โดยการดังฟังและบันทึกข้อมูลสนทนาทางโทรศัพท์คนอเมริกันเกือบหนึ่งล้านคนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพื่อให้รัฐบาลสืบสวนหาขบวนการกลุ่มก่อการร้ายผ่านการติดตามตรวจสอบกิจกรรมในแต่ละวันของคนอเมริกัน

การสำรวจระดับชาติครั้งใหญ่ของ Pew Research Center และThe Washington Post ของเดือนมิถุนายม 2013 ในบทความเดียวกันโดยซุ่มสำรวจความเห็นของคนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ประมาณ 1,004 คน พบว่าข้อบ่งชี้เกี่ยวกับความเห็นของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับประเด็นการสอดแนม บันทึกเก็บข้อมูลทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ตของรัฐบาลว่า ความสมดุลระหว่างการสืบสวนการก่อการร้ายกับความเป็นส่วนตัว พบว่า 62% การสืบสวนการก่อการร้ายโดยกระทบความเป็นส่วนตัวมันยังมีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้รัฐบาลได้สืบสวนหาความเป็นไปได้ที่จะเกิดการก่อการร้ายอีกครั้ง แต่มีเพียง 34% กล่าวว่ารัฐบาลไม่มีความความสำคัญที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและควรจะจำกัดความสามารถในการสืบสวนสอบสวนความเป็นไปได้ที่จะเกิดการคุกคามของกลุ่มก่อการร้ายอีกด้วย

การสำรวจนี้ยังพบอีกว่าถึงแม้จะมีความชัดเจนในเรื่องความแตกต่างของโปรแกรมเฝ้าระวังการก่อการร้ายของ NSA ระหว่างการบริหารงานของบุชและโอบามา แต่สิ่งที่คล้ายกันคือปฏิกิริยาของประชาชนมีการการยอมรับมาตรการของ NAS โดย 56% กล่าวว่ามันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ว่า NSA - ได้รับคำสั่งศาลที่เป็นความลับในการติดตามการใช้โทรศัพท์ของประชาชนชาวอเมริกันในความพยายามที่จะตรวจสอบการก่อการร้าย[21]เป็นต้น

 

 

บทความของ Scott Bomboy (2014) ที่พูดถึงประเด็นคนอเมริกันยอมขายเสรีภาพภายใต้ความเป็นส่วนตัวให้กับรัฐบาลเพื่อแลกมาซึ่งความมั่นคงของชาติ ในหัวข้อ “The price of privacy in a post-9/11 world” ซึ่งระบุว่าชาวอเมริกันได้สะท้อนความเห็นถึงวันครบรอบ 13 ปีของการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 ว่ามีการถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสมดุลที่เหมาะสมของ สิทธิความเป็นส่วนตัวและปัญหาด้านความมั่นคงของชาติว่าสิ่งไหนที่จำเป็น ?

ข้อมูลการสำรวจความเห็นของคนอเมริกันในประเด็นนี้ พบว่าผ่านมา 13 ปีแสดงให้เห็นถึงกระแสสังคมที่สนับสนุนในเสรีภาพความเป็นส่วนตัวพยายามกัดเซาะมาตรการของรัฐบาลที่จำกัดความเป็นส่วนตัวของคนอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปิดเผยเกี่ยวกับขอบเขตของการสอดแนมและเฝ้าระวังการก่อการร้ายของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติหรือ (NSA) แต่ชาวอเมริกันจำนวนมากยังคงที่จะยอมรับการเฝ้าระวังของรัฐบาล[22]ซึ่งเห็นว่าเป็นราคาที่พวกเขาจะจ่ายเพื่อขัดขวางการโจมตีของผู้ก่อการร้าย เนื่องจากชาวอเมริกันเชื่อว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีความปลอดภัยน้อยลงถึงจุดสูงสุดนับตั้งแต่ 11 กันยายน 2001 การโจมตีของผู้ก่อการร้ายตามที่ใหม่ข่าวเอ็นบีซี / วอลล์สตรีทเจอร์นัลสำรวจความคิดเห็น 70% กล่าวว่าประเทศที่มีความปลอดภัยน้อยลงขณะที่เพียง 26% บอกว่ามันเป็นความปลอดภัยมากขึ้นนั่นคือเมื่อเทียบกับผลที่ได้จากกันยายน 2002 (เพียง 20% บอกว่าประเทศมีความปลอดภัยน้อยกว่า) และจากปีที่แล้ว (เมื่อมันเป็น 28%) และการสำรวจความคิดเห็นพบว่ากว่า 6 ใน 10 ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าการดำเนินการทางทหารกับกลุ่มหัวรุนแรงอิสลาม ISIS อยู่ในความสนใจของคนในประเทศ[23]

บทความ ของ Carroll Doherty (2013)[24] เผยแพร่สาธารณะ ผ่านเว็บไซด์ Poll ชื่อดัง อย่าง Pew Research Center ในหัวข้อ “Balancing Act: National Security and Civil Liberties in Post-9/11 Era” ระบุว่า มีการเปิดเผยว่าการบริหารงานของโอบามา แอบเก็บบันทึกข้อมูลทางโทรศัพท์และเข้าถึงกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตของคนอเมริกันนับล้าน ทำให้เกิดการตั้งคำถามใหม่เกี่ยวกับความตั้งใจของประชาชนที่จะเสียสละเสรีภาพให้แก่ผลประโยชน์ในเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ ตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 ชาวอเมริกันโดยทั่วไปมีค่านิยมในการป้องกันการก่อการร้ายเหนือกว่าเสรีภาพของตนเอง แต่พวกเขาก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการทำเลยเถิดของรัฐบาลในการรุกรานความเป็นส่วนตัวของพวกเขา

ตั้งแต่หลังจากเหตุการณ์ 9/11 มีการทำวิจัยโดยถามถึงความกังวลที่มีมากขึ้นของผู้คนในสังคมว่า นโยบายการต่อต้านการก่อการร้ายจะไปไกลเกินกว่าการป้องกันประเทศโดยเข้าไปมีส่วนในการจำกัดสิทธิ เสรีภาพหรือไม่ ?

ในส่วนของการป้องกันประเทศ คนอเมริกันส่วนใหญ่เห็นด้วย จากข้อมูลในปี 2010, 47% กล่าวว่าพวกเขามีความคิดว่านโยบายของรัฐบาล "ไม่ได้ไปไกลกว่าเรื่องการปกป้องประเทศ"แต่ในขณะที่ 32% กล่าวว่าพวกเขากังวลมากขึ้นว่า "การกระทำของรัฐบาลได้ไปไกลเกินกว่าการป้องกันประเทศโดยเข้าไปมีส่วนในการจำกัดสิทธิ เสรีภาพของพลเมือง" 

จะเห็นได้ว่าประเด็นการถกเถียงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัวภายใต้เสรีภาพขั้นพื้นฐานกับความมั่นคงปลอดภัยของชาติ สิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ?”  ในสังคมอเมริกันปัจจุบันนั้นเมื่อเทียบจากผลสำรวจข้างต้นพบว่า กระแสการยอมรับและอนุญาตให้รัฐบาลใช้มาตรการการต่อต้านการก่อการร้ายของรัฐบาล ด้วยวิธีการสอดแนม ดักฟัง เก็บข้อมูลการสื่อสารและตรวจสอบกิจกรรมออนไลน์ของประชาชนเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชาตินั้น ดูเหมือนจะได้รับการยอมรับมากกว่าการต่อต้านจากกลุ่มผู้รักในเสรีภาพที่โจมตีวิธีการดังกล่าวของรัฐบาลว่าเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล ประเด็นความกลัวภัยการก่อการร้ายครั้งใหม่รวมถึงปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวของกลุ่ม ISIS ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2014 ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าจะเป็นข้ออ้างใหม่ของรัฐบาลที่จะนำเอาโปรแกรมเผ้าระวังการก่อการร้ายในรูปแบบของการสอดแนมชีวิตประจำวันของคนอเมริกันกลับมาใช้อีกครั้ง

 

 

โดยเฉพาะประเด็นการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ISIS ดูเหมือนสังคมอเมริกันทุกภาคส่วนจะเห็นด้วยกับการให้รัฐบาลต่อต้านและทำลายกลุ่ม ISIS ผลสำรวจของ Pew research Center ที่ดำเนินการในช่วงวันที่ 15-20 ตุลาคม 2013 จากการสำรวจผู้ใหญ่จำนวน 1,003 คน พบว่า 57% เห็นด้วยกับการรณรงค์ทางทหารสหรัฐกับก่อการร้ายอิสลามในอิรักและ ซีเรียขณะที่เพียง 33% ไม่เห็นด้วย การสนับสนุนสูงที่สุดในบรรดารีพับลิกัน (68%); เสียงข้างมากของพรรคประชาธิปัตย์ (54%) และที่ปรึกษา (55%) นอกจากนี้ยังอนุมัติ เป็นต้น[25]

 

บทสรุป

13 ปีหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ที่ผ่านมาสังคมอเมริกันต่างตกอยู่ในสภาวะแห่งความหวาดระแวงต่อภัยความรุนแรงของขบวนการการก่อการร้ายข้ามชาติที่มีทีท่าว่าจะรุนแรงและสุดโต่งมากขึ้น จนในที่สุดเกิดปรากฏการณ์กลุ่มก่อการร้าย ISIS ขึ้นมายิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความน่ากลัวของภัยสงครามแบบกองโจรที่พร้อมจะสละชีวิตเพื่ออุดมการณ์ของตนได้ตลอดเวลา จึงไม่แปลกที่สังคมอเมริกันจะสนับสนุนและยอมรับมาตรการดังกล่าวถึงกับขั้นยอมสูญเสียชีวิตความเป็นส่วนตัวเปิดทางให้รัฐบาลสืบสวนหาการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายได้อย่างอิสระเพื่อที่ต้องการให้รัฐบาลรับประกันความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

สำหรับผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตไว้กับบทความนี้ว่า สภาวะความกลัวภัยก่อการร้ายของคนอเมริกันในปัจจุบันนี้มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ความเชื่อของเหล่าอเมริกันชนเกี่ยวกับค่านิยมเรื่องเสรีภาพและความเป็นอิสระอย่างชัดเจน ซึ่งหลังจากเหตุการณ์การก่อการร้าย 9/11 เป็นต้นมาจนมาถึงปี 2014 ที่มีกลุ่ม ISIS เกิดขึ้นนั้น ภัยก่อการร้ายที่ผูกติดกับความมั่นคงของชาติดูเหมือนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของสิทธิเสรีภาพในความเชื่อของสังคมอเมริกันตั้งแต่ระดับบุคคลเป็นต้นไปนั้นลดลง ข้ออ้างการเสียสละเสรีภาพส่วนตัวเพื่อความมั่นคงของชาติดูเหมือนจะเป็นการเปิดพื้นที่ให้อำนาจรัฐบาลกลางหรือสหพันธรัฐอยู่เหนืออำนาจประชาชน กระแสอเมริกันชนในปัจจุบันเมื่อเทียบกับผลสำรวจข้างต้นที่หันไปสยบยอมต่ออำนาจรัฐบาลกลางเพื่อให้ขจัดความกลัวจากภัยการก่อการร้ายภายใต้มาตรการเฝ้าระวังการก่อการร้าย โดยหวังพึ่งให้อำนาจฝ่ายบริหารที่ดูแลเรื่องความมั่นคงของชาติสามารถเข้ามาแทรกแซง ดูแล ควบคุมตั้งกฎระเบียบในการใช้ชีวิตประจำวันของคนอเมริกันถึงขั้นระดับครัวเรือน ห้องนอน ห้องน้ำ เช้าถึงเย็น แม้กระทั้งโลกอินเตอร์เน็ตที่ถือเป็นพื้นที่ส่วนตัวสมัยใหม่ซึ่งยากแก่การเข้าถึง (มือพิมพ์สัมผัสผ่านความคิดที่คนภายนอกมองไม่เห็น) ยังกลายเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการล้วงความลับส่วนตัวที่ยิ่งใหญ่ที่สุด แม้แต่ศาลที่เป็นอำนาจที่สำคัญ 1 ใน 3 ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจยังล้มเหลวในการควบคุมหรือถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุมัติกฎหมายความมั่นคง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐบาลกลางโดยเฉพาะฝ่ายบริหารมักอ้างเหตุผล “ความปลอดภัย” ประกอบการตัดสินใจ จนนำมาสู่การละเลยและไม่สนใจถึงผลกระทบของกฎหมายต่าง ๆ ต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลสะท้อนที่เห็นถึงการให้คุณค่าต่อค่านิยมที่นับถือเสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของคนอเมริกันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เมื่อวาทกรรมการก่อการร้ายภายใต้ความกลัวถูกผลิตขึ้นมาด้วยข้ออ้างความมั่นคงชาติ ทำประชาชนต่างยอมรับกฎระเบียบที่รัฐบาลกลางบัญญัติขึ้น โดยหมดข้ออ้างที่จะทัดทาน ทวงถามถึงเหตุผล และผลกระทบ 

อย่างกรณี กระแสการยอมรับมาตรการเผ้าระวังการก่อการร้ายของสังคมอเมริกันที่ซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นการบุกรุกความเป็นส่วนตัวซึ่งยึดโยงกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างแยกขาดไม่ได้นั้น ดูเหมือนจะย้อนแย้งกับหลักการเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งผ่านการต่อสู่ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองครั้นตั้งแต่ก่อตั้งประเทศว่าควรจะมอบอำนาจในการดูแลประเทศให้ประชาชนหรือรัฐบาลกลางที่เป็นตัวแทนคณะบุคคลของประชาชนกันแน่ แต่ท้ายที่สุดอำนาจดังกล่างกลับตกอยู่กับประชาชนผ่านการจัดตั้งรัฐธรรมนูญและเพิ่มเติมส่วนแก้ไขบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล (Bill of Rights) และกลายเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดฉบับแรกของโลก นับแต่ประกาศใช้เมื่อปี 1789 มามีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียง 27 ครั้งเท่านั้น  

 

 

 

บรรณานุกรม

-          Carroll Doherty,(2013) .“Balancing Act: National Security and Civil Liberties in Post-9/11 Era”. Retrieved from : http://www.pewresearch.org/fact-tank/2013/06/07/balancing-act-national-security-and-civil-liberties-in-post-911-era/. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2014.

-          Jeffifer Van Bergen,(2002).“The USA PATRIOT Act Legislation Rushed Into Law in the Wake of 9/11/01”. Retrieved from : http://911research.wtc7.net/post911/legislation/usapatriot.html  สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014.

-          Graeme Green.(2013).“Two years after the death of Osama bin Laden, where is al-Qaeda now?. Retrieved from : http://metro.co.uk/2013/04/11/two-years-after-the-death-of-osama-bin-laden-where-is-al-qaeda-now-3589455/  สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014.

-          G. Alex,(2013). “NSA Surveillance Since 9/11 and the Human Right to Privacy” .Human Rights Watch ; American Civil Liberties Union. August 31, 2013.

-          Michael Marcovici ,“The Surveillance Society: The security vs. privacy debate”. BoD – Books on Demand, 2013.

-          Pew research Center.(2011).”Public Remains Divided Over the Patriot Act”. Retrieved from : http://www.pewresearch.org/2011/02/15/public-remains-divided-over-the-patriot-act/  สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2014.

-          Pew Research Center,(2013).“Majority Views NSA Phone Tracking as Acceptable Anti-terror Tactic” Retrieved from : http://www.people-press.org/2013/06/10/majority-views-nsa-phone-tracking-as-acceptable-anti-terror-tactic/. สืบค้นเมื่อ  3 ธันวาคม 2014.

-          Pew research Center ,(2014). “Support for U.S. Campaign against ISIS; Doubts about Its Effectiveness,Objectives” Retrieved from : http://www.people-press.org/2014/10/22/support-for-u-s-campaign-against-isis-doubts-about-its-effectiveness-objectives/ .สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2014.

-          Raymond Wacks, “Privacy a very short introduction” (แปลไทยโดย อธิป, ปวรรัตน์), กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิด์ส, 2014.

-          Scott Bomboy ,(2014) .“The price of privacy in a post-9/11 world” Retrieved from http://news.yahoo.com/price-privacy-post-9-11-world-142608537.html .  11 กันยายน 2014  สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน. 2014.

-          ตะวัน มานะกุล ,(2012) .“เสรีภาพ ความมั่นคง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์: บทเรียนจากอเมริกาสู่ไทย”. Retrieved from  http://thaipublica.org/2012/04/freedom-security-and-sacred/.  สืบค้นเมื่อ  28 พฤศจิกายน 2014.

-          ไทยรัฐออนไลน์. (2014).“CNN ชี้กลุ่มก่อการร้ายโผล่เพียบ !! ครบรอบ 13ปี เหตุการณ์9/11’’ . Retrieved from http://www.thairath.co.th/content/449570. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014.

-          สุรนาท วงศ์พรหมชัย,(2551) “การตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กับพยานหลักฐานในคดีอาญา”,กรุงเทพ ฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

-          สรินณา อารีธรรมศิริกุล,(2013) . “PRISM สายลับออนไลน์ จุดเสื่อมความไว้ใจโอบามา”. Retrieved from : http://www.siamintelligence.com/prism-program-spying-system-of-obama/ .สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน  2014 .

-          อิสรนันท์ ,(2013). “เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน กับการเปิดโปง “พริซึมเกต”. Retrieved from : http://thaipublica.org/2013/06/edward-snowden-prism/สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2014.

 




[1]นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะรัฐศาสตร์ สาขา การปกครอง ชั้นปีที่ 4 **ขอขอบคุณ ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล อาจารย์ประจำภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ปรึกษาบทความ ซึ่งคอยให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และดูแลผู้เขียนตั้งเริ่มเขียนจนบทความเสร็จ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนี้ทุกคน

[2] Graeme Green. (2013). “Two years after the death of Osama bin Laden, where is al-Qaeda now?. Retrieved from http://metro.co.uk/2013/04/11/two-years-after-the-death-of-osama-bin-laden-where-is-al-qaeda-now-3589455/  สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2014.

[3]ไทยรัฐออนไลน์. (2014). “CNN ชี้กลุ่มก่อการร้ายโผล่เพียบ !! ครบรอบ 13ปี เหตุการณ์9/11’’ . Retrieved from http://www.thairath.co.th/content/449570. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014.

[4] Scott Bomboy ,(2014) .“The price of privacy in a post-9/11 world” Retrieved from http://news.yahoo.com/price-privacy-post-9-11-world-142608537.html .  สืบค้นเมื่อ  25 พฤศจิกายน  2014.

[5]ไทยรัฐออนไลน์. (2014). “CNN ชี้กลุ่มก่อการร้ายโผล่เพียบ !! ครบรอบ 13ปี เหตุการณ์9/11’’ . Retrieved from http://www.thairath.co.th/content/449570. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2014.

[6]อิสรนันท์ , (2013). “เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน กับการเปิดโปง “พริซึมเกต”. Retrieved from : http://thaipublica.org/2013/06/edward-snowden-prism. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2014.

[7]สรินณา อารีธรรมศิริกุล, (2013) . “PRISM สายลับออนไลน์ จุดเสื่อมความไว้ใจโอบามา”. Retrieved from: http://www.siamintelligence.com/prism-program-spying-system-of-obama/ 23 กรกฏาคม 2013 . สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน  2014 .

[8] G. Alex, (2013). “NSA Surveillance Since 9/11 and the Human Right to Privacy” .Human Rights Watch ; American Civil Liberties Union August 31, 2013. , p.59.

[9] Raymond Wacks, (2014), “Privacy a very short introduction (แปลไทยโดย อธิป, ปวรรัตน์),  p.139.

[10]Jeffifer Van Bergen, (2002) .“The USA PATRIOT Act Legislation Rushed Into Law in the Wake of 9/11/01”. Retrieved from : http://911research.wtc7.net/post911/legislation/usapatriot.html  สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน  2014.

[11]Pew research Center. (2011) .”Public Remains Divided Over the Patriot Act”. Retrieved from :http://www.pewresearch.org/2011/02/15/public-remains-divided-over-the-patriot-act/  15 พฤศจิกายน  2011 สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2014.

[12]ตะวัน มานะกุล , (2012) . “เสรีภาพ ความมั่นคง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์: บทเรียนจากอเมริกาสู่ไทย”. Retrieved from :http://thaipublica.org/2012/04/freedom-security-and-sacred/.  สืบค้นเมื่อ  28 พฤศจิกายน  2014.

[13]เรื่องเดียวกัน.

[14]สุรนาท  วงศ์พรหมชัย, (2551) “การตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์กับพยานหลักฐานในคดีอาญา”,กรุงเทพ ฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น . 102 .

[15]เรื่องเดียวกัน.

[16] Raymond Wacks, “Privacy a very short introduction (แปลไทยโดย อธิป, ปวรรัตน์), กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิด์ส, 2014 :  p.139.

[17]เรื่องเดียวกัน , p.143.

[18] Carroll Doherty, (2013) . ““Balancing Act: National Security and Civil Liberties in Post-9/11 Era”. Retrieved from  http://www.pewresearch.org/fact-tank/2013/06/07/balancing-act-national-security-and-civil-liberties-in-post-911-era/ .สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2014.

[19] Michael Marcovici , (2013). “The Surveillance Society: The security vs. privacy debate”. (BoD – Books on Demand, 2013) , p. 1 .

[20] Pew Research Center, (2013) . “Majority Views NSA Phone Tracking as Acceptable Anti-terror Tactic” Retrieved from http://www.people-press.org/2013/06/10/majority-views-nsa-phone-tracking-as-acceptable-anti-terror-tactic/  10 มิถุนายน. 2013 . สืบค้นเมื่อ  3 ธันวาคม 2014.

[21]เรื่องเดียวกัน.

[22] Scott Bomboy ,(2014) . “The price of privacy in a post-9/11 world” Retrieved from http://news.yahoo.com/price-privacy-post-9-11-world-142608537.html . สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน. 2014.

[23] Mark Murray, (2014). “Poll: Americans feel unsafe, support action against ISIS” Retrieved from http://www.msnbc.com/msnbc/poll-americans-support-action-against-isis  . สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2014.

[24] Carroll Doherty, (2013) . ““Balancing Act: National Security and Civil Liberties in Post-9/11 Era”  Retrieved from http://www.pewresearch.org/fact-tank/2013/06/07/balancing-act-national-security-and-civil-liberties-in-post-911-era/. สืบค้นเมื่อ  3 ธันวาคม 2014.

[25] Pew research Center , (2014). “Support for U.S. Campaign against ISIS; Doubts about Its Effectiveness, Objectives” Retrieved from http://www.people-press.org/2014/10/22/support-for-u-s-campaign-against-isis-doubts-about-its-effectiveness-objectives/ . สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2014.

 

[1] นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะรัฐศาสตร์ สาขา การปกครอง ชั้นปีที่ 4 **ขอขอบคุณ ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล อาจารย์ประจำภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ปรึกษาบทความ ซึ่งคอยให้คำแนะนำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และดูแลผู้เขียนตั้งเริ่มเขียนจนบทความเสร็จ รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทความนี้ทุกคน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม : คำประกาศที่ประชุมกลุ่มต่อสู้เพื่อปาตานี

$
0
0

หมายเหตุกองบรรณาธิการ:ข้อเขียนนี้เป็นเนื้อหาที่เผยแพร่ครั้งแรกในบล็อกของ Abu Hafiz Al-Hakim ที่ชื่อ “PENGISYTIHARAN SIDANG PEJUANG-PEJUANG PATANI”  ซึ่งอัพโหลดเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา กล่าวถึงคำประกาศที่ประชุมกลุ่มต่อสู้เพื่อปาตานี (Pengisytiharan Sidang Pejuang-pejuang Patani) เมื่อ 25 ปีที่แล้ว จากคำประกาศ 9 ข้อ นำไปสู่การเกิดขึ้นของแนวร่วมเพื่อเอกราชแห่งปาตานีหรือเบอร์ซาตู และจุดยืนปัจจุบันต่อกระบวนการสันติภาพจะเป็นอย่างไร ให้ร่วมกันติดตาม

ในระหว่างที่เราเฝ้าติดตามกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ (Proses Dialog Damai) ระหว่างรัฐบาลไทยกับตัวแทนนักต่อสู้ปาตานีว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่อย่างไร หรือจะเริ่มต้นอีกครั้งเมื่อใด คงจะดีไม่น้อยหากเราจะย้อนกลับไปย้อนพิจารณาคำประกาศที่ประชุมกลุ่มต่อสู้เพื่อปาตานี (Pengisytiharan Sidang Pejuang-pejuang Patani) ที่มีขึ้นเมื่อ 25 ปีที่แล้ว

คำประกาศดังกล่าวที่แถลงขึ้นนอกพื้นที่ปาตานีนั้นเป็นผลมาจากการประชุมครั้งหนึ่ง – การประชุมของนักต่อสู้เพื่อปาตานี (Conference of Patani Freedom Fighters) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1989 ที่จัดขึ้นโดยฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีบรรดาแกนนำระดับสูงของกลุ่มนักต่อสู้กลุ่มหลักๆ เข้าร่วม ซึงต่อมาได้มีการลงนามในเอกสารครั้งประวัติศาสตร์อีกด้วย ผู้เข้าร่วมในครั้งนั้นมีดังต่อไปนี้คือ

1. หัวหน้ากลุ่มบีอาร์เอ็น (ขบวนการปฏิวัติแห่งชาติ - BRN) คองเกรส

2. หัวหน้ากลุ่มบีไอพีพี (ขบวนการอิสลามปลดปล่อยปาตานี–BIPP)

3. หัวหน้ากลุ่มจีเอ็มพี (ขบวนการมูญาฮิดีนปาตานี - GMP) และ

4. ผู้นำระดับสูงของกลุ่มพูโล (องค์การปลดปล่อยสหปาตานี–PULO)

เนื้อหาบางส่วนของคำประกาศดังกล่าวระบุว่า:

“ทั้งนี้เราขอประกาศว่า

1.การต่อสู้เพื่อปลดแอกปาตานีคือการต่อสู้เพื่อให้บรรลุถึงอิสรภาพที่เที่ยงแท้ เพื่อการสถาปนารัฐมลายูอิสลามที่มีอำนาจอธิปไตย (Berdaulat)

2. การต่อสู้ของเราการญิฮาดที่ใช้กำลังอาวุธตามแนวทางของอิสลามและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวมลายูปาตานี

3. เราคัดค้านนโยบายและกฎเกณฑ์ทั้งหมดของเจ้าอาณานิคมไทยที่มีมุ่งหมายจะขจัดความเชื่อศรัทธา เชื้อชาติ ภาษาและวัฒนธรรมมลายูปาตานี

4. เราต่อต้านการกดขี่ ความอยุติธรรมและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการฆาตกรรมการควบคุมตัวที่ไร้คำอธิบาย การซ้อมทรมาน และการเลือกปฏิบัติ

5. เราต่อต้านการให้ความร่วมมือกับนักล่าอาณานิคมไทยจากหลายๆ ฝ่ายทุกรูปแบบ ของทุกๆ ฝ่าย ในการหยิบฉวยผลประโยชน์และความรื่นเริงกับแหล่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจและความสมบูรณ์บนแผ่นดินปาตานี

6. เราจะปฏิบัติขั้นเด็ดขาดสำหรับใครก็ตามที่ให้ความร่วมมือกับนักล่าอาณานิคมไทย ในฐานะผู้ที่กระทำการทรยศต่อการต่อสู้ของชาวปาตานี

7. เราขอเรียกร้องให้ชาวมุสลิมให้การสนับสนุนการต่อสู้ที่บริสุทธิ์ของเรา

8. เราขอเรียกร้องไปยังบรรดาประเทศและองค์กรต่างๆ ที่ใฝ่ฝันถึงเสรีภาพความยุติธรรมและสันติภาพ เพื่อให้การสนับสนุนในด้านศีลธรรมและปัจจัยวัตถุต่อขบวนการต่อสู้ของชาวปาตานี

9. เราจะให้ความร่วมมือกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพ และที่ใฝ่ฝันเพื่อสันติภาพต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนการเคลื่อนไหวอิสลาม”

 

ต้นฉบับของเอกสารคำประกาศดังกล่าวนี้เป็นภาษามลายู จากนั้นได้มีการจัดทำรวมเล่มใหม่อีกครั้งและเผยแพร่เป็นสามภาษาด้วยกัน คือภาษามลายู (รูมีและยาวี) ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ

ทั้งนี้ ควรต้องสังเกตไว้ด้วยว่า ขบวนการบีอาร์เอ็นที่เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าว คือมาจาก บีอาร์เอ็นคองเกรส(ปีกการทหารของบีอาร์เอ็นเดิม) และไม่ใช่บีอาร์เอ็นโคออดิเนต แต่อย่างใด ขณะที่ขบวนการพูโลที่ในช่วงเวลานั้นยังคงรวมเป็นหนึ่งเดียวและยังไม่ได้แตกตัวออกมาเป็นสามกลุ่มเช่นทุกวันนี้

เป็นที่เข้าใจว่าหลังจากมีคำประกาศดังกล่าวนี้เพียงไม่กี่เดือน ก็มีการถือกำเนิดขึ้นขององค์กรร่มที่มีชื่อว่าแนวร่วมเพื่อเอกราชแห่งปาตานี (Barisan Bersatu Kemerdekaan Patani) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามเบอร์ซาตู (BERSATU) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากขบวนการทั้งสี่กลุ่มที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยเหตุนี้พอที่จะสรุปได้ว่า การประกาศข้างต้นนั้นได้รับการสนับสนุนเบอร์ซาตูอย่างเต็มที่

มีเหตุการณ์ไม่น้อยที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่มีคำประกาศในวันนั้น ถึงแม้ว่าการจัดตั้งเบอร์ซาตูจะมิได้นำไปสู่การดำรงซึ่งการรวมตัวอย่างแท้จริงในแง่ของความเป็นองค์กรความเคลื่อนไหวและกองกำลังติดอาวุธ ทว่ามันได้ส่งผลสะเทือนในทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญต่อขบวนการต่อสู้ปาตานี กล่าวคือ ศักยภาพของผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคี และจิตวิญญาณที่มีความอดทนอดกลั้นระหว่างกันในการสถาปนาขบวนแถวที่สามารถส่งเสียงบางอย่างก็สร้างความโกรธเคืองให้แก่เจ้าอาณานิคมได้บ้างแล้ว

เจ้าอาณานิคมไทยเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการใช้นโยบายแบ่งแยกแล้วปกครอง (divide and rule) แน่นอนว่าจะไม่มีสันติสุขเกิดขึ้น ตราบใดที่บรรดานักต่อสู้ปาตานีต่างรวมกันเป็นหนึ่งในการต่อกรกับพวกเขา เจ้าอาณานิคมจะมีความยินดีอย่างยิ่งหากว่าฝ่ายขบวนการต่อสู้เกิดความแตกแยกและมีการขัดขากันเอง และแน่นอนว่า สิ่งนี้จะทำให้เสียงและความพยายามของพวกเขาไม่มีพลัง จนบัดนี้ เบอร์ซาตูยังคงเป็นฝันร้ายของเจ้าอาณานิคม ถึงแม้ว่ามันจะไม่มีบทบาทใดๆ แล้วก็ตาม

ประวัติศาสตร์การก่อตั้งขบวนการเบอร์ซาตูการขับเคลื่อนภายใต้พันธกิจปกป้องชะตากรรมของประชาชาติที่ผ่านมา ตลอดจนการเผชิญกับปัญหาภายใน ที่สุดท้ายต้องลงเอยด้วยความสูญเปล่า ผู้เขียนเองมิได้ต้องการที่จะอธิบายอย่างยาวเหยียดเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าว นอกจากปล่อยให้เป็นหน้าที่ของนักวิจัยด้านการเมืองที่มีความสนใจที่จะลงลึกในรายละเอียดเรื่องดังกล่าว สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือ จิตวิญญาณอันแรงกล้า (SEMANGAT) และจุดมุ่งหมาย (CITA-CITA) ที่ได้ระบุไว้ในคำประกาศดังกล่าวนั่นเอง

ข้อที่ 1 และ 2 เป็นถ้อยแถลงที่ชัดเจนและถูกต้องแม่นยำที่ว่า การต่อสู้ที่ว่านี้มีเป้าหมายเพื่อรัฐปาตานีที่เป็นเอกราชและมีอำนาจอธิบไตยผ่านการต่อสู้ทางการเมืองที่ใช้กำลังอาวุธโดยประชาชนที่เป็นลูกหลานปาตานีเอง ซึ่งขบวนการต่อสู้ปาตานีทั้งหมดต่างสนับสนุนในหลักการดังกล่าวนับตั้งแต่วินาทีแรกที่ก่อตั้งจวบจนปัจจุบัน ถึงแม้นว่าท่าทีในวันนี้จะมีความโน้มเอียงในการเลือกวิธีการเจรจาหรือการพูดคุยเพื่อสันติภาพ แต่นี่ก็เพียงเพื่อพยายามเสาะหาเส้นทางที่เอื้อต่อการนำพาสู่เป้าหมายเหล่านั้น และไม่เคยละทิ้งการต่อสู้ด้วยอาวุธอย่างแน่นอน

ข้อที่ 3 ที่ 4 และ 5 เป็นการแสดงท่าทีการต่อต้านของขบวนการต่อสู้ปาตานีต่อทุกๆ นโยบาย การกระทำการแสวงหาผลประโยชน์ การกดขี่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าอาณานิคม ที่ปรารถนาจะคงเงื้อมมือเหล็กของพวกเขาไว้เหนือชาวปาตานีและรวมไปถึงแหล่งทรัพยากรในแผ่นดิน เราจะเห็นว่าในวันนี้ชาวมลายูปาตานีได้สูญเสียอัติลักษณ์ของความเป็นตัวตนเสียแล้วในฐานะมนุษยชาติที่มีศักดิ์ศรี มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นบนผืนแผ่นดินตัวเอง ภาษาและวัฒนธรรมเกือบจะสูญพันธุ์ พวกเขาถูกจับขัง ถูกอุ้มหาย หรือถูกฆาตกรรมตามอำเภอใจโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสและเป็นธรรม

การต่อต้านยังหมายรวมถึงต่อความพยายามของฝ่ายที่ร่วมมือกันเพื่อลักลอบกอบโกยความมั่งคั่งจากทรัพยากรธรรมชาติจากผืนแผ่นดินปาตานี ถึงขั้นพร้อมที่จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับ "ผู้ฉ้อโกง"และพวกที่ทรยศต่อการต่อสู้ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อที่ 6

ข้อ 7 และ 8 เป็นการเรียกร้องและแสวงหาแรงหนุนช่วยและการสนับสนุนจากบุคคล องค์กรและพร้อมยื่นมือออกไปเพื่อให้มีความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่แสวงหาความยุติธรรมเสรีภาพและสันติภาพตามที่ได้ระบุไว้ในข้อที่ 9

ถึงแม้จะผ่านเวลามาแล้วมาแล้วถึง 25 ปี ทว่าคำประกาศทั้ง 9 ข้อดังกล่าวก็ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในวันนี้ เพราะว่าความขัดแย้งทางการเมืองยังคงดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง บรรดาผู้นำการต่อสู้มาแล้วก็จากไป องค์กรมีความเข้มแข็งและอ่อนแอ่ต่างสลับกันขึ้นๆ ลงๆ นักต่อสู้ในพื้นที่บางส่วนได้พลีชีพ (syahid) ที่มาก่อนก็ชราภาพ ที่โดดเดี่ยวก็เงียบสงบ สิ่งที่ยังคงอยู่คือความมุ่งมาดปรารถนาในการต่อสู้ของประชาชนทั้งมวลที่มิเคยมอดดับ ดังนั้นภารกิจดังกล่าวนี้ควรต้องสืบต่อโดยชนรุ่นหลังต่อไปพร้อมๆ กับการพัฒนาขีดความสามารถในการให้ได้มาซึ่งความยุติธรรมสันติภาพและเสรีภาพที่แท้จริงบนผืนแผ่นดินปาตานีดารุสซาลาม

ทั้งนี้ เกี่ยวกับจุดยืนที่เป็นทางการของบรรดาองค์กรต่อสู้เพื่อปาตานีต่างๆ ต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ณ วันนี้นั้น ยังอยู่ในระหว่างการถกเถียง ซึ่งคาดว่าการประชุมอย่างเป็นทางการคงจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ และตามด้วยการประกาศอย่างเป็นทางการจากฝ่ายขบวนการต่อสู้ว่าพวกเขาจะเข้าร่วมในการพูดคุยในครั้งต่อไปหรือไม่อย่างไร หรือจะเป็นไปในทางตรงกันข้าม

เรามาร่วมกันติดตามต่อไป

อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม

น้ำส้มสายชูและน้ำผึ้ง – จากนอกรั้วปาตานี

17 รอบีอุลเอาวัล 1436 ฮ. / 8 มกราคม ค.ศ. 2015 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ: "ชนบท (เพิ่ง) เปลี่ยนไป?: ว่าด้วยปัญหา “ชนบทศึกษาไทย” หลังปี 2540"

$
0
0

วิดีโอการนำเสนอหัวข้อ  "ชนบท (เพิ่ง) เปลี่ยนไป?: ว่าด้วยปัญหา “ชนบทศึกษาไทย” หลังปี 2540"โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ วิจารณ์การนำเสนอโดย อัจฉรา รักยุติธรรม

 

 

18 ม.ค. 2558 - เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่ห้อง ศศ.107  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการประชุมประจำปีครั้งที่ 1: โครงการวิจัยพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงทางความคิดว่าด้วยความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ในสังคมไทย (สกว.) โดยในช่วงบ่าย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้นำเสนอหัวข้อ "ชนบท (เพิ่ง) เปลี่ยนไป?: ว่าด้วยปัญหา “ชนบทศึกษาไทย” หลังปี 2540"โดย อัจฉรา รักยุติธรรม อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้วิจารณ์การนำเสนอ

เริ่มต้นเก่งกิจ อภิปรายว่า งานวิจัยของเขา อยู่ในธีมวิจัยเรื่องความเป็นสมัยใหม่ และความไม่เป็นสมัยใหม่ในเรื่องต่างๆ ส่วนที่ทำการศึกษานั้นสนใจว่า นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยา ชอบพูดเรื่องชนบทเยอะ ศึกษาเรื่องชนบท และเรียกว่า ชนบทศึกษา คำถามคือชนบทมันยังมีอยู่ไหม และพบว่าในงานเขียน งานวิจัย หรือรวมถึงวิทยานิพนธ์จำนวนมากของนักสังคมวิทยาและมานุษยา โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ "สำนักเชียงใหม่"เชื่อว่าชนบทยังศึกษาได้ และการศึกษาชนบทมีพื้นที่กว้างขวางมาก อาจจะ 90% ของงานวิชาการของมานุษยวิทยา-สังคมวิทยาไทยเป็นงานเกี่ยวกับชนบท

สิ่งที่สนใจนอกจากนี้คือ แล้วความเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมือง ตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมานี้ นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ต่อสู้ที่จะรักษาชนบท ในฐานะที่เป็นหน่วยวิเคราะห์หรือพื้นที่การศึกษาอย่างไร แม้ว่าเราจะยอมรับว่าชนบทเปลี่ยนไปตลอดเวลา หรือ อาจจะพึ่งเปลี่ยน อย่างที่ลองตั้งคำถามดู

โดยมี 4 เนื้อหาใหญ่ๆ ที่นำเสนอคือ หนึ่ง ชนบทศึกษาไทยหลัง 2540 สอง กระแสที่ขอเรียกว่า "ชนบทเปลี่ยนไป"ซึ่งเราอาจจะคุ้นกับคำนี้หลังปี 2553 ที่มีนักวิชาการพูดว่า "ชนบทเปลี่ยนไปแล้ว""ชนบทไม่ได้ โง่ จน เจ็บ"โดยเฉพาะเน้นศึกษางานของแอนดรูว์ วอล์คเกอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อนักสังคมวิทยา-นักมานุษยวิทยาไทย สาม ศึกษางานวิจัยของ ยุกติ มุกดาวิจิตร, นิติ ภัครพันธุ์, ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, อภิชาต สถิตนิรามัย ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับชนบทไทยที่ร่วมสมัยที่สุด โดยเป็นงานวิจัยที่ตั้งคำถามว่า "คนเสื้อแดงคือใคร"โดยกลับไปที่งานชนบทศึกษา และสี่ ข้อสังเกตและคำถามที่ผู้ศึกษามีต่อพัฒนาการศึกษาชนบทไทย

ข้อเสนอของบทความของเก่งกิจคือ งานวิจัยชนบทศึกษาในกระแสชนบทเปลี่ยนไป และงานวิจัยคนเสื้อแดง มิได้ไปไกลกว่างานชนบทศึกษาก่อนหน้านี้มากนัก แต่วางอยู่บนสมมติฐานเก่าที่มีข้อจำกัดและค่อนข้างโรแมนติกในตัวเอง เกี่ยวกับการมีอยู่ของชนบทและคนชนบท/ชาวบ้านในประเทศไทย ซึ่งละเลยความเปลี่ยนแปลงที่มีมาตลอดของชนบทไทย โดยทำเสมือนว่า "ชนบทเพิ่งเปลี่ยนไป"ทั้งๆ ที่งานของนักวิชาการต่างชาติจำนวนมากชี้ให้เราเห็นมาหลายทศวรรษแล้วว่าชนบทเปลี่ยนแปลงไปและมีความขัดแย้งภายในสังคมชนบทไทยมาเป็นร้อยปี ในแง่นี้ กระแสชนบทเปลี่ยนไปและงานวิจัยเสื้อแดงค่อนข้างเข้าใจชนบทไทยแบบตัดตอน ไม่สนใจประวัติศาสตร์และมีแนวโน้มจะวางการศึกษาและข้อค้นพบของตนเองอยู่บนวาระทางการเมืองที่ไปในทิศทางที่เห็นใจขบวนการเสื้อแดงและต่อต้านการสถาปนาอำนาจทางการเมืองของระบอบเผด็จการทหาร

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาทิตย์ลับ: พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ถึงแก่อนิจกรรม

$
0
0

พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก กำลังสำคัญปราบกบฏยังเติร์ก จนได้เลื่อนยศเป็น ผบ.ทบ. ควบ ผบ.สส. - ผู้งัดข้อ พล.อ.เปรม ลดค่าเงินบาท และผู้ถูก พล.อ.เปรม ปลดฟ้าผ่า ถึงแก่อนิจกรรมแล้วที่ รพ.พระมงกุฎเกล้า เช้าวันนี้

19 ม.ค. 2558 - พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตวุฒิสมาชิก จ.เลย ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เมื่อเวลา 06.20 น. ที่ผ่านมา ที่รพ.พระมงกุฎเกล้า ทั้งนี้ตามรายงานของ ข่าวสด

พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก (ที่มา: แฟ้มภาพ/เว็บไซต์กองทัพภาคที่ 1)

ผู้ปราบกบฎยังเติร์ก - งัดข้อ พล.อ.เปรม เรื่องลดค่าเงินบาท

ประวัติของ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2468 สำเร็จชั้นประถมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนพรหมวิทยามูล เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยม 6 ในปี พ.ศ. 2484 และโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร เข้าศึกษาโรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2487 - 2491 รุ่นเดียวกับ พล.อ.เทียนชัย ศิริสัมพันธ์ พล.อ.บรรจบ บุนนาค และ พล.อ.อ.ประพันธ์ ธูปะเตมีย์

ในปี พ.ศ. 2524 ฝ่ายทหารหนุ่มที่เรียกว่า "ยังเติร์ก"ประกอบด้วยนายทหาร จปร. รุ่น 7 เช่น พ.อ.มนูญกฤต รูปขจร พ.อ.ชูพงศ์ มัทวพันธุ์ พ.อ.ประจักษ์ สว่างจิตร พ.ท.พัลลภ ปิ่นมณี พ.อ.ชาญบูรณ์ เพ็ญตระกูล พ.อ.แสงศักดิ์ มงคละสิริ พ.อ.บวร งามเกษม พ.อ.สาคร กิจวิริยะ มี พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา รอง ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าคณะ ได้พยายามทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ. 2524 มีการจับ พล.อ.เสริม ณ นคร ผบ.ทบ. รวมทั้ง พล.ท.หาญ ลีนานนท์ พล.ต.ชวลิต ยงใจยุทธ และ พล.ต.วิชาติ ลายถมยา ไปควบคุมตัวไว้ที่หอประชุมกองทัพบก

อย่างไรก็ตาม พล.อ.เปรม ได้หลบหนีไปตั้งกองบัญชาการตอบโต้ฝ่ายยังเติร์กอยู่ที่กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา โดยได้รับกำลังสนับสนุนจาก พล.ต.อาทิตย์ (ยศในขณะนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น รองแม่ทัพภาคที่ 2 นอกจากนี้ พล.อ.เปรม ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่กองทัพภาคที่ 2 ด้วย

โดยฝ่ายกบฎได้ยอมมอบตัวกับรัฐบาล พล.อ.เปรม ในวันที่ 3 เมษายน และภายหลังเหตุการณ์ พล.ต.อาทิตย์ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อต้านฝ่ายกบฎยังเติร์ก ได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.เปรม เป็นอย่างมาก โดยได้เลื่อนยศเป็น พล.ท. ตำแหน่ง แม่ทัพภาคที่ 1 คุมกองกำลังรักษาพระนคร และเป็นผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในอีก 6 เดือนต่อมา

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 พล.อ.อาทิตย์ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก สืบต่อจาก พล.อ.ประยุทธ จารุมณี ที่เกษียณอายุราชการ จากนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2526 สืบต่อจาก พล.อ.สายหยุด เกิดผล โดยเป็นการดำรงตำแหน่งทั้ง ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. ควบคู่กัน

พล.อ.อาทิตย์ ในเวลานั้นได้ออกมาวิจารณ์นโยบายของรัฐบาล โดยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เขาได้วิจารณ์ออกอากาศทางโทรทัศน์กรณีที่รัฐบาล พล.อ.เปรม โดยสมหมาย ฮุนตระกูล รมว.คลัง ประกาศลดค่าเงินบาท จาก 23 บาท เป็น 27 บาท ต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ

 

ถูก พล.อ.เปรม ปลดฟ้าผ่า - และเส้นทางการเมืองหลังเกษียณ

ในปี พ.ศ. 2527 นายทหารที่รับราชการและที่เกษียณอายุราชการ ฝ่ายที่สนับสนุน พล.อ.อาทิตย์ ได้กดดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอิทธิพลทางการเมืองของฝ่ายกองทัพเช่นกัน ต่อมาการเผชิญหน้าระหว่างขั้ว พล.อ.อาทิตย์ และ พล.อ.เปรม ยุติลงเมื่อ พล.อ.อาทิตย์ เสนอให้เลิกเคลื่อนไหวเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ

ในปี พ.ศ. 2529 พล.อ.อาทิตย์ พยายามล็อบบี้ให้มีการต่ออายุราชการของเขาในฐานะผู้บัญชาการทหารบก จนถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 ซึ่งจะทำให้เขามีอิทธิพลภายหลังรัฐบาล พล.อ.เปรม หมดวาระ แต่ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2529 รัฐบาลประกาศว่า พล.อ.อาทิตย์ จะเกษียณอายุในเดือนกันยายน พ.ศ. 2529 และในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พล.อ.เปรม ได้ประกาศปลด พล.อ.อาทิตย์ จากการเป็น ผู้บัญชาการทหารบก และให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารบกแทน

โดยในวันที่มีคำสั่งดังกล่าว หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้พาดหัวใหญ่ว่า "สั่งปลด..อาทิตย์"และเป็นฉบับที่มียอดขายดีของ นสพ.ไทยรัฐ โดยจำหน่ายได้เกิน 1 ล้านฉบับ

พล.อ.อาทิตย์ คงเหลือเพียงการดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการในถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2529

เส้นทางการเมือง หลังจากเกษียณราชการ พล.อ.อาทิตย์ เป็นผู้ก่อตั้งพรรคปวงชนชาวไทย สมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ แต่ยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่ ก็ถูกจี้จับตัวโดยคณะ รสช. นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พรรคปวงชนชาวไทยของ พล.อ.อาทิตย์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พรรคชาติพัฒนา โดยมี พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณเป็นหัวหน้าพรรค

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai
Viewing all 20494 articles
Browse latest View live