Quantcast
Channel: ข่าว
Viewing all articles
Browse latest Browse all 20494

สุรพศ ทวีศักดิ์: พุทธทาสภิกขุและสวนโมกข์

$
0
0


ดูเหมือนว่าสวนโมกขพลารามได้ถูกใช้เป็นฐานที่มั่นในการใช้ศาสนาเพื่อเป้าหมายทางการเมืองของหลวงลุงกำนันสุเทพไปเรียบร้อย เพราะนอกจากจะเป็นสถานที่อบรมปฏิบัติธรรมแก่มวลมหาประชาชน กปปส.ที่ศรัทธาในตัวหลวงลุงกำนันแล้ว ยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรม “อุปสมบทถวายพระราชกุศล” ซึ่งมีนัยยะสำคัญในทางการเมือง

เนื่องจากพระสุเทพทั้งต้องคดีในฐานะผู้มีอำนาจสั่งสลายการชุมนมปี 2553 ที่เป็นเหตุให้ประชาชนล้มตายเกือบ 100 คน บาดเจ็บร่วม 2,000 คน และทั้งเป็นแกนนำหลัก กปปส.ที่ต่อสู้ทางการเมืองขัดขวางการเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้เกิดรัฐประหาร 2557 และจนบัดนี้พระสุเทพยังใช้สถานะความเป็น “พระภิกษุ” เทศนาสนับสนุนแนวทางปฏิรูปของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร สถานะความเป็นพระกับความเป็น “นักการเมือง” และกิจกรรมทางศาสนากับกิจกรรมทางการเมืองจึงเป็นเนื้อเดียวกัน

ในแง่หลักการกว้างๆ อาจอธิบายได้ว่า ในฐานะสวนโมกข์เป็นสำนักปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่เปิดสำหรับคนทั่วไป ดังนั้นใครจะมาปฏิบัติธรรมหรือบวชก็ย่อมได้ แต่ในกรณีของพระสุเทพยังมีข้อกังขาในแง่ของ “ความถูกต้อง” ตามพระธรรมวินัย เนื่องจากมีข้อบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการอุปสมบทว่า คนที่ต้องคดี (มีคดีความติดตัว) ไม่สามารถอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ ลองคิดดูว่าหากเป็นคนอื่นที่ต้องคดีเกี่ยวกับการทำให้คนตาย คณะสงฆ์สวนโมกข์หรือคณะสงฆ์ที่ไหนๆ จะทำการอุปสมบทให้หรือไม่

แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับคณะสงฆ์ไทยแล้วดูเหมือนจะมีประเพณีปฏิบัติแบบ “ยกเว้น” ให้สำหรับคดีทางการเมือง ดังในสมัยอยุธยา สมเด็จพระสังฆราชได้รับนิมนต์จากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นำพระสงฆ์ผ่านกองทัพยึดอำนาจที่ล้อมวัง เข้าไปทำสังฆกรรมผูกสีมา และอุปสมบทข้าราชการผู้ใหญ่ แล้วนำพระใหม่อดีตขุนนางมาอยู่ในวัดอย่างปลอดภัย ในสมัยของเราก็มีกรณีตัวอย่างเช่น จอมพลถนอม กิตติขจร (ซึ่งสั่งใช้กำลังและอาวุธสงครามสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก) ได้อาศัยการบวชเณรเพื่อกลับเข้ามาประเทศไทยที่วัดบวรนิเวศวิหาร จนเป็นเหตุให้นักศึกษาออกมาประท้วงและนำไปสู่โศกนาฏกรรม 6 ตุลาคม  2519

ตัวอย่างกรณีจอมพลถนอมสะท้อนให้เห็นว่า การที่คณะสงฆ์ไทยไม่นำ “คดีทางการเมือง” (โดยเฉพาะเกี่ยวกับคนระดับบนที่มีอำนาจ) มาอยู่ในเงื่อนไขข้อห้ามการอุปสมบทเหมือนคดีทั่วๆ ไป ทำให้คณะสงฆ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาตลอด ผ้าเหลืองถูกใช้ชุบตัวทรราชมือเปื้อนเลือด

แต่นั่นคือองค์กรสงฆ์แบบทางการที่ผูกพันใกล้ชิดกับศูนย์กลางอำนาจรัฐ ส่วนสวนโมกข์ที่ก่อตั้งโดยท่านพุทธทาสนั้น เป็นสำนักปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมที่พยายามเป็นอิสระจากอำนาจชี้นำและประเพณีปฏิบัติของคณะสงฆ์แบบทางการตั้งแต่แรก ตลอดชีวิตของท่านพุทธทาส ไม่เคยมีการจัดอุปสมบทหรือปฏิบัติธรรมถวายพระราชกุศลแต่อย่างใด

ในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของปีเตอร์ แจ็กสันซึ่งปรับปรุงเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาไทยชื่อ“พุทธทาสภิกขุ : พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย” อ้างถึงแกรนต์ โอลซัน (ติดต่อเป็นการส่วนตัว) กล่าวถึงเรื่องที่สุวรรณา สถาอานันท์ เล่าให้เขาฟังว่า 

“ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสว่าพระองค์มีพระราชดำริที่จะไปเยี่ยมสวนโมกข์ เล่ากันว่าท่านพุทธทาสได้ตอบพระราชดำรินี้ โดยกล่าวแบบอาจารย์เซนว่า ‘มหาบพิตรคงจะไม่ทรงพบเห็นอะไรที่น่าสนใจที่สวนโมกข์  เพราะที่นี่มีแต่ก้อนหินกับต้นไม้เท่านั้น’ ” (น.583)

นอกจากนี้แจ็กสันยังเขียนว่า ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ซึ่งสนิทกับท่านพุทธทาสและเป็นประธานองคมนตรีเคยกราบทูลอธิบายคำสอนพุทธศาสนาแนวเหตุผลของท่านพุทธทาสให้ในหลวงทรงทราบ ต่อมาในช่วงท่านพุทธทาสสุขภาพแย่ลง ว่ากันว่าในหลวงได้ทรงขอให้ท่าน “ยังอยู่สั่งสอนคนไทยต่อไปอีกสักระยะ” (น.469) อันเป็นเหตุให้คณะแพทย์และพยาบาลรักษาท่านพุทธทาสเป็นกรณีพิเศษในปี 2534 และในช่วงก่อนมรณภาพปี 2536 แจ็กสันมองว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนว่า ท่านพุทธทาสถูกยอมรับอย่างเป็น “ทางการ” ซึ่งน่าจะมีผลให้ท่านถูกยอมรับในแวดวงของชาวพุทธสายอนุรักษ์นิยมมากขึ้นในเวลาต่อมา

พระสันติกโรชาวอเมริกันซึ่งบวชที่สวนโมกข์ เคยเห็นคนนำรูปภาพท่านพุทธทาสกับรูปพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เช่นพระอาจารย์มั่นและหนังสือพระเครื่อง ดารา เดินขายที่สถานีขนส่ง แล้วนำมาเล่าให้ท่านพุทธทาสฟัง ท่านหัวเราะหึหึเหมือนกับรู้สึกอายที่มีผู้มองท่านในเชิงเป็นพระเกจิอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้น เมื่อท่านมรณภาพได้มีสื่อสิ่งพิมพ์และนิตยสารต่างๆ ตีความสถานะของท่านพุทธทาสในมุมมองที่แตกต่างกันไป

เช่น หนังสือที่ระลึกงานมรณภาพของท่านพุทธทาสที่ตีพิมพ์โดยสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับหนึ่งที่มุ่งเอาใจผู้อ่านตั้งชื่อเรื่องว่า “อรหันต์พุทธทาสภิกขุ” เนชั่นสุดสัปดาห์มีบทความรำลึกที่ตั้งชื่อว่า “พุทธทาส พระผู้ตื่นตราบนิรันดร์” ซึ่งชี้นัยว่าท่านพุทธทาสบรรลุธรรมชั้นสูงและเป็นพระอรหันต์ นอกจากนี้นิตยสาร “มหัศจรรย์” ซึ่งตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ก็เรียกท่านพุทธทาสว่า “นักบุญ” ซึ่งบ่งถึงความเป็นบุคคลศักดิ์สิทธิ์มากกว่าความเป็นนักคิด ขณะที่นิตยสาร “ชีวิตต้องสู้” เขียนถึงท่านพุทธทาสในฐานะ “พระยอดนักรบแห่งกองทัพธรรม” ที่ให้ภาพความเป็นคนธรรมดาของท่านพุทธทาสและแง่คิดที่เป็นกำลังใจให้กับผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นธรรมดาสามัญที่สู้ชีวิตด้วยกำลังแรงงานของตัวเอง

แปลว่า “ความเป็นพุทธทาส” และ “ความคิด” ของท่านถูกตีความอย่างสลับซับซ้อน จึงไม่แปลกที่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองในทศวรรษนี้ ฝ่ายหนึ่งก็อ้างอิงใช้ความคิดทางการเมืองของท่านพุทธทาสสนับสนุนเป้าหมายทางการเมืองของตัวเอง จนนำไปสู่การใช้สวนโมกข์เป็นฐานที่มั่นทั้งการอบรมปฏิบัติธรรมและการบวชถวายพระราชกุศลเพื่อเติมเต็มให้กับความเชื่อทางการเมืองของฝ่ายตน ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็วิจารณ์ตัวตนและความคิดของท่านพุทธทาส เสมือนว่าท่านกลายเป็น “จำเลย” ผู้สร้างแนวคิดทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย ซึ่งมีนัยยะสำคัญสนับสนุนแนวทางของ กปปส.โดยตรง

แต่ที่จริงแล้วในช่วงรอยต่อประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม 2519 ที่ท่านพุทธทาสเสนอแนวคิด “ธรรมิกสังคมนิยม” และ “เผด็จการโดยธรรม”  นั้น เป็นบริบทที่อำนาจรัฐไทยเวลานั้นกำลังต่อต้านอุดมการณ์สังคมนิยมอย่างเข้มข้น มีการใช้ข้อหา “คอมมิวนิสต์” จัดการกับฝ่ายตรงข้ามแบบเหวี่ยงแห มีการรณรงค์ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นภัยร้ายแรงต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่ท่านพุทธทาสกลับเสนอว่า “หากคอมมูนิสต์เข้ามาพุทธศาสนาก็ยังอยู่ได้” (ตีพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ในปี 2517)

ขณะเดียวกันท่านพุทธทาสก็ถูกโจมตีอย่างหนักและถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แม้จะไม่ได้ถูกดำเนินคดีอย่างพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) แต่ท่านก็มีความคิดเชิงสนับสนุนอุดมการณ์สังคมนิยมมากกว่า ถึงขนาดตีความว่า “พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างนักสังคมนิยม” ซึ่งไม่เคยมีใครกล้าตีความเช่นนี้มาก่อนในจารีตพุทธศาสนาแบบทางการ โดยเฉพาะการตีความที่สุ่มเสี่ยงเช่นนั้นในสถานการณ์ที่รัฐไทยกำลังมองอุดมการณ์สังคมนิยมเป็นปฏิปักษ์สำคัญ

ดังนั้น การสรุปว่า ท่านพุทธทาสมี “เจตนา” สนับสนุนอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมในการต่อสู้ทางการเมืองแบบเดียวกับแนวทางของมวลมหาประชาชน กปปส. น่าจะเป็นการสรุปที่คลาดเคลื่อนจาก “ระบบความคิด” ทางการเมืองของท่านพุทธทาส (แม้ว่า “บางข้อความ” ของท่านอาจจะถูกตีความได้เช่นนั้นก็ตาม)

และการใช้สวนโมกข์เป็นฐานที่มั่นของการใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองของคนบางกลุ่ม ก็น่าจะขัดกับเจตนารมณ์และแนวปฏิบัติของท่านพุทธทาสอย่างชัดเจน

 


หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในโลกวันนี้วันสุข (15-21 พ.ย.2557)
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 20494

Trending Articles


ด่วน! สพป.สกลนคร เขต 1 รับสมัครลูกจ้างชั่วคราว และครูอัตราจ้าง 10 อัตรา


หลุด พลอย เฌอมาลย์ เห็นหัวนมในฉากเลิฟซีน 18+


มีคนชวนเทรดเว็บนี้ https://e-exchangemarketret.com/m/index...


คลิปซูฉีอาบน้ำ เห็นหมด รีบดูก่อนโดนลบ


Isuzu Dragon Max รถกระบะเรโทรสุดเท่!


การ SUM ข้าม Sheet Microsoft Excel


ส่องชุดสวยเผ็ชแพงของ นางฟ้าเมืองไทย น้ำ สลิล ล่ำซำ...


เด็กติดเกมในวันนั้น สู่ซุป’ตาร์ในวันนี้ “แบมแบม GOT7” สู้และอดทนเพื่อครอบครัว


แจกภาพพื้นหลัง iPhone สวยๆ (อัปเดต) หลายภาพหลายรูปแบบ


ตามหา Firmware เราท์เตอร์ Xplor re1200r4gc-2t2r-v3 (Xplor Ac1200)ของทรูครับ


ใส่สีพื้นหลังของเซลล์ Excel เปลี่ยนความจำเจของสีพื้นหลัง


ขอถามครับ การจับเวลางานมี 5 คน 3 กะ เช้า 9:00 น หา 17:00 น บ่าย 5 โมงเย็นถึง...


amp*payment bangkok ในบัตรเครดิต UOB คือะไร มีใครทราบไหมครับ


เรื่อง. Furifure 2 คือนางเอกเป็นหรี่ใช่ป่าว (เมะH)


โหลดฟรี โปรออดิชั่น เพอเฟค กดเอง ล่าสุด


หารายได้เสริมงานฝีมือ งานถักไหมพรมผลไม้ รับงานทําที่บ้าน รับซื้อพวงละ 4 บาท


หลิวซือซือคัมแบ็คซีรี่ย์จีนแนวย้อนยุค ในรอบ 5 ปี ประกบคู่หลิวอวี่หนิง!


สรุปทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ Pivot Table


การเขียนแม่ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ 3D ด้วย Artcam (ตอนที่ 1)


ใครรู้จักบริษัท the singular group บ้างครับ...