Quantcast
Channel: ข่าว
Viewing all articles
Browse latest Browse all 20494

กรรมการสิทธิออกแถลงการณ์ 13 ม.ค.เรียกร้องทุกฝ่ายยึดสันติวิธี

$
0
0

8 ม.ค.2557 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ข้อกังวลต่อสถานการณ์การชุมนุมวันที่ 13 ม.ค.นี้ ซึ่งที่ผ่านมามีความสูญเสียเกิดขึ้นแล้วในหลายกรณี รวมผู้เสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บ 461 ราย จึงเรียกร้องผู้ชุมนุมชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธในที่ชุมนุม เรียกร้องรัฐบาลให้ดูแลการชุมนุม ป้องกันมือที่สามสร้างความรุนแรง รวมถึงความรุนแรงในลักษณะที่เกิดมาแล้วที่ย่านรามคำแหง สะพานชมัยมรุเชษฐ์ และสนาทกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ส่วนประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือพบเห็นความรุนแรงสามารถส่งหลักฐานต่างๆ มาได้ที่สายด่วน 1377

 

รายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้

แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เรื่อง ข้อกังวลต่อสถานการณ์การชุมนุม ในวันที่ 13 มกราคม 2557

 

ตามที่ปรากฏเป็นข่าวกรณีคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ได้ประกาศนัดเชิญชวนประชาชน มาร่วมแสดงพลังยกระดับการชุมนุมตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร โดยจะมีการเดินรณรงค์ทั่วกรุงเทพมหานครต่อเนื่อง เพื่อชักชวนให้ประชาชนมาร่วมการชุมนุมใหญ่ ในวันที่ 13 มกราคม 2557 นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามข้อมูลสถานการณ์การชุมนุมมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จึงมีความวิตกกังวล และห่วงใยต่อสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น และอาจเกิดความสูญเสียขึ้นอีก ซึ่งที่ผ่านมาได้มีบทเรียนความสูญเสียที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ณ บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสนามราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 1 – 2 ธันวาคม 2556 ณ บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ และในวันที่ 26 ธันวาคม 2556 ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น) จนกระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 461 ราย และเสียชีวิต จำนวน 8 ราย อีกทั้งผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดแนวทางสันติในการแก้ปัญหา เคารพสิทธิซึ่งกันและกันมาโดยตลอด

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ให้บทเรียนแก่ทุกฝ่ายเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และการใช้อำนาจของรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีบทบาทและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในอันที่จะส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เหตุการณ์บ้านเมืองเกิดความสงบและเรียบร้อยอยู่ร่วมกันด้วยความสันติสุข จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนคำนึงและสมควรดำเนินการตามข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

1. ผู้จัดการชุมนุมและกลุ่มผู้ชุมนุมจะต้องมีหน้าที่ร่วมกัน ทำให้เกิดการชุมนุมเป็นไปโดยความสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ หรือสิ่งเทียมอาวุธทุกชนิดในพื้นที่การชุมนุม โดยยึดแนวทางสันติวิธี หลักนิติธรรม ภายใต้หลักการสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550          

 2. รัฐบาลต้องดูแลการชุมนุม ให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย และป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงจากบุคคลผู้ไม่หวังดี ภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยจะต้องหลีกเลี่ยงและป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่ไม่พึงประสงค์ ดังเช่นที่เกิดขึ้นมาแล้ว ณ บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสนามราชมังคลากีฬาสถาน บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ และศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น)

3. รัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง และร่วมมือประสานงานการข่าวกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ศูนย์รักษาความปลอดภัย เป็นต้น เพื่อให้การข่าวมีประสิทธิภาพ ไม่ให้กลุ่มที่มีอุดมการณ์ที่ต่าง และความเห็นต่าง เผชิญหน้ากัน อันจะช่วยป้องปรามและยับยั้งไม่ให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้

4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเร่งสืบสวน สอบสวน หาผู้กระทำความผิดจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ได้แก่ บริเวณมหาวิทยาลัยรามคำแหงและสนามราชมังคลากีฬาสถาน บริเวณสะพาน     ชมัยมรุเชษฐ์  ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น) มาดำเนินการตามกฎหมาย และรายงานให้สาธารณชนทราบเป็นระยะๆ โดยเร็ว

5. รัฐบาลจะต้องให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ การเยียวยาผู้เสียหาย ผู้บาดเจ็บ และ          ผู้ที่เสียชีวิตจากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้เป็นมาตรฐานเพื่อให้เป็นไป     ตามหลักมนุษยธรรม โดยการให้หลักประกันว่าจะให้ความเป็นธรรมและเยียวยาทุกฝ่าย ทั้งในรูปเงินช่วยเหลือ การฟื้นฟู การช่วยเหลืออื่น ๆ และการเยียวยาด้านจิตใจโดยไม่เลือกปฏิบัติ

6. สื่อมวลชนต้องนำเสนอข่าวที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และต้องเป็นการสร้างสรรค์ ช่วยให้สังคมเกิดความสันติ

7. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ใคร่ขอความอนุเคราะห์จากทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบหรือพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรง ให้เก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ เช่น บันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือเก็บวัตถุพยานไว้เป็นหลักฐาน และนำส่งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือแจ้งข้อมูลผ่านสายด่วน 1377 หรือทางอีเมล์ help@nhrc.or.th โดยให้ระบุสถานที่สำหรับติดต่อกลับ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมหลักฐานข้อมูลต่างๆ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอให้ผู้ชุมนุม เจ้าหน้าที่ของรัฐ และทุกภาคส่วนต้องอดทน อดกลั้น ยึดมั่นในหลักสันติวิธี เคารพในสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน เพื่อมิให้มีเหตุการณ์ความรุนแรงจนเกิดความสูญเสียขึ้นอีก โดยคำนึงถึงประโยชน์และความสงบของประเทศชาติเป็นสำคัญ

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

8 มกราคม 2557

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Viewing all articles
Browse latest Browse all 20494

Trending Articles


ทริป Full Nude น้องการ์ฟิลด์ จากนิตยสาร Penthouse อาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน 55


SUBA ประกาศคืนชีพ Dream of Mirror Online เตรียมย้อนความทรงจำในเซิร์ฟเวอร์ NA


มีคนชวนเทรดเว็บนี้ https://e-exchangemarketret.com/m/index...


รหัสโอนเงิน tr to NATID คือ อะไรครับ


รีบดูก่อนโดนลบ! คลิป เชอรี่ สามโคก ช่วยตัวเองโชว์


“โรคตุ่มน้ำพอง หรือ โรคเพมฟิกอยด์” อาการเป็นอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันและดูแลรักษา


การ SUM ข้าม Sheet Microsoft Excel


20 ไอเดียรอยสักความหมายของการเริ่มต้นใหม่!


6 ดาราหน้าสด ฉบับนางเอกจีน พังไม่พัง รอดไม่รอด!?!?


ใส่สีพื้นหลังของเซลล์ Excel เปลี่ยนความจำเจของสีพื้นหลัง